31 พ.ค. 2020 เวลา 09:05 • การศึกษา
วินัยและการรักษาวินัย
วินัย Discipline หมายถึง เครื่องควบคุมพฤติกรรมของคน
วินัย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ. 2554 หมายถึง ระเบียบแบบแผน และข้อบังคับ ข้อปฏิบัติ
***วินัย ตามความหมายของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 82 หมายถึง ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ
วินัยข้าราชการ อาจแยกได้ 2 ความหมาย
1 ระเบียบ กฎเกณฑ์ และแบบแผนความประพฤติที่ทางราชการกำหนดให้ยึดถือปฏิบัติ
2 ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ข้าราชการแสดงออกมาในทางที่ถูกที่ควร หรือแบบแผนที่ทางราชการกำหนดไว้
สรุป วินัย หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ แบบแผนความประพฤติที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในองค์กรให้ไปในแนวทางที่พึงประสงค์
ความสำคัญของการมีวินัย
เป้าหมายที่แท้จริงที่ส่งเสริมให้ครูมีวินัยไม่ใช่อยู่ที่ครูแต่อยู่ที่ ตัวนักเรียน กล่าวคือ ถ้าครูมีวินัย ความมีวินัยของครูก็จะส่งผลไปถึงตัวเด็กด้วย เช่น ครูตั้งใจสอนอบรมอย่างเต็มกำลังความสามารถประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียนเป็นต้น
การรักษาวินัย
หมายถึง การที่ข้าราชการต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทางวินัย ตามที่กฎหมายบัญญัติอย่างเคร่งครัด ระมัดระวัง ดูแลป้องกันไม่ฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยง หากพบว่ามีการกระทำผิด ผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการทางวินัยทันทีเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น
วัตถุประสงค์ของการรักษาวินัย
1 เพื่อส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพและรักษาประโยชน์ของทางราชการ***
2 สองมีจุดมุ่งหมายเพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของข้าราชการด้วย
***เป้าหมายการมีวินัยของข้าราชการครู เพื่อนักเรียน
วินัยของข้าราชการครู
วินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้บัญญัติไว้ในหมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพ. ศ. 2547
หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่ากระทำอย่างใดจะผิดวินัยหรือไม่
1 การกระทำนั้นกระทบต่อประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของทางราชการหรือไม่
2 กระทบความมั่นคงหรือไม่
3 กระทบต่อความผาสุกของประชาชนหรือไม่
4 กระทบต่อภาพพจน์ชื่อเสียงของทางราชการหรือไม่
ลักษณะความผิดทางวินัย
1 ไม่มีอายุความ
2 ยอมความกันไม่ได้
3 ไม่อาจจะชดเชยด้วยเงิน เพื่อลบล้างความผิด
4 สภาพการกระทำความผิดของข้าราชการ
5 การลงโทษให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย
6 รับสารภาพไม่เป็นเหตุลดหย่อนโทษ 7 ลาออกหรือพ้นจากราชการไปแล้ว วินัยยังดำเนินการต่อไป
7 ตั้งคณะกรรมการแล้ว ถอนเรื่องไม่ได้
8 ระหว่างถูกสอบสวนร้ายแรง ให้พักราชการหรือให้ออกจากราชการไว้ได้
9 กระทำผิดวินัยอาจยังต้องรับโทษทางอาญาหรือต้องรับผิดทางแพ่ง
10 กระทำผิดโดยไม่เจตนาก็ยังต้องรับผิดได้
11 ตาย วินัยยุติ กรณีผิดไม่ร้ายแรง
12 สอบสวนแล้วไม่ปรากฏความผิด หากรับราชการต่อไป ไม่สมเกียรติก็สั่งให้ออกจากราชการได้
***ไม่สามารถลงโทษทางวินัย เหตุที่เกิดขึ้นก่อน ที่มีสถานภาพเป็นข้าราชการ หรือบรรจุแต่งตั้งได้ ตามมาตรา 82
ข้อกำหนดเรื่องวินัย
1 วินัยต่อประเทศชาติ ได้แก่ สนับสนุนการวางรากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2 วินัยต่อตำแหน่งหน้าที่ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
3 วินัยต่อผู้บังคับบัญชา ได้แก่ การปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งในหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
4 วินัยต่อผู้เรียน ได้แก่ การอุทิศเวลา ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูล เคารพสิทธิ ไม่ล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียน
5 วินัยต่อประชาชน ได้แก่ ให้การต้อนรับอำนวยความสะดวก ให้ความเป็นธรรม ไม่กลั่นแกล้งดูหมิ่น เหยียดหยามประชาชน
6 วินัยต่อผู้ร่วมงาน ได้แก่ การรักษาความสามัคคี สุภาพเรียบร้อย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
7 วินัยต่อตนเอง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รักษาชื่อเสียง ไม่กระทำการใดๆให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
***การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด การฝ่าฝืนข้อห้าม และการละเว้นการปฏิบัติ ถือว่าเป็นการกระทำความผิดทางวินัย
ความผิดทางวินัย
ตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547
ได้รับโทษความผิดมี 5 สถาน
วินัยไม่ร้ายแรง 3 สถาน
-ภาคทัณฑ์
-ตัดเงินเดือน
-ลดเงินเดือน
วินัยร้ายแรง 2 สถาน
-ปลดออก มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญ
-ไล่ออก ไม่มีสิทธิ์ได้รับบำเหน็จบำนาญ
วินัยร้ายแรง มีโทษ 2 สถาน คือ ปลดออก + ไล่ออก
ตัวอย่างการผิดวินัยร้ายแรง
1 ละเว้นการปฏิบัติราชการ ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
2 ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา รายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชา เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
3 ทอดทิ้งหน้าที่ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
4 ละทิ้งหน้าที่ในคราวเดียวกันเกิน 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลสมควรและไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย
5 กลั่นแกล้ง ดูหมิ่น เหยียดหยาม ข่มเหงนักเรียน ประชาชน ผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
6 กล่าวหา ร้องเรียนผู้อื่น โดยปราศจากความเป็นจริงเสียหายร้ายแรง
7 ซื้อขายตำแหน่ง
8 คัดลอก จ้างวาน ทำผลงานวิชาการ
9 ซื้อสิทธิ์ขายเสียง
10 เสพยาเสพติด สนับสนุนผู้อื่นเสพยาเสพติด
11 เล่นการพนันเป็นอาจิณ
12 ล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียน
13 ปลอมแปลงลายมือชื่อผู้อื่นเพื่อหาผลประโยชน์
14 กระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษหนักกว่าจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
สรุปขั้นตอนการดำเนินการทางวินัย
1 การร้องเรียนกล่าวหาหรือกล่าวโทษ ตั้งเรื่องกล่าวและแจ้งข้อกล่าวหา
2 การสืบสวนทางวินัย การสืบหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในเบื้องต้น
3 การสอบสวนทางวินัย การรวบรวมพยานหลักฐานการดำเนินการเพื่อจะทราบข้อเท็จจริง พฤติการณ์ พิสูจน์ความผิด ว่ากระทำผิดหรือไม่
4 การรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมการ
5 การออกคำสั่งลงโทษทางวินัย
6 การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ
7 การรายงานการดำเนินการทางวินัย
โฆษณา