1 ก.ค. 2020 เวลา 04:59 • ข่าว
แผนที่และชื่อประเทศจีนเหนือพื้นที่พิพาท ตั้งใจให้ดาวเทียมส่องเห็น
ปัญหาพิพาทระหว่างจีน-อินเดียดูเหมือนจะไม่จบลงง่าย ๆ เมื่อสองฝ่ายมองเขตแดนไม่เหมือนกัน แม้การเจรจาทางการทหารจะผ่านมาแล้ว 3 ครั้งด้วยกันนับตั้งแต่เหตุปะทะนองเลือดเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา
แม้ทางรัฐบาลอินเดียจะออกมาอธิบายว่าปัจจุบันเขตแดนระหว่างสองประเทศยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และอินเดียยังไม่สูญเสียเขตแดนใด ๆ ให้กับคู่ขัดแย้ง
แต่ดูเหมือนว่าข้อความดังกล่าวดูจะขัดแย้งกับการสำรวจทางด้านแผนที่ดาวเทียมของสำนักข่าวและผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงที่ระบุว่าพื้นที่พิพาทบางส่วนที่อินเดียอ้างอธิปไตยอยู่นั้น ปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของจีนแล้ว โดยเฉพาะในพื้นที่ทะเลสาบปานกง
โดยอินเดียแบ่งทะเลสาบปานกงออกเป็น 8 นิ้วตามแนวเทือกเขา โดยอินเดียอ้างอธิปไตยเหนือแนวเขาทั้ง 8 นิ้ว แต่จากภาพถ่ายทางดาวเทียมของหลายสำนักนักยืนยันว่าปัจจุบันอาณาเขตตั้งแต่นิ้วที่ 4 - 8 ของเทือกเขานั้นตกอยู่ภายใต้จีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (จีนอ้างเขตตัวเอง ถึงนิ้วที่ 4 ของเทือกเขาดังกล่าว)
เส้นแสดงพื้นทีที่อินเดียและจีนอ้างสิทธิ
ทั้งนี้ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาทางการอินเดียออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าวเสมอมาโดยย้ำว่าข้อมูลของสำนักข่าวต่าง ๆ ไม่สามารถยืนยันได้ว่าสถานการณ์ในพื้นที่แท้จริงเป็นเช่นใด
แม้หลายสำนักข่าวของทางอินเดียเองจะมีการจัดทำภาพวิวัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตลอดมาว่าก่อนหน้านี้ในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีฐานทัพใด ๆ อยู่ แต่ปัจจุบันกลับมีสิ่งก่อสร้างของจีนอยู่
ทั้งนี้ผู้เสนับสนุนบางคนออกมาปฏิเสธว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นเป็นของจีน แต่แท้จริงแล้วเป็นของกองทัพอินเดีย
ภาพถ่ายแคมป์ทหารของจีนในเขตพื้นที่พิพาท
แต่ล่าสุดไม่รู้ว่าเพราะข้อถกเถียงนี้ดังมากไปหรือไม่ จนไปเข้าหูทางกองทัพจีน ส่งผลให้ล่าสุดสำนักข่าวของอินเดียได้มีการเผยแพร่ภาพถ่ายทางดาวเทียมชุดใหม่ออกมา
น่าสนใจว่าบริเวณพื้นที่ซึ่งคาดว่าถูกจีนยึดครองไปนั้นมีการ "วาดแผนที่และชื่อประเทศจีนด้วยภาษาจีนขึ้น" เหมือนจีนจะตั้งใจทำขึ้นเพื่อให้ดาวเทียมถ่ายมาเห็น
เรียกได้ว่าเป็นการแก้เผ็ดอินเดียที่แสบสรรพอสมควร แถมยังประกาศกร้าวให้เห็นชัด ๆ ว่าตอนนี้พื้นที่บริเวณนิ้วที่ 4-8 ของแนวเทือกเขาเหนือทะเลสาบปานกงที่อินเดียอ้างสิทธินั้น อยู่ในการจัดการของจีนเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ภาพถ่ายดาวเทียมยังถ่ายให้เห็นแคมป์ทหารจำนวนมากในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงบังเกอร์ และท่าเทียบเรือที่จีนสร้างขึ้นมาใหม่หลังพิพาทกับอินเดียอย่างหนักหน่วงอีกด้วย
ภาพท่าเรือจีนที่สร้างในเขตทะเลสาบปานกง
ที่มา สำนักข่าวเอ็นดีทีวี

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา