6 ก.ค. 2020 เวลา 15:07 • การศึกษา
แนวคิด ทฤษฎี ทางการศึกษา
1 จอห์นดิวอี้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ช่วยเหลือให้คำปรึกษา การเรียนรู้ที่เกิดจากการกระทำ Learning by doing
2 สกินเนอร์ การเรียนรู้แบบการกระทำและการเสริมแรง ทั้งบวกและลบ
3 ครุสโซ เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว การให้การศึกษาแก่เด็กต้องทำความเข้าใจธรรมชาติของเด็กเสียก่อน
4 ธอร์นไดค์ ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง ลองผิดลองถูก เน้นสิ่งเร้า กับการตอบสนอง
กฎแห่งการเรียนรู้
1 กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ จะทำให้การกระทำนั้นๆถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง
2 กฎแห่งผล เป็นคนที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุด ช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรม มากขึ้น แต่การทำโทษ หรือความผิดหวังจะลดอาการแสดงพฤติกรรมนั้นลง
3 กฎแห่งความพร้อม ความพร้อมของร่างกาย ที่จะแสดงพฤติกรรมใดออกมา
5 ฟรอเบล บิดาของการอนุบาลศึกษา การพยายามดึงความสามารถที่มีอยู่ภายในของเด็กออกมาและช่วยให้เด็กตระหนักถึงความสามารถของตนเอง
6 เปสตาลอซซี เชื่อว่าการศึกษาธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน พัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม การจัดการศึกษาให้แก่เด็ก ควรรวมถึงการพัฒนาร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ
7 มาเรียมอนเตสซอรี่ แพทย์หญิงคนแรกผู้คิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ขึ้นครั้งแรก คนผมว่าเด็กต้องการการกระตุ้นและจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ให้ความสำคัญกับการศึกษาทางด้านสัมผัส เป็นรากฐานของการพัฒนาทางสติปัญญา และยังให้ความสำคัญกับสายสัมพันธ์ระหว่างบ้านและโรงเรียน
8 เบนจามินบลูม จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ออกเป็นหมวดหมู่ตามความยากง่าย
1 พุทธิพิสัย ความรู้ที่เกิดจากความจำ ซึ่งเป็นระดับล่างสุด ความเข้าใจ การประยุกต์ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า วัดได้และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิดประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
2 จิตพิสัย การรับ การตอบสนอง การให้ค่านิยม การจัดรวบรวม และการพัฒนาลักษณะนิสัยจากค่านิยม
3 ทักษะพิสัย ขั้นรับ ขั้นเตรียม ขั้นฝึกหัด ขั้นทำได้ ขั้นชำนาญ
9 โรเบิร์ตกาเย่ แนวความคิด 9 ประการ ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ ในลักษณะการเรียนการสอนจริง 1 เร้าความสนใจ 2 บอกวัตถุประสงค์ 3 ทบทวนความรู้เดิม 4 นำเสนอเนื้อหาใหม่ 5 ชิ้นแนะแนวทางการเรียนรู้ 6 กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ 8 ทดสอบความรู้ใหม่ 9 สรุปและนำไปใช้
10 เพียเจต์ พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา 4 ลำดับขั้น ระยะที่ 1 ขั้นของการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อในช่วงอายุแรกเกิดถึง 2 ปี พัฒนาการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อ ระยะที่ 2 ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผลหรือการคิดก่อนปฏิบัติการช่วงอายุ 2-7 ปี พัฒนาการเชาว์ปัญญา เน้นการเรียนรู้และเริ่มมีพัฒนาการทางภาษาสามารถพูดได้เป็นประโยค ระยะที่ 3 ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปประธรรม ช่วงอายุ 7-11 ปี สามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น สามารถสร้างจินตนาการในความคิด เดินเข้าใจเกี่ยวกับการคงสภาพ มีความสามารถในการคิดเปรียบเทียบ สามารถสร้างกฎเกณฑ์เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมเป็นหมวดหมู่ มีความสามารถในการเรียงลำดับสามารถคิดย้อนกลับได้ ระยะที่ 4 คิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม ช่วงอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ เป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระ ไม่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง รู้จักใช้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
11 บรุนเนอร์ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม ขั้นที่ 1 แรกเกิดถึง 2 ขวบ พัฒนาการทางสติปัญญา ใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้ การสัมผัส ขั้นที่ 2 ใช้ความคิด ถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ จากการมองเห็นสัมผัส การนึก การสร้างจินตนาการ ขั้นที่ 3 ขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ คิดถึงเหตุผลหรือการแก้ปัญหา
12 อัลเบิร์ตบันดูรา การเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวอยู่เสมอ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา