27 พ.ค. 2020 เวลา 03:08 • ธุรกิจ
Series รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ)
EP.2 รูปแบบสถานี และรูปแบบทางวิ่ง รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ (เตาปูน-ราษฏร์บูรณะ)
มาต่อเรื่องรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้กันต่อ ในวันนี้ขอเสนอเรื่องรูปแบบสถานีและรูปแบบทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีม่วง
ใครที่ยังไม่อ่าน EP.1 อ่านได้จากลิ้งค์นี้ครับ
จากที่เราพูดกันไปแล้วว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วง
มีระยะโครงการ 23.5 กิโลเมตร
เป็นโครงสร้างใต้ดิน 12.7 กิโลเมตร และเป็นยกระดับ 10 กิโลเมตร
มีสถานีทั้งหมด 17 สถานี
เป็นสถานีใต้ดิน 10 สถานี และเป็นสถานียกระดับ 7 สถานี
ผมเอารูปแบบแต่ละสถานีมาให้ชม รวมถึงส่วนที่ผ่านเขตเมืองชั้นใน ที่ต้องปรับทางขึ้น-ลง สถานีใต้ดินให้เหมาะสมกับบรรยากาศพื้นที่โดยรอบ เพื่อไม่ให้รถไฟฟ้าไปทำลายบรรยากาศเมืองเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์
เรามาดูที่รูปแบบสถานีกันก่อน
แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน และสถานียกระดับ
ซึ่งสถานีใต้ดินจะแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ
1. สถานีชานชาลากลาง (Central Platform) ซึ่งจะมีอุโมงค์ขนาบ 2 ข้าง และมีชานชาลารอรถไฟอยู่ตรงกลาง
เหมือนกับ สถานีหัวลำโพง สายสีน้ำเงิน
มีสถานีชานชาลากลางคือ สถานีรัฐสภา, สามยอด, สะพานพุทธฯ, วงเวียนใหญ่ และสำเหร่
2. สถานีชานชาลาซ้อน (Stacked Platform) ซึ่งจะเป็นชานชาลาซ้อนกัน 2 ชั้น อุโมงค์ซ้อนกัน เหมือนกับสถานีสีลม สายสีน้ำเงิน
มีสถานีชานชาลาซ้อนคือ สถานีศรีย่าน, วชิรพยาบาล, บางขุนพรหม และผ่านฟ้า
3. สถานีชานชาลาข้าง (Side Platform) ซึ่งจะเป็นชานชาลาข้าง ซึ่งจะมีอุโมงค์อยู่กลาง และชานชาลาขนาบข้าง เหมือนกับสถานีบางซื่อ สายสีน้ำเงิน
มีสถานีหอสมุดแห่งชาติ
รูปแบบสถานียกระดับ มี 1 แบบ คือ
3 ชั้น ชานชาลาข้าง มีทางวิ่งอยู่กลางมีชั้นจำหน่ายตั๋วอยู่ชั้น 2 และมีชานชาลาอยู่ชั้น 3
ซึ่งจะเป็นรูปแบบหลักของสถานียกระดับทุกสถานี ยกเว้นสถานีดาวคะนอง ซึ่งเป็นสถานีที่ขึ้นมาจากอุโมงค์แล้วอยู่ใกล้อุโมงค์ จึงทำให้ไม่สามารถยกระดับเป็น 3 ชั้น เต็มได้เหมือนสถานีอื่น
รูปแบบจะคล้ายกับ BTS และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนยกระดับทุกสถานี
** ซึ่งในทุกรูปสถานีทั้งยกระดับ และใต้ดิน มีการรองรับผู้พิการ คือ มีทางขึ้น-ลง เพื่อรองรับผู้พิการได้แก่ ลิฟต์อย่างน้อยสถานีละ 2 ชุด 1 ชุด/ฝั่งถนน เพื่อให้พี่ๆคนพิการ ไม่จำเป็นต้องข้ามถนนเพื่อขึ้นลิฟต์
ใน Paid Area สำหรับสถานีที่เป็นชานชาลากลาง หรือชานชาลาซ้อน จะมีลิฟต์ 1 ตัว แต่ถ้าเป็า สถานีชานชาลาข้าง จะมีลิฟต์ 2 ตัว ชานชาลาละ 1 ตัว
โครงสร้างทางวิ่งของรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ จะมีรูปแบบทางวิ่งใต้ดิน 3 รูปแบบคือ
1. อุโมงค์คู่ห่าง มีระยะห่างระหว่างอุโมงค์ 6.30 เมตรขึ้นไป เป็นรูปแบบการก่อสร้างบนถนนทั่วไปซึ่งมีเขตทาง ประมาณ 23 เมตรขึ้นไป โดยจะเป็นรูปแบบอุโมงค์หลักของโครงการ
2. อุโมงค์คู่แคบ สามารถก่อสร้างอุโมงค์ชิดกันได้ถึง 1.50 เมตร โดยจำเป็นต้องมีการปรับปรุงความหนาแน่นของดินระหว่างอุโมงค์ เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดโพรงจากอุโมงค์ข้างๆได้ในการก่อสร้าง เป็นรูปแบบก่อสร้างซึ่งเป็นแบบรองจะใช้บนถนนซึ่งมีเขตทาง ประมาณ 16 เมตรขึ้นไป
3. อุโมงค์ซ้อน จะเป็นการก่อสร้างในพื้นที่เขตทางแคบ ซึ่งจะเป็นส่วนหลักที่ใช้ในเขตพื้นที่ชั้นใน ซึ่ง ใช้พื้นที่อุโมงค์เพียง 8-10 เมตร เพราะใช้พื้นที่เท่าตัวอุโมงค์ และเขตปลอดภัยอีก 2 เมตร
โดยรูปแบบนี้จะใช้การซ้อนอุโมงค์ โดยแต่ละอุโมงค์จะต้องห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร
พื้นที่การก่อสร้างดูได้จากในรูปผังการก่อสร้างได้เลย
ทางวิ่งยกระดับ มี 2 รูปแบบคือ
1. ทางวิ่งทางคู่ จะเป็นรูปแบบทางทั่วไปของโครงการ ซึ่งเพื่อรองรับรถราง 2 ราง ให้รถไฟฟ้าสวนกันได้
2. ทางวิ่ง 3 จะเป็นการก่อสร้างเฉพาะช่วงที่เป็น Pocket Track หรือจุดพักซ่อมบำรุงรถ ซึ่งจะคล้ายกับ Pocket Track สถานีสนามเป้า และ อารีย์ ของ BTS
ซึ่งในโครงการนี้จะมี Pocket Track อยู่บริเวณ ระหว่างสถานีบางปะกอก และ สะพานพระราม 9
การปรับทางขึ้น-ลงสถานี ในพื้นที่ชั้นในเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์
มีสถานีที่ต้องมีการปรับรูปแบบทางขึ้ง-ลงให้สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบทั้งหมด 2 สถานี คือ สถานีผ่านฟ้า และสถานีสามยอด โดยแต่ละสถานีจะมีรายละเอียดคือ
1. สถานีผ่านฟ้า มีทางขึ้น-ลงทั้งหมด 4 ทาง
ทางขึ้น-ลงที่ 1 อยู่บริเวณตึกแถวเก่า โดยจะก่อสร้างอาคารทางขึ้น-ลง ให้สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบ โดยทำเป็นรูปแบบอาคารเดิม แต่ปรับให้เป็นกระจกโปรง
ทางขึ้น-ลงที่ 2 อยู่บริเวณหน้าหาศิลป์สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ โดยจะเป็นการก่อสร้างเป็นทางขึน-ลง ไม่มีหลังคา และลิฟต์เป็นแบบกระจกโปร่งใส เพื่อไม่ให้บดบังอาคาร
ทางขึ้น-ลงที่ 3 อยู่บริเวณหลังอาคารเทเวศร์ประกันภัย โดยทางขึ้น-ลง จะทำให้สอดคล้องกับอาคารโดยรอบ
ทางขึ้น-ลงที่ 4 อยู่บริเวณบ้านดารากรกฤษณา โดยทางขึ้น-ลง จะทำให้สอดคล้องกับอาคารโดยรอบ
2. สถานีสามยอด มีทางขึ้น-ลงทั้งหมด 4 ทาง
ทางขึ้น-ลงที่ 1 อยู่ในพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินฯ เดิมเป็นอาคาร 2 ชั้น 6 คูหา ซึ่งอาคารทางขึ้น-ลงจะก่อสร้างให้เหมือนกับของเดิม ให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยรอบ
ทางขึ้น-ลงที่ 2 อยู่บริเวณอาคารโรงแรมบูรพาสามยอดเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่กำลังจะหมดสัญญา และพัฒนาเป็นสวนสาธารณะสามยอด ถ้าใครยังไม่เคยเห็นดูได้จากลิ้งค์นี้ครับ
โดยจะทำทางขึ้น-ลง ไม่มีหลังคา เพื่อไม่บดบังสวนและพื้นที่โดยรอบ
ทางขึ้น-ลงที่ 3 เดิมเป็นอาคารตึกแถว 3 ชั้น 4 คูหา จึงทำอาคารทางขึ้น-ลง ให้สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบ
ทางขึ้น-ลงที่ 4 อยู่บริเวณหน้าสวนรมณีนาถ ซึ่งทางขึ้น-ลงเป็นตำแหน่งแหน่งหน้าป้อมและรั้วคุกเดิม จึงจำเป็นต้องลดขนาดแล้วป้องกันการบดบังของพื้นที่สำคัญ โดยที่ไม่มีหลังคาทางขึ้น-ลง และแท่นปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่โดยรอบ
ปล่องระบายอากาศต่างๆ จะถูกปรับให้สอดคล้องกับพื้นที่ เช่นบริเวณสวนหน้าวัดบวร ก็ปรับให้คล้ายกับอาคารเดิมของสวน
ใครอยากรู้ตรงไหนเพิ่ม ถามมาได้ครับเดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังเพิ่มในตอนต่อไป
โฆษณา