Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โครงสร้างพื้นฐานประเทศไทย Thailand Infrastructure
•
ติดตาม
23 พ.ค. 2020 เวลา 06:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Series จักรวาล ขนส่งมวลชน EP.1 ความแตกต่าง ระหว่างรถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train) VS รถไฟฟ้าในเมือง (Metro)
ความเดิมจากตอนที่แล้ว EP.0 ที่เอาทางเลือกของระบบขนส่งมวลชนทั้งหมด พร้อมทั้งความแตกต่างของระบบขนส่งมวลชนแต่ละชนิด รวมถึงปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้ระบบขนส่งมวลชนแต่ละรูปแบบ
ซึ่งวันนี้จะมาลงรายละเอียดรายระบบ เริ่มที่ รถไฟฟ้าชานเมือง Commuter Train กันก่อน
ก่อนอื่นต้องเท้าความกันก่อน ปัจจุบัน เรามีรถไฟชานเมืองให้บริการอยู่ 4 เส้นทางหลัก คือ
1. กรุงเทพ-ชุมทางแก่งคอย
2. กรุงเทพ-ลพบุรี
3. กรุงเทพ-ชุมทางฉะเชิงเทรา-ปราจีนบุรี
4. กรุงเทพ-สุพรรณบุรี
5. ธนบุรี-ราชบุรี
แผนพัฒนารถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ซึ่งขออนุญาตอ้างอิงคำจำกัดความของพี่แฮม จากเพจทีมนั่งรถไฟกับนายแฮมมึน
“รถไฟชานเมือง Commuter Train เป็นรถที่ให้บริการในเขตชานเมือง (รอบเมืองหลวงประมาณ 100-150 กม. หยุดทุกๆสถานี หรือเกือบทุกสถานี เพื่อใช้เป็นตัวป้อนชุมชนรอบนอก และกระจายคนเข้าสู่ชุมชนหรือเขตเศรษฐกิจในเมืองหลวง (ที่เห็นชัดๆคือ รถไฟชานเมืองของ รฟท.)”
ตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/Thaitrainstory/photos/a.617694255025490/675377079257207/?type=3
ซึ่งการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าชายเมืองก็มีลักษณะการเดินรถไฟชานเมืองเดิม แต่มีการเปลี่ยนแหล่งพลังงาน จากเดิมที่เป็นดีเซล เปลี่ยนมาเป็นไฟฟ้า และพัฒนาเส้นทางให้ไม่มีจุดตัดเพิ่อเพิ่มความถี่ได้สูงขึ้นโดยไม่กระทบกับการจราจร และเพิ่มความปลอดภัย
เรามาเทียบกันหมัดต่อหมัด ระหว่างรถไฟฟ้าชานเมือง (Commuter Train) VS รถไฟฟ้าในเมือง (Metro)
รถไฟฟ้าชานเมือง รถไฟฟ้าในเมือง
ระยะทาง 30-150 กม 10-40 กม
ความเร็วสูงสุด 120-160 กม/ชม < 80 กม/ชม
ความเร็วเฉลี่ย. 50-80 กม/ชม < 40 กม/ชม
ระยะห่างระหว่างสถานี. 3-5 กม. 0.8-1.5 กม.
ความถี่ 3-15 นาที/ขบวน. 1.5-8 นาที/ขบวน
ความยาวขบวน. 4-10 ตู้/ขบวน 3-6 ตู้/ขบวน
ซึ่งทั้ง 2 ระบบ นับว่าเป็นระบบรถไฟฟ้ารางหนัก (Heavy Rail) สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30,000-60,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง เท่ากันแต่ต่างกันที่ระยะทาง และรูปแบบการให้บริการ
รถไฟฟ้าชานเมือง ส่วนใหญ่จะให้บริการร่วมกับทางรถไฟธรรดา และรถไฟชานเมืองหลายสายผ่ากลางเมือง ซึ่งจะเป็นทางสายหลักเพื่อส่งจากชานเมืองเข้าเมือง โดยมี Feeder เข้ามาส่งคนให้กับระบบตามสถานีรถไฟชานเมือง
รถไฟฟ้าในเมือง ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างเส้นทางใหม่แยกระบบออกจากกัน เพื่อที่จะรองรับความถี่ได้สูง และผ่านเข้ากลางพื้นที่ชุมชนขนาดใหญ่ซ่งเป็นตัวเร่งสำคัญในการพัฒนาเมืองชั้นใน
ตัวอย่างการพัฒนารถไฟฟ้าชานเมือง VS รถไฟฟ้าในเมือง คือ ของประเทศเยอร์มันในหลายเมือง ซึ่งเยอร์มันจะเรียก รถไฟฟ้าชานเมืองว่า S-Bahn และรถไฟฟ้าในเมืองเรียกว่า U-Bahn
ผมเอาตัวอย่างเมืองใหญ่ของเยอร์มัน คือ Berlin มาให้ชม
ซึ่งถ้าดูจากแผนที่ระบบรถไฟฟ้า จะแยกได้ง่ายๆ คือ
S-Bahn จะเป็นสายแกนหลัก และสายรอบเมือง ซึ่งจะมีสายที่ทับกันหลายสาย และหลายต้นทางปลายทาง แต่มารวบอยู่รวมกันกลางเมือง
S-Bahn Berlin
U-Bahn จะเป็นสายที่ตัดไปมาตามสถานที่สำคัญ แต่ส่วนมากจะไม่รวมสายกัน เป็นสายใครสายมัน
U-Bahn Berlin
สำหรับ Paris จะเรียกรถไฟฟ้าชานเมืองว่า RER ซึ่งความเจ๋งคือมีทั้งแบบล้อยางและล้อเหล็กครับ
สำหรับเมืองไทยเรา รถไฟฟ้าชานเมือง คือรถไฟฟ้าสายสีแดง รับผิดชอบโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย มี 2 เส้นย่อย คือ
- สีแดงอ่อน ศาลายา-ตลิ่งชัน-บางซื่อ-มักกะสัน-คลองตัน
- สีแดงเข้ม ธรรมศาสตร์ (รังสิต)-รังสิต-บางซื่อ-หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่-มหาชัย
สำหรับสายที่ให้บริการอยู่ใกล้เคียง Concept รถไฟฟ้าชานเมือง ก็คือ Airport Rail Link แต่อนาคตจะถูกปรับไปเป็นรถไฟฟ้าความเร็วสูงแทน
ซึ่งตามแผนระยะยาว ปลายทางจะขยายไปถึง ชุมทางบ้านภาชี, นครปฐม, ฉะเชิงเทรา
4 บันทึก
24
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จักรวาลขนส่งมวลชน
4
24
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย