Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่าน ฟัง สอบครูผู้ช่วย
•
ติดตาม
2 ก.ค. 2020 เวลา 15:44 • การศึกษา
หลักการศึกษา ความหมายของการศึกษา Education
มาตรา 4 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542
การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสื่อสารทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัด สภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
จอห์นดิวอี้ ได้ให้ความหมายของการศึกษาไว้ดังนี้
1 การศึกษาคือชีวิตไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต
2 การศึกษาคือความเจริญงอกงาม
3 การศึกษาคือกระบวนการทางสังคม
4 การศึกษาคือการสร้างประสบการณ์แก่ชีวิต
หลักในการจัดการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542
มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (ความมุ่งหมาย)
มาตรา 7 ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้
1 เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2 ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3 การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
มาตรา 9 การจัดระบบโครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลัก ดังนี้
1 มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2 มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3 มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท
4 มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5 ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆมาใช้ในการจัดการศึกษา
6 การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
มาตรา 15 การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ 2 ระดับคือ
1 การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
2 การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น ในการกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหา และหลักสูตร จะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3 การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
มาตรา 16 การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ
1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดไม่น้อยกว่า 12 ปี
2 การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือระดับต่ำกว่าปริญญาและระดับปริญญา
มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้
1 จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2 ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3 จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
4 จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้ สัดส่วนสมดุลการปลูกฝังค่านิยมที่ดีไว้ทุกรายวิชา
5 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมี ความรอบรู้
6 จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาทุกเวลาทุกสถานที่
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร ตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
กพฐ.กำหนดและเห็นชอบ
1 บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
วิชาการศึกษา
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย