Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน ฟัง สอบครูผู้ช่วย
•
ติดตาม
1 มิ.ย. 2020 เวลา 17:08 • การศึกษา
บทบัญญัติว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัย 1 ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตาม หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2547
มาตรา 82 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องรักษาวินัยที่บัญญัติ เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
จุดมุ่งหมายของมาตรานี้คือ ถือเป็นหน้าที่ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนที่จะต้องรักษาวินัยโดยไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ตามข้อกำหนดของวินัยโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ
ความผิดที่ได้กระทำก่อนมีสภาพเป็นข้าราชการหรือบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่อาจนำมาลงโทษทางวินัยได้
มาตรา 83 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยความบริสุทธิ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิด มีการกระทำในลักษณะที่เป็นการคัดค้านต่อต้านหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขซึ่งอาจแสดงออกโดย ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งต่างๆ ที่พึงกระทำในการปกครองรวมทั้งยุยง ส่งเสริมไม่ให้ผู้อื่นไปใช้สิทธิ์ดังกล่าว มีโทษภาคทัณฑ์ หรือพูดชักจูงให้ผู้อื่นฝักใฝ่ในการปกครองระบอบอื่น มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
มาตรา 84 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่ รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด ห้ามมิให้อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตน ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
การพิจารณาว่าข้าราชการผู้ใดมีหน้าที่ราชการในเรื่องใดหรือไม่นั้น
1 พิจารณาจากกฎหมายมาตรฐานทั่วไปหรือระเบียบ
2 พิจารณาจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
3 พิจารณาจากคำสั่งหรือการมอบหมายของผู้บังคับบัญชา
4 พิจารณาจากพฤตินัยโดยพิจารณาจากการที่ข้าราชการสมัครใจเข้าผูกพันตนเองยอมรับว่าเป็นหน้าที่ราชการที่ตนเองต้องรับผิดชอบ
คำว่า ซื่อสัตย์ หมายความว่า ปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาไม่คดโกง
คำว่า สุจริต หมายความว่า ปฏิบัติด้วยความมุ่งหมายในทางที่ดี ทางที่ชอบตามทำนองคลองธรรม
คำว่า เที่ยงธรรม หมายความว่า ปฏิบัติโดยไม่ลำเอียง
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิดไม่ร้ายแรง
1 ข้าราชการครูทำเฉลยข้อสอบให้นักศึกษาบางกลุ่มไปติวสอบ มีโทษภาคทัณฑ์
2 ส่งผลการสอบของนักเรียนล่าช้า มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
3 ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ดูแลเอาใจใส่งานไม่ตรวจสอบเอกสารให้รอบคอบทำให้เกิดความเสียหายต่อราชการหรือเกิดการทุจริต มีโทษลดเงินเดือน 1 ขั้น
4 ฝ่าฝืนข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีโทษภาคทัณฑ์
ตามมาตรา 84 วรรค 2 การพิจารณาว่าผู้ใดกระทำผิดวินัยตามวรรคนี้หรือไม่ จะต้องพิจารณาในเบื้องต้นว่าผู้นั้นมีอำนาจหน้าที่ราชการ ในเรื่องนั้นหรือไม่ หากได้ความว่าผู้นั้นมีอำนาจหน้าที่ราชการในเรื่องนั้น จึงอาจพิจารณาต่อไปว่า ผู้นั้นได้อาศัยอำนาจหน้าที่นั้นหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่นั้นหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นหรือไม่ และการอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการนั้น ไม่จำเป็นจะต้องทำโดยตรงเพียงแต่ยอมให้ผู้อื่นทำหรือแม้แต่โดยทางอ้อมก็เข้าข่ายเป็นความผิด ตามมาตรา 84 วรรคสองแล้ว
องค์ประกอบความผิด ตามมาตรา 84 วรรค 2
1 มีอำนาจหน้าที่ราชการ
2 อาศัยหรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตน
3 หาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิด
1 รับเงินหรือสิ่งของจากผู้มาติดต่อราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกเป็นกรณีพิเศษ มีโทษภาคทัณฑ์
2 นำทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ส่วนตัว มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
3 รับเงินส่วนลดจากร้านค้าโดยไม่ส่งคืนคลัง มีโทษภาคทัณฑ์
มาตรา 84 วรรค 3 เป็นการกำหนดลักษณะความผิดวินัยร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่งในกรณีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ โดยให้คำนิยามหรือความหมายของการทุจริตต่อหน้าที่ราชการไว้ด้วยการกระทำอย่างใด จึงจะเข้าลักษณะเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการซึ่งเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
1 ต้องมีหน้าที่ราชการที่ต้องปฏิบัติ
2 ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
3 เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควร
4 โดยมีการทุจริต
>>>ผู้ที่กระทำผิดจะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 องค์ประกอบ จึงจะเป็นการกระทำผิดวินัย กรณีทุจริตต่อหน้าที่ราชการ<<<
คำว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หมายความว่า มีหน้าที่ราชการที่จะต้องปฏิบัติแต่ไม่ปฏิบัติหรืองดเว้นไม่กระทำตามหน้าที่ การไม่ปฏิบัติหรืองดเว้นไม่กระทำตามหน้าที่ จะเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการก็ต่อเมื่อได้กระทำการอันเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่โดยปราศจากอำนาจที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ และจะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นไม่ปฏิบัติตามหน้าที่โดยมิชอบ
คำว่า มิชอบ หมายความว่า ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบทางราชการ คำสั่งของผู้บังคับบัญชา มติคณะรัฐมนตรี แบบธรรมเนียมของทางราชการ หรือทำนองคลองธรรมซึ่งแยกพิจารณาดังนี้
1 มิชอบด้วยกฎหมายระเบียบข้าราชการ คำสั่งของผู้บังคับบัญชาหรือมติคณะรัฐมนตรี หมายถึง ปฏิบัติโดยไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือคำสั่งของทางราชการ หรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชา มติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ เช่น ผู้อำนวยการสถานศึกษาได้ประมูลหรือสั่งซื้อวัสดุจากสำนักงานร้านค้าของพวกพ้องของตนด้วยเจตนาที่จะให้ตนและพวกพ้องของตนได้ประโยชน์เป็นพิเศษ ดังนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ ด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ 2535 เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควร
2 มิชอบด้วยธรรมเนียมของทางราชการ หมายถึง ปฏิบัติไม่เป็นไปตามธรรมเนียมของทางราชการหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบธรรมเนียมของทางราชการ เช่น เจ้าหน้าที่พัสดุเสนอเรื่องอนุมัติซื้อวัสดุอุปกรณ์การศึกษาต่อผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา โดยไม่ผ่านรองผู้อำนวยการสถานศึกษาตามสายงาน โดยมีเจตนาที่จะให้ตนเองหรือห้างร้านที่จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์การศึกษาได้ประโยชน์เป็นพิเศษ เพราะถ้าเสนอผ่านรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่ คนที่ 1 จะไม่ได้รับการอนุมัติ เนื่องจากรองคนที่ 1 ดูดิว่าวัสดุชิ้นไหนมีคุณภาพดีหรือไม่ดี มีราคาแพงหรือไม่แพง ดังนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้
3 มิชอบด้วยทำนองคลองธรรม หมายถึง การกระทำในทางที่ไม่ถูกไม่ควรหรือกระทำในทางที่ถูกที่ควร เช่น ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่การเงิน มีหน้าที่วางฎีกาเบิกเงินค่าซื้อวัสดุสำนักงานให้แก่ร้านค้าผู้ขายราย ได้ทำเรื่องวางฎีกาเบิกเงินให้รายที่ให้ค่าตอบแทนเป็นการส่วนตัวก่อนรายที่ไม่ได้ให้ค่าตอบแทน รายได้ที่ให้ค่าตอบแทนเป็นการส่วนตัวทำให้เร็ว ส่วนรายได้ที่ไม่ให้ค่าตอบแทนเป็นการส่วนตัวก็ทำให้ช้า โดยมีเจตนาเหนี่ยวเรื่องไว้ ดังนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยถูกต้องตามกฎหมายและตามทำนองคลองธรรมทุกประการแล้ว ต่อมาภายหลังได้รับประโยชน์ส่วนตัวเนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ นั้นในลักษณะ ของขวัญ หรือที่เรียกกันว่า กินตามน้ำ ไม่เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงไม่เป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ แต่อาจเป็นความผิดฐานอื่นได้
4 มีเจตนาพิเศษเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ คำว่า ผู้อื่น หมายถึง ใครก็ได้ที่จะได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของข้าราชการผู้นั้น คำว่า ประโยชน์ หมายถึง สิ่งที่ได้รับอันเป็นคุณแก่ผู้ได้รับซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่ทรัพย์สิน คำว่า มิควรได้ หมายถึง ไม่มีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะได้รับประโยชน์ใดๆตอบแทนจากการปฏิบัติหน้าที่นั้น โดยมีเจตนาทุจริต การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการหรือไม่นั้นต้องพิจารณาถึงเจตนาของผู้กระทำด้วยว่ามีเจตนาทุจริตหรือมีเถยจิต จิตอันชั่วร้าย คิดเป็นโจร ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยมุ่งที่จะให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้เป็นสำคัญ
***ซึ่งผู้กระทำผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ตามมาตรา 84 วรรค 2 นโยบายของทางราชการก็คือต้อง ลงโทษไล่ออก จากทางราชการสถานเดียว***
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิด
1 นำเงินรัชกาลที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว มีโทษไล่ออก
2 เปิดเผยข้อสอบของตนหรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนให้ผู้เข้าสอบหรือบุคคลอื่นทราบโดยได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นใด มีโทษไล่ออก
3 เบิกเงินหรือถอนเงินของโรงเรียนแล้วไม่นำเงินไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของทางราชการและไม่สามารถชี้แจงแสดงพยานหลักฐานการใช้จ่ายเงินที่เบิกถอนได้ มีโทษไล่ออก
มาตรา 85 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาล โดยถือประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
องค์ความผิดตามมาตรา 85 วรรคหนึ่ง
1 มีหน้าที่ราชการ
2 ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานทางการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐ โดยถือประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน
3 เกิดความเสียหายแก่ราชการ
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิดไม่ร้ายแรง
1 อนุมัติให้จ่ายเงินทั้งที่ยังไม่มีการตรวจรับพัสดุจากกรรมการตรวจรับ โดยไม่ปรากฏว่ามีการทุจริต มีโทษลดเงินเดือน 1 ขั้น
2 เบิกจ่ายเงิน ไม่เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน
3 ออกใบเสร็จรับเงินค่าสมัคร ค่าลงทะเบียนจากนักเรียนโดยไม่มีสำเนาใบเสร็จ ทำให้เข้าใจผิดว่าต้นขั้วใบเสร็จรับเงินสูญหาย ทำให้ไม่มีหลักฐานเพื่อลงบันทึกลงบัญชีรับเงินประจำวัน มีโทษภาคทัณฑ์
4 จัดเก็บเอกสารการเงิน บัญชี หลักฐานการจ่ายเงินไม่ถูกต้อง ตามระบบบัญชีของทางราชการทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 2 เดือน
5 ไม่ปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ เกี่ยวกับเรื่องการเงิน การบัญชี การพัสดุ การจัดซื้อจัดจ้าง มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
6 ไม่มาปฏิบัติราชการ แต่มาลงเวลาย้อนหลัง มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
7 ไม่มาปฏิบัติราชการเพราะป่วย แต่ไม่ส่งใบลาตามระเบียบ มีโทษภาคทัณฑ์
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิดร้ายแรง
1 นำเงินราชการที่ตนมีหน้าที่รับผิดชอบไปฝากให้ผู้อื่นนำเข้าธนาคารเป็นเหตุให้ผู้อื่นยักยอกเงินไป มีโทษปลดออก
2 อนุมัติเงินอุดหนุนโครงการการเกษตรเพื่อการยังชีพโดยไม่ตรวจสอบจำนวนและรายชื่อนักศึกษาเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่นำเอารายชื่อนักศึกษานอกโครงการมาเบิกร่วมด้วย มีโทษปลดออก
มาตรา 86 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง
แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นจะทำให้เสียหายแก่ราชการหรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะเสนอความเห็นเป็นหนังสือภายใน 7 วัน เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งนั้นก็ได้และเมื่อเสนอความเห็นแล้วถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันเป็นหนังสือให้ปฏิบัติตามคำสั่งเดิมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจะต้องปฏิบัติตาม
การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
คำสั่งของผู้บังคับบัญชา ไม่จำเป็นต้องสั่งตามรูปแบบทางราชการหรือเป็นลายลักษณ์อักษรอาจสั่งด้วยวาจาก็ได้
ผู้สั่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามกฎหมาย หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นผู้บังคับบัญชาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจตามกฎหมาย
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิด
1 ผู้บังคับบัญชาสั่งให้มาทำงานเร่งด่วนในวันเสาร์อาทิตย์ แต่ไม่มาปฏิบัติงาน มีโทษภาคทัณฑ์
2 ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไปฝึกอบรมแต่ไม่ได้ไปเข้าร่วมการฝึกอบรม มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
3 ขอลาหยุดราชการแต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุญาต แล้วขาด ราชการไปทั้งที่ทราบว่าผู้บังคับบัญชาไม่อนุญาต มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิด ร้ายแรง
1 ผู้บังคับบัญชาสั่งให้อยู่เวรรักษาการณ์แต่ไม่อยู่ เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้หรือ มีโทษปลดออก
มาตรา 87 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการ แล้วผู้เรียน จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้
การละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย โดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
สำหรับวันปิดภาคเรียน ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ให้ถือว่าเป็นวันพักผ่อนของนักเรียนซึ่งสถานศึกษาอาจอนุญาตให้ข้าราชการหยุดพักผ่อนด้วยก็ได้ แต่ถ้ามีราชการจำเป็นให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการเหมือนการมาปฏิบัติราชการตามปกติ ดังนั้น วันปิดภาคเรียน ถึงไม่ใช่วันหยุดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
คำว่า ทอดทิ้ง หมายความว่า ตัวอยู่แต่ไม่ทำงาน ไม่เอาใจใส่ ไม่เอาเป็นธุระ เช่น มาลงชื่อปฏิบัติงานแล้วแต่ไม่สนใจทำงานในหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย หรือแล้วเสร็จตามเวลา ปล่อยงานให้คั่งค้างเป็นต้น
คำว่า ละทิ้ง หมายความว่า ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งอาจไม่มาปฏิบัติหน้าที่ราชการเลย หรือมาลงชื่อปฏิบัติงานแล้วออกไปนอกสถานศึกษาโดยไม่ขออนุญาต หรือไม่อยู่ในสถานที่ที่ควรอยู่
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิดไม่ร้ายแรง
1 ละทิ้งหน้าที่ราชการไม่เกิน 3 วัน มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
2 มาสายบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุผลอันควร มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
3 กลับก่อนเวลาเสมอเสมอ มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
4 มาลงชื่อปฏิบัติงานแล้วไม่อยู่ในโรงเรียน มีโทษตัดเงินเดือน 5% เป็นเวลา 1 เดือน
ตัวอย่างพฤติกรรมความผิดร้ายแรง
1 ล่าสุดต่อต่างประเทศ เมื่อครบกำหนดเวลาไม่เดินทางกลับมาปฏิบัติราชการโดยไม่มีเหตุผลความจำเป็น มีโทษปลดออกหรือไล่ออก
2 ยื่นใบลาออกจากราชการแล้วหยุดราชการไปทันทีโดยยังไม่ได้อนุญาตให้ลาออกและไม่ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดราชการ มีโทษไล่ออก
3 ละทิ้งหน้าที่ราชการตั้งแต่ 16 วันขึ้นไปโดยไม่มีเหตุผลอันควร เช่นหลบหนีเจ้าหนี้ หลบหนีคดีอาญาเป็นต้น มีโทษไล่ออก
1 บันทึก
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
คุณธรรม จริยธรรม อุดมการณ์ของความเป็นครู และมาตรฐานวิชาชีพ
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย