4 ก.ค. 2020 เวลา 03:00 • หนังสือ
HomoDeus ตอนที่ 3/11
"ความสามารถที่ทำให้มนุษย์ครองโลก"
( เนื้อหาเดียวกับ podcast ep.99 )
เราได้รู้กันไปแล้วจากบทก่อนหน้า ว่ามนุษย์นั้นมีอำนาจเหนือกว่าสัตว์อื่นๆ โดยหลักฐานที่ชัดเจนก็คือ สัตว์อื่นๆนั้นเป็นเพียงแค่ "สัตว์เลี้ยงของมนุษย์" เท่านั้น (เลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหาร หรือความบันเทิง)
ในบทนี้จึงเปิดมาด้วยคำถามว่า แล้วอะไรกันที่เป็นสิ่งพิเศษทีมีแต่ในมนุษย์ "เท่านั้น"
ถ้าในมุมมองของ "ศาสนา" ก็ต้องตอบว่ามนุษย์มี จิตวิญญาณ ที่เป็นอมตะ ในขณะที่สัตว์อื่นๆนั้นไม่มี (มนุษย์จึงมีสิทธิที่จะทรมานสัตว์อื่นๆได้)
ปัญหาก็คือ แม้แต่วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถยืนยันถึงการมีอยู่ของวิญญาณได้
นอกจากวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ยังมีอีกทฤษฏีที่ขัดแย้งกับเรื่องวิญญาณนั่นก็คือ "ทฤษฏีวิวัฒนาการ" ของ Charles Darwin
จากผลการสำรวจในปี ค.ศ. 2012 พบว่า มีคนอเมริกาเพียง 15% เท่านั้นที่เชื่อในทฤษฏีวิวัฒนาการ ซึ่งถือว่าน้อยมากๆ ทั้งๆที่เรื่องนี้พวกเราเรียนกันมาตั้งแต่สมัยมัธยมแล้ว นั่นก็อาจหมายถึงว่า มันน่าจะเป็นจริง
เนื้อหาใจความหลักของทฤษฏีวิวัฒนาการก็คือ "สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวเก่ง จะมีโอกาสที่จะมีชีวิตรอดได้มากกว่า"
ทำไม ? ถึงมีคนต่อต้านทฤษฏีนี้มากนัก ทั้งๆที่มันดู make sence มากๆ
อาจเป็นเพราะทฤษฏีนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า "วิญญาณไม่มีจริง" ซึ่งมันเป็นความคิดที่อันตรายต่อความเชื่อทางศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้น ประเด็น จิตวิญญาณจึงถูกปัดตกไป
คำตอบที่น่าจะได้รับการยอมรับมากกว่าในโลกปัจจุบันก็คือ มนุษย์มี
1. จิตใจ (mind)
2. การตระหนักรู้ (conscious)
นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะใช้ concept ของ Algorithm มาใช้อธิบายพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ แทนการใช้แค่จิตใจ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีลิงตัวหนึ่งเดินเข้าไปในป่า และเห็นเสือ ในเวลานั้น ประสาทตาของลิงจะส่งกระแสไฟฟ้าไปยังสมอง ผ่าน Algorithm ของลิงตัวนั้นและมี output ออกมาว่าให้ลิงวิ่งหนี โดยที่ลิงตัวนั้นไม่ได้มีความรู้สึกกลัวหรือตกใจใดๆเลย
1
การทดลองนี้อาจสรุปได้ว่า ลิง "ไม่มีจิตใจ"
แต่ก็มีการทดลองครั้งหนึ่งในอดีตช่วงยุค 1900 ที่มีม้าแสนรู้ในประเทศเยอรมัน ที่มีความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร เลขได้โดยผ่านการเคาะเท้าของมันเป็นจำนวนครั้ง และมันสามารถตอบถูกได้อย่างเหลือเชื่อ ในภายหลังนักจิตวิทยาก็ได้ค้นพบว่าเจ้าม้าตัวนั้นมันไม่ได้คิดเลขได้แบบมนุษย์ แต่ทว่ามันใช้วิธีการเคาะเท้าไปพร้อมๆกับการสังเกตสีหน้าของมนุษย์ที่ถามคำถาม คนมักจะแสดงอาการทางร่างกายเมื่อมันเคาะเท้าใกล้คำตอบที่ถูกต้อง นั่นทำให้เห็นได้ว่าจริงๆแล้วสัตว์อื่นๆก็มี "การตระหนักรู้" ไม่แพ้มนุษย์เหมือนกัน
แล้วคอมพิวเตอร์หละ มีจิตใจ & การตระหนักรู้ หรือไม่ ?
ตอนนี้เราอาจตอบว่าคอมพิวเตอร์นั้นไม่มี แต่ในอนาคตถ้ามันถูกพัฒนา Algorithm ให้ฉลาดมากขึ้น ไม่แน่ใครจะรู้ว่ามันก็อาจจะพัฒนาความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาก็เป็นได้
ถ้าในอนาคตคอมพิวเตอร์สามารถที่จะขับรถแทนแรา มาเป็นครูที่สอนหนังสือเรา เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันมีความรุ้สึกนึกคิดแล้ว หรือยังคงเป็นเพียงแค่ปัญญาประดิษฐ์ที่ไร้ซึ่งจิตใจ ?
1
แล้วเราแน่ใจได้อย่างไรว่า คนอื่นๆเป็นคนที่มีความรู้สึก มีจิตใจ แบบเดียวกันกับ "คุณ"
ไม่แน่ ! ในตอนนี้ คุณเองอาจเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเดียวในจักรวาลก็ได้ที่รู้ตัวอยู่ แต่สิ่งมีชีวิตอื่นๆรอบๆตัวคุณ มันอาจเป็นเพียงหุ่นยนต์ที่บรรจุ Algorithm อันแสนทันสมัย
หรือคุณ อาจจะกำลังฝันอยู่
หรือไม่ คุณอาจกำลังอาศัยอยู่ใน virtual world ก็เป็นได้
ถ้ามีใครสามารถจำลองสิ่งต่างๆในสมองได้โดยตรง คุณจะแยกแยะสิ่งที่มีอยู่จริงกับไม่จริง ได้ยังไง ?
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า ในตอนนี้ตัวคุณเองนั้นไม่ใช่วัยรุ่นคนนึงที่มาจากปี ค.ศ. 2216 ที่กำลังย้อนเวลามาด้วย virtual world เพื่อลองมาอาศัยอยู่ในโลกอดีตที่ปี ค.ศ. 2020
เพราะถ้าเราลองใช้หลักความน่าจะเป็นมาคิด โอกาสที่คุณนั้นจะอยู่ในโลกความจริง มันน่าจะมีน้อยมากๆเลย ไม่ใช่หรือ ?
มาถึงจุดนี้ สรุปว่า จิตใจ และการตระหนักรู้ ก็ยังไม่ใช่คำตอบที่ทำให้ Homo Sapiens มีอำนาจเหนือสัตว์ทุกชนิด
ตัวเลือกสุดท้ายที่น่าสนใจที่สุดก็คือ "ความสามารถในการทำงานร่วมกันอย่างซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ" ต่างหาก ที่ทำให้มนุษย์นั้นทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่เป็นหลักล้านคน
ข้อมูลจากงานวิจัย พบว่ามนุษย์นั้นสามารถมีความสัมพันธ์แบบสนิทสนมกัน ได้ไม่เกิน 150 คนเท่านั้น
แล้วอะไรคือความลับของการทำงานร่วมกันเป็นจำนวนมากกัน ?
ก่อนอื่นเรามาทำความรุ้จักกับ ความจริงใน 2 รูปแบบกันก่อน
1. Objective Reality ความจริงแบบวัตถุวิสัย
คือ สิ่งนั้นมีอยู่จริง ไม่ว่าคุณจะเชื่อ หรือไม่เชื่อก็ตาม
เช่น โลกกลม หรือ กฏของแรงดึงดูด
2. Subject Reality ความจริงแบบจิตวิสัย
คือ ความจริงของคุณคนเดียว
เช่น คุณบอกคนอื่นว่าคุณปวดหัวมากๆ แต่เมื่อคุณไปหาหมอ หมอตรวจแล้วพบว่าคุณปกติดี แต่คุณก็ยังบอกว่าคุณปวดหัวอยู่ดี
1
นอกจากนั้น ยังมีความจริงแบบที่ 3 ที่สำคัญมาก ก็คือ
3. Inter-Subjective Reality ความจริงแบบจิตวิสัย"ร่วม"
เป็นความเชื่อที่มีคนเชื่อว่าเป็นจริง เป็นจำนวนมากๆ
ตัวอย่างคือ เงินตรา ที่มีคนจำนวนมาก (แทบทั้งโลก) เชื่อว่ามันมีค่า แม้ว่าตัวมันเองจะเอาไปกินไมไ่ด้ แต่มันเอาไปแลกของกินได้ ตราบเท่าที่ประเทศของคุณยังไม่ล่มจม แต่ถ้าวันนึงเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้นและประเทศอื่นไม่เชื่อถือประเทศของคุณอีกต่อไป เงินกระดาษในมือคุณก็จะหมดค่าทันที
นอกจากเงิน กฏหมาย หรือแม้แต่ พระเจ้า ก็เป็น Inter-Subjective Reality เช่นกัน
มันคือการสร้างความเชื่อขึ้นมา และทุกๆคนก็ร่วมกันทำให้ความเชื่อนั้น ซับซ้อนยิ่งขึ้น
มีหลายๆสิ่งรอบตัวเรา เช่น การจัดงานแต่งงานในโบสถ์ การถือศีลอด การงดเหล้าเข้าพรรษา การทำกิจกรรมเหล่านี้มันมีความหมายกับเรา เพราะพ่อแม่ของเราเชื่อ เพื่อนของเราเชื่อ และคนอื่นๆก็เชื่อ
แล้วเหตุที่คนอื่นๆเชื่อ นั่นก็เพราะเห็นคนอื่นๆเชื่ออีกทอดหนึ่ง จึงเกิดเป็นวงจรที่ซับซ้อนขึ้น จนยากที่เราจะปฏิเสธความเชื่อนี้ อย่างที่ชอบพูดกันว่า "ไม่เชื่อ อย่าลบหลู่"
อย่างไรก็ตาม วงจรเหล่านี้เกิดขึ้นมา แล้วก็ผ่านไป แล้วก็จะเกิดวงจรใหม่ๆขึ้นมาเป็นระยะๆในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์ชาติ
ในช่วงสงครามครูเสด จอห์น ผู้ซึ่งเชื่อในพระเจ้า เชื่อว่ามีสวรรค์ นรก และชีวิตหลังความตาย การที่ได้ตายในสงครามครูเสดนั้น คือเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่จอห์นและครอบครัวของจอห์นนั้นเชื่อ
แต่ครั้นเมื่อจอห์นไปถึงสนามรบ และเผชิญหน้ากับศัตรูชาวมุสลิม
นักรบมุสลิมคนนั้นก็เชื่อในการมีอยู่ของสวรรค์ นรก และชีวิตหลังความตาย เช่นเดียวกันกับจอห์น ต่างกันเพียงแค่ทั้งคู่เชื่อในพระเจ้าคนละองค์
แล้วใครกันเป็นฝ่ายถูก สิ่งไหนคือเรื่องจริง
ข้ามเวลามาที่ปัจจุบัน เรื่องราวของจอห์นอาจเป็นเพียงแค่บทหนึ่งที่ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์เท่านั้นเอง มัน "จริง" ในช่วงเวลาของจอห์น
ถ้าลองมีใครในยุคปัจจุบัน พูดว่าจะไปออกรบเพื่อจะช่วงชิงดินแดนศักสิทธิ์ คนๆนั้นคงโดนหาว่า "บ้า" อย่างแน่นอน
ทั้งๆที่เขาคนนั้นก็เชื่อ ในแบบเดียวกันกับจอห์นและนักรบมุสลิม
ความเชื่อเหล่านี้เอง (ความจริงแบบจิตวิสัยร่วม) ทำให้ Sapiens ปกครองโลกได้
เงิน ศาสนา กฏหมาย ที่มีอยู่ในจินตนาการ กลับมีความหมายมากเสียจนทำให้ผู้คนก่อสงครามและฆ่ากันได้
สิ่งนี้เองที่ทำให้ไม่มีสัตว์ชนิดใดมาสู้กับมนุษย์ได้ เพราะพวกมันขาดจินตนาการ
และเมื่อเวลาผ่านไป ความเชื่อ ความหมายของชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบัน เทพเจ้า ศาสนา กำลังเสื่อมความนิยมลง ในขณะที่ความเชื่อในประชาธิปไตย ความเท่าเทียมกัน และสิทธิมนุษยชน กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ในอนาคตอันใกล้ อาจมีความเชื่อในรูปแบบใหม่ๆที่มนุษย์ในปัจจุบันคาดไม่ถึง เกิดขึ้นในไม่ช้าก็เป็นได้
โฆษณา