2 ก.ค. 2020 เวลา 16:51 • การศึกษา
ปรัชญาแนวคิดทฤษฎีการศึกษา
ปรัชญาหมายถึง ความเชื่อหรือแนวคิดที่รวบรวมรายละเอียดต่างๆของโลกและสิ่งมีชีวิตทั้งหมด พยายามหาคำตอบที่เป็นจริง ที่เป็นนิรันดร์ สามารถอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ โดยใช้วิธีทางตรรกวิทยา ในการค้นหาความจริง ซึ่งเป็นวิธีคิดอย่างมีเหตุมีผลเนื้อหาของปรัชญาเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคตามสมัยแล้วแต่จะสนใจเรื่องใดหรือปัญหาอันจะก่อให้เกิดต่อมนุษยชาติ
ปรัชญาแบ่งออกเป็น 3 สาขาคือ
1 อภิปรัชญาหรือภววิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความจริงเพื่อค้นหาความจริงอันเป็นที่สุด เกี่ยวกับธรรมชาติ จิตวิญญาณ รวมทั้งเรื่องของพระเจ้าอันเป็นบ่อเกิดของศาสนา
2 ญาณวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความรู้ ศึกษาธรรมชาติ บ่อเกิด ขอบเขต ของความรู้ จากแหล่งต่างๆ หรือเป็นความรู้ที่เกิดจากการพิจารณาเหตุและผล หรือได้จากการสังเกต
3 คุณวิทยา ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่านิยม ความดี ความงาม มีเกณฑ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
3.1 จริยศาสตร์ ได้แก่คุณค่าแห่งความประพฤติ หลักแห่งความดีและความงาม
3.2 สุนทรียศาสตร์ ได้แก่คุณค่าความงามทางศิลปะ ซึ่งสัมพันธ์กับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ตัดสินได้ยากและเป็นอัตนัยเป็นคุณค่าภายนอก
ปรัชญาและแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา
ปรัชญาทางการศึกษา เป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางของการจัดการศึกษาหรือเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่กำหนดให้ผู้เรียนมีลักษณะเป็นอย่างไร
1 ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม essentialism โดย William ซี แบกเลย์, มุ่งถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมและความรู้ที่จำเป็นสำหรับปัจจุบันส่งเสริมให้ผู้เรียนมีวินัยและความขยันหมั่นเพียร เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชากำหนดไว้แน่นอนตายตัว
2 ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม โดย Robert M Hutchines มีจุดเน้นหนักในเรื่องเหตุผลและสติปัญญา ต้องการปลูกฝังความเชื่อและค่านิยมที่ดีแก่ผู้เรียน มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ
3 ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม คือการก้าวหน้า เปลี่ยนแปลง ไม่หยุดอยู่กับที่ โดย รุสโซ เน้นใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวผู้เรียน แทนแนวคิดการศึกษาคือชีวิต ไม่ใช่เตรียมตัวเพื่อชีวิต สอนให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดแก้ปัญหา ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง หลักสูตรเน้นประสบการณ์ แก่ผู้เรียนที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นำไปใช้ แก้ปัญหาต่างๆ
4 ปรัชญา การศึกษาบูรณาการนิยมหรือปฏิรูปนิยม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 แนวคิดเน้นการศึกษาเพื่อสังคม เป็นสำคัญคือผู้เรียนไม่ได้มุ่งพัฒนาตนเองอย่างเดียวแต่เพื่อความรู้พัฒนาสังคมให้ดีขึ้นจุดมุ่งหมายการศึกษาคือการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นำความรู้มาช่วยแก้ปัญหาสังคมและสร้างสังคมใหม่ เน้นสังคมเป็นหลักผู้เรียนต้องเข้าใจสภาพของสังคมและมองเห็นแนวทางแก้ไขปัญหาของสังคมปัจจุบัน ยึดหลักสูตรเป็นแกน
5 ปรัชญาการศึกษา อัตถิภาวนิยม แนวคิด มนุษย์คือ เสรีภาพ มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาความเป็นมนุษย์ของตนเองอย่างเต็มที่รู้จักใช้เสรีภาพในการเลือกกระทำสิ่งต่างๆ โดยมีความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือก มุ่งเน้นผู้เรียนมีเสรีภาพเป็นผู้เลือกสิ่งที่จะเรียนด้วยตนเอง
6 พุทธปรัชญาการศึกษา
โดย ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรีช การศึกษาจะต้องมุ่งพัฒนา โลภ โกรธ หลง, ความมุ่งหมายของการศึกษาตามแนวพุทธปรัชญาของ ศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี
1 การจัดการศึกษาเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คนแต่ละคนไม่เหมือนกันเปรียบเสมือนดอกบัว 4 เหล่า
2 การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริม การมีส่วนร่วมและการแบ่งปัน
3 การจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
4 วิธีสอนแม่บทสำหรับโรงเรียนต้องใช้วิธีการแห่งปัญญา คือสอนตามหลักอริยสัจ 4 ซึ่งตรงกับวิธีการแก้ปัญหาแบบวิทยาศาสตร์
อริยสัจ 4
1 ทุกข์ คือความทุกข์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิต
2 สมุทัย คือเหตุแห่งทุกข์
3 นิโรธ คือ ความดับทุกข์
4 มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ขั้นของอริยสัจ 4
1 ขั้นทุกข์ ชีวิตนี้เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง
2 ขั้นสมุทัย สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เกิดทุกข์
3 ขั้นนิโรธ การดับทุกข์
4 ขั้นมรรคหนทางดับทุกข์
ขั้นของวิธีการแห่งปัญญา ( วิทยาศาสตร์)
1 การกำหนดปัญหา
2 การตั้งสมมติฐาน
3 การทดลองและเก็บข้อมูล
4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา