1 มิ.ย. 2020 เวลา 02:14 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จักรวาล ขนส่งมวลชน EP.4.2 สงสัยมั้ย ทำไม Monorail ถึงสร้างไวจัง ทำอย่างไร???
วันนี้ผมขอมาอธิบายรายละเอียดเรื่องวิธีการก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้า monorail สายสีชมและเหลือง ซะหน่อย พอดีมีหลายๆคนถามว่า ตามกำหนด Monorail ใช้เวลาสร้าง 3 ปี 3 เดือน ซึ่งถ้าไม่ติดปัญหาส่งมอบพื้นที่ อย่างที่เป็นอยู่ ทั้ง 2 โครงการ จะเสร็จภายใน ปี 64
แต่อย่างที่ทราบกันว่าบางส่วนของโครงการติดปัญหาส่งมอบพื้นที่ การขยับตำแหน่งสถานี และการรื้อย้ายสะพานข้ามแยกบางกะปิ ทำให้แผนทุกอย่างเลื่อนหมด
แต่จากข่าวล่าสุดทาง BSR ยืนยันว่าในเฟสจะเร่งให้เปิดบางส่วนก่อน โดยช่วงแรก ในปี ตุลาคม 64
เรามาดูเรื่องการก่อสร้าง ที่ตามแผนบอกใช้เวลาพร้อมเปิดให้บริการแค่ 3 ปี 3 เดือน หรือ 39 เดือน
1
ซึ่งถ้าเทียบกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายเหนือ (หมอชิต-คูคต) ซึ่งจะเปิดให้บริการเต็มสาย ปลายปี 63 ใช้เวลา ประมาณ 5 ปี
แล้วทำไม Monorail ถึงสร้างไวนัก?? เค้าก่อสร้างยังไง???
ก่อนอื่นเราต้องดูที่ความแตกต่างของตัวรถ Monorail ที่มาใช้ในสายสีชมพู และ เหลืองก่อน
ซึ่งเราใช้รุ่น Innovia Monorail 300 ของ Bombardier
monorail มีน้ำหนักตัวเปล่าเพียง 14 ตัน (ยังไม่รวมน้ำหนักผู้โดยสาร)
ซึ่งเทียบกับ รถไฟฟ้า ของ BTS ซึ่งเป็นรถไฟฟ้ารางหนัก (Heavy Rail) ของเราใช้ของ Siemens มีน้ำหนักถึง 138 ตัน/ ขบวน หรือตู้ละ 34 ตัน
ดังนั้น โครงสร้างของโครงการ BTS จึงต้องรับน้ำหนักตัวรถ และผู้โดยสารมากกว่า Monorail มากๆ
จึงทำให้โครงสร้างของ BTS ต้องเป็นการหล่อเสาในที่ เมื่อเทียบกับ Monorail ซึ่งเบากว่าสามารถใช้โครงสร้างสำเร็จรูปได้
ส่วนประกอบของโครงสร้างทางวิ่ง Monorail สายสีชมพู และ เหลือง ซึ่งผมขออนุญาตเอารูปมาจาก Presentation ของ รฟม นะครับ
ใครอยากอ่านรายละเอียดเต็มๆตามลิงค์นี้เลยครับ
ในทางวิ่งมีรายละเอียดคือ
1. โครงสร้างฐานรากเสาเข็มรับน้ำหนัก
2. เสาทางวิ่ง
3. คานแนวขวาง (cross beam)
4. คานทางวิ่ง (guide way beam)
ซึ่งในโครงสร้างทั้งหมดยกเว้นฐานรากเสาเข็ม เป็นโครงสร้างสำเร็จรูป ผลิตจากโรงงาน แล้วมาติดตั้งหน้างาน ซึ่งใช้เทคโนโลยี Post Tensions หรือการดึงแรงด้วยสลิงภายหลังการติดตั้ง ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง และปิดการจราจร น้อยมาก
เรามาดูในรายละเอียดของโครงสร้างทีละส่วน
1. โครงสร้างฐานรากเสาเข็มรับน้ำหนัก
ส่วนใหญ่ของโครงการเป็นเสาเข็มขุด ซึ่งทำเป็นรูปแบบรองรับการก่อสร้างน้ำหนักเบา โดยจะก่อสร้างเสาเข็มที่ความลึก 40-60 เมตร ขึ้นกับการรับน้ำหนัก และ profile ดินในแต่ละจุด ซึ่งการก่อสร้างส่วนนี้ใช้เวลาที่หน้างานมากที่สุด
2. เสาทางวิ่ง
- เสาทางวิ่งจะเริ่มจากการทำ Transition block ซึ่งเป็นฐานของเสา เพื่อเชี่อมระหว่าง เสากับฐานราก
- วางเสาทางวิ่งสำเร็จรูป เป็นแบบปล่อง ซึ่งวางตามความสูงที่กำหนดไว้ (มีทั้งแบบ 1 ท่อน หรือ 2 ท่อน)
- ซึ่งโดยทั่วไปของโครงการ จะมีระยะห่างระหว่างเสา ประมาณ 30 เมตร
3. คานแนวขวาง (cross beam)
- เมื่อเราทำเสาเสร็จเรียบร้อย ก็ต้องปิดบนด้วย Cross beam หรือ คานแนวขวาง ซึ่งจะเป็นตัวรับน้ำหนักของ คานทางวิ่ง (Guide Way Beam)
- หลังจากนั้น ก็ทำการดึงสลิงรับแรงชั่วคราว (temporary post tension) ประมาณ 15% ของแรงจริง เพื่อจัดตำแหน่งของเสา
- เติมปูนในช่องว่างของโครงสร้าง
- ทำการดึงสลิงรับน้ำหนักจริง เพื่อให้เสา และ Cross beam รับน้ำหนักและมีความแข็งแรงตาม spec
4. คานทางวิ่ง (guide way beam)
- ตัวคานทางวิ่ง (guide way beam) หรือที่หลายๆคนเรียกน้องบีม
- รูปแบบการก่อสร้าง ใช้เทคโนโลยี เทคโนโลยี Post Tensions หรือการดึงแรงด้วยสลิงภายหลังการติดตั้ง โดย 1 การดึงสลิง จะอยู่ที่ 3-4 ช่วงเสา
- ระหว่างชุดจะ จุดเชื่อมต่อแบบขยายได้ ( Expansion Joint ) ในการแยกระหว่างชุด
วิธีการก่อสร้าง คานทางวิ่ง (guide way beam)
- หลังจากการก่อสร้าง คานแนวขวาง (Cross beam) เสร็จพร้อมรับน้ำหนัก จะวางก้อนเชื่อมต่อ (เรียกว่า PGs) ซึ่งจะเป็น ก้อนสี เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 2 X 0.69 เมตร ลงบน Cross beam เพื่อเป็นตัวนำร่องให้ Guide way beam
- ติดตั้งคานทางวิ่ง (guide way beam) บนคานแนวขวาง (Cross beam) โดยวางจนครบชุด 1 ชุด 3-4 ช่วงเสา แล้วทำการเชื่อมจุดเชื่อมต่อต่างๆ
- ทำการดึงสลิงรับน้ำหนัก (post tension) 1 ชุดเข้าหากัน
ที่อธิบายมาทั้งหมด น่าจะเห็นว่าง่ายกว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้า Heavy rail มาก
โดยเฉพาะการวางคานทางวิ่ง (guide way beam) ของ Monorail สามารถวาง 1 ช่วงเสาใช้เวลาเพียง 1 วัน/ช่วงเสา ต่อจุดโครงสร้าง
ซึ่งถ้าเป็นแบบ Valduct Segment ของรถไฟฟ้า BTS 1 ช่วงเสา ใช้เวลา 7 วัน/ช่วงเสา แค่นี้เร็วกว่า รถไฟฟ้า Heavy Rail 7 เท่าแล้ว ยังไม่รวมการทำเสา และ cross beam สำเร็จรูป
ตามนี้น่าจะอธิบายเรื่อง วิธีการก่อสร้าง Monorail ให้หายข้องใจได้มากนะครับ
ใครทีอยากรู้เรื่อง monorail มากกว่านี้ ดูได้จากลิ้งค์ตามนี้ครับ
EP.4 Monorail/รถไฟรางเดี่ยว มันคืออิหยังวะ!!!
รู้จัก Monorail สายสีสีชมพู ให้มากกว่านี้ในงาน Asia Pacific Rail 2020
EP.4.1 Monorail แบบคร่อม กับแบบแขวน มันต่างกันยังไง?? แล้วทำไมเราถึงเลือกแบบคร่อม??

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา