📚..ข้อยกเว้นส่วนควบ..😛
..ภาคสุดท้าย..
🎯 ด้วยความที่กฎหมายมีสาระสำคัญจำนวนมาก ก็ไม่อาจที่จะนำมาเล่าได้หมดในภาคเดียว อย่างเช่นเรื่องส่วนควบ แท้จริงเนื้อหามีเยอะครับ แต่ผมก็นำมาสกัดทำเป็นยาหยอดตา เพื่อให้ท่านผู้อ่าน สะดวกขึ้นในการที่จะอ่านแล้วสามารถนึกภาพออกได้แบบไม่ต้องคิด ลึกมาก พอแค่เรานำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ประจำเดือน หรือประจำปี ก็แล้วแต่ว่า ท่านผู้อ่านจะพบเหตุการณ์ลักษณะนี้หรือไม่ นะขอรับ
ข้อยกเว้นของส่วนควบ จะมีอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 145 วรรคสอง และ มาตรา 146 🤭
👬 ในมาตรา 145 วรรคสอง ก็คือ " พืชล้มลุกหรือธัญชาติ อันจะเก็บรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน " ถามว่าแล้วพวกนี้คืออะไรบ้าง ธัญชาติ ก็คือพืชจำพวก ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี่ ฯ ส่วนพืชล้มลุก ก็จำพวกพืชผักสวนครัว ข่า ตะไคร้ ฟักทอง ฯ เป็นต้น ..เหมือนคุยเรื่องการเกษตรเลยนะครับ 😱
🌿 พืชล้มลุกหรือธัญชาติ เราถือหลักว่า ใครปลูกคนนั้นเป็นเจ้าของ ก็ในเมื่อกฎหมายบอกแล้วว่า พืชจำพวกนี้ไม่เป็นส่วนควบ มันก็ไม่ต้องไปดู มาตรา 144
ไม่ต้องไปดูว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่เหมือนกับไม้ยืนต้น ที่กฎหมายให้เป็นส่วนควบของที่ดิน ฉะนั้น หากเราไปปลูกข้าวบนที่ดินของใครไม่รู้ ข้าวจะเป็นของเราไม่ใช่เป็นของเจ้าของที่ดิน แต่ถ้าเปลี่ยนจากข้าวเป็นไม้สัก ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นเราไปปลูกบนที่ใครก็ไม่รู้เจ้าของก็ไม่ได้อนุญาต แบบนี้เจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของไม้สัก...ครับ 🌳
🍅 ตามไปดูต่อใน ข้อยกเว้น ในมาตรา 146 อันนี้สำคัญเลยนะครับ เพราะถ้าเราปฏิบัติตามมาตรา 146 สิ่งที่กฎหมายบอกว่าเป็นส่วนควบก็จะได้รับยกเว้น ไม่เป็นส่วนควบครับ มาตรา 146 มีหลักสำคัญคือ 1. " ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินหรือโรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน "
คำว่าชั่วคราว ในที่นี้ อยากจะบอกว่า ไม่ใช่ระยะเวลา แต่เป็นเรื่องของเจตนาที่จะให้มีอยู่เพียงชั่วคราว 10 ปี ก็ถือว่าเป็นชั่วคราวได้เหมือนกัน เช่น การปลูกไม้สัก เพื่อจะตัดในอีก 20 ปีข้างหน้าแบบนี้ก็ไม่ถือว่า ไม้สักเป็นส่วนควบของที่ดินเพราะมีเจตนาปลูกเพียงชั่วคราว ใครปลูกคนนั้นก็เป็นเจ้าของไม้สัก แต่บางเรื่องต้องดูหลักที่ 2 ประกอบด้วยนะครับคือต้องปลูกโดยมีสิทธิที่จะปลูก แล้วแต่ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องไป 🌻🍁
😁 เห็นไหมครับ กฎหมายมันมีทางเดินของมัน อยู่ที่เราจะใช้มันได้ไหม เช่น
ใช้ชงกาแฟ ใช้ไปซื้อข้าว ...แฮะ ๆ 🍂🍂
📚 ทีนี้มาหลักสำคัญที่ 2." ผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิปลูกสร้างไว้ ในที่ดินนั้น"
อาจจะเป็นสิทธิตามสัญญา สิทธิเหนือพื้นดิน หรือกรณีเจ้าของที่ดินอนุญาตหรือยินยอม ให้ปลูกสร้างลงบนที่ดิน สิ่งปลูกสร้างก็จะไม่กลายเป็นส่วนควบ ครับ เช่น
เช่าที่ดินเพื่อติดตั้งโครงเหล็กป้ายโฆษณา โครงเหล็กก็ไม่เป็นส่วนควบ อนุญาตให้ปลูกบ้านพักอาศัยบนที่ดิน ฉะนั้นสิ่งที่ต้องรู้ก็คือ สร้างในที่ดินของผู้อืนโดยมีสิทธิตามกฎหมายหรือไม่นั้นเอง 🌲
ภาพจากpixabay
🐸 แต่ถ้ามีสิทธิปลูกสร้างได้แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วตกลงยกให้เป็นของเจ้าของที่ดิน สิ่งปลูกสร้างนั้นก็จะตกเป็นส่วนควบทันที ไปสู่หลักทั่วไปเช่นเดิม
สิทธิตามสัญญานี้จะมีการทำเป็นหนังสือ หรือ เป็นการอนุญาตชัดแจ้ง หรือโดยปริยายก็ได้ครับ หรือกรณีทำสัญญาเช่าที่ดินปลูกตึก เป็นเวลา 10 ปี เมื่อครบ 10 ปีให้ตึกตกเป็นกรรมสิทธิของเข้าของที่ดิน แบบนี้ถ้ายังไม่ครบ 10 ปีตึกก็ยังไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน หรือ สิทธิที่ทรัพย์สิทธิต่าง ๆ 😇
ซึ่งการได้มาโดยหลักส่วนควบนี้ เป็นการได้มาโดยผลของกฎหมาย ครับผม
🌵 ที่ดินที่เอกสารสิทธิ ถ้าทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนตามกฎหมาย โดยปกติเจ้าหน้าที่ก็จะสอบถามก่อน อันนี้ไม่ค่อยมีปัญหา แต่ถ้าเป็นที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ เลย ซื้อโดยส่งมอบการครอบครอง อันนี้ต้องดูให้ชัดแยกให้ออกนะครับ พิจารณาจาก หลัก ที่กล่าวไว้เบื้องต้นก็จะดีครับ
ถ้าให้ดี อ่านโพสใน ...ภาคเริ่มต้น...จะเข้าใจยิ่งขึ้นนะครับ ผม..ไปละ 🏃🏃
บุญรักษาทุก ๆ ท่านครับผม🙏🙏
ฝาก...กดไลค์
........กดแชร์
........กดติดตามด้วยนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา