7 ก.ค. 2020 เวลา 15:21 • การศึกษา
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ จะมีกระบวนการเรียนรู้ จากไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ 5 ขั้นตอน
1มีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล
2 บุคคลสัมผัสสิ่งเร้าด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
3 บุคคลแปลความหมายหรือรับรู้สิ่งเร้า
4 บุคคลมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้า
5 บุคคลประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า
การเรียนรู้ไม่ใช่วุฒิภาวะแต่การเรียนรู้อาศัยวุฒิภาวะ
วุฒิภาวะคือระดับความเจริญเติบโตสูงสุดของพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม แล้วสติปัญญา
การเรียนรู้เกิดได้ง่ายถ้าสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน
การเรียนรู้แตกต่างกันตามตัวบุคคลและวิธีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
1 ทฤษฎีกลุ่มสัมพันธ์ต่อเนื่อง
2 ทฤษฎีกลุ่มความรู้ความเข้าใจ
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
1 พาฟลอฟ ทดลองกับสุนัข สั่นกระดิ่งน้ำลายไหล
2 วัตสัน พฤติกรรมนิยม ทดลองเด็กเล่นกับหนูขาว
3 ธอร์นไดค์ การลองผิดลองถูก เชื่อมโยง ผลการตอบสนอง กฎ 3 ข้อของธอร์นไดค์ 1 กฎแห่งการฝึกหัด หรือทำซ้ำ 2 กฎแห่งผล 3 กฎแห่งความพร้อมของร่างกาย
4 สกินเนอร์ ทฤษฎีการวางเงื่อนไข แบ่งพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบคือ 1 พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เช่นการกระพริบตา น้ำลายไหล 2 พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด เช่นกินนอนพูดเดินทำงาน
การปรับพฤติกรรม เสริมแรง เท่ากับเพิ่มการเกิดพฤติกรรม ลงโทษเท่ากับลดการเกิดพฤติกรรม
5 ทฤษฎีกลุ่มเกสตัลท์ การรับรู้ การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เก่าและใหม่ นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหา
6 ทฤษฎีสนามของเลวิน การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ Life Space ของบุคคลเป็นสิ่งเฉพาะตัว ครูต้องหาวิธีทำให้ตัวครูเข้าไปอยู่ใน Life Space ของผู้เรียนให้ได้
7 ทฤษฎีการเรียนรู้ของโคเลอร์ การเรียนรู้ด้วยการหยั่งเห็น ใช้ลิงในการทดลอง การเรียนรู้เกิดจากการหยั่งเห็นและการหยั่งเห็นที่เกิดขึ้นต้องอาศัยประสบการณ์เดิมที่มีมาอยู่ก่อนนำมาแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ใหม่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา