7 ก.ค. 2020 เวลา 16:58 • การศึกษา
การวัดและการประเมินผลทางการศึกษา
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักพื้นฐาน 2 ประการคือ การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และเพื่อตัดสินผลการเรียน มี 4 ระดับ
1 การประเมินระดับชั้นเรียน
2 การประเมินระดับสถานศึกษา
3 การประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษา
4 การประเมินระดับชาติ o-net NT
การวัด เป็นกระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์แทนปริมาณหรือคุณภาพของคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่ต้องการวัด
หลักการวัดผลการศึกษา
1 ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ตรงวัตถุประสงค์ จุดประสงค์
2 เลือกใช้เครื่องมือที่ดีและเหมาะสม
3 ระวังความคลาดเคลื่อน
4 ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง
5 ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า
การประเมินผล
เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการวัด เป็นการประเมินตัดสินมีการกำหนดเกณฑ์ชัดเจน
จุดมุ่งหมายของการวัดผลและการประเมินผลการศึกษา
1 เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลและประเมินผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดตอนใด
2 วัดเพื่อจัดอันดับ เปรียบเทียบกับตนเองกับผู้อื่น
3 วัดเพื่อวินิจฉัย มีจุดหมายเพื่อหาความบกพร่องของผู้เรียนว่าวิชาที่เรียนนั้นมีจุดบกพร่องตอนใด
4 วัดเพื่อเปรียบเทียบ เปรียบเทียบตนเอง หรือดูความงอกงามของเด็ก เปรียบเทียบผลก่อนเรียน และหลังเรียน
5 เพื่อทำนายอนาคตต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร
6 วัดเพื่อประเมินผล หลักสูตร หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
ปรัชญา ทดสอบเพื่อค้นและพัฒนา สมรรถภาพของมนุษย์
สถิติเบื้องต้นในการวัดผลเพื่อประเมินผล
1 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลรวมของข้อมูลทั้งหมดหารจำนวนของข้อมูลทั้งหมด
2 ค่ามัธยฐาน ค่าที่อยู่ตรงกลางเมื่อนำข้อมูลมาเรียงจากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อย
3 พิสัย นำข้อมูลที่มีค่าสูงสุด ลบกับข้อมูลที่มีค่า ต่ำที่สุด
4 ฐานนิยม ค่าของคะแนนที่ซ้ำกันมากที่สุด
5 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วัดการกระจายที่สำคัญทางสถิติเป็นค่าที่บอกถึงการกระจายของข้อมูลได้ดีกว่าค่าพิสัยและส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย
6 เปอร์เซ็นไทล์ เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลตัวหนึ่งกับข้อมูลทั้งหมดว่ามีข้อมูลที่มีค่าต่ำกว่าข้อมูลนั้นคิดเป็นร้อยละเท่าไร
คุณภาพของข้อสอบ
1 การหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
2 ความเป็นปรนัยของข้อสอบ
3 ค่าความยากง่าย ค่าความยากจะมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 ถ้า P เข้าใกล้ 1 แสดงว่าข้อสอบนั้นง่าย ถ้า P เข้าใกล้ 0 แสดงว่าข้อสอบมันยาก
4 อำนาจจำแนก เป็นคุณสมบัติที่บ่งบอกถึงความสามารถของข้อสอบที่จำแนก เด็กเก่ง เด็กอ่อน มีค่า D เป็นตัวดัชนีบ่งให้ทราบว่า ข้อสอบมีอำนาจจำแนกสูง ก็เป็นข้อสอบที่ดี ค่าดัชนีอำนาจจำแนก มากกว่า 0.40 มีอำนาจจำแนกสูงมาก ดีมากนำไปใช้ได้ ถ้าน้อยกว่า 0.00 ไม่มีอำนาจจำแนก ควรตัดทิ้งสร้างข้อสอบใหม่
5 ค่าความเชื่อมั่น
-ระดับห้องเรียน ต้องมีค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบที่ควรสูงกว่า 0.60
-ระดับโรงเรียน ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบควรสูงกว่า 0.70
-ระดับประเทศ ค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบ ควรสูงกว่า 0.80
แบบทดสอบที่ดี ต้อง...
1 ความเที่ยงตรงสำคัญที่สุด
2 ความเชื่อมั่น เป็นความคงเส้นคงวาของคะแนน วัดแต่ละครั้ง ได้ผลเชื่อถือได้ ผลเท่าเดิม
3 ความเป็นปรนัย ตรวจให้คะแนนได้ตรงกัน แปลความหมายของคะแนนได้ตรงกัน
4 ความยากง่าย
5 อำนาจจำแนก
6 ความมีประสิทธิภาพ ถูกต้องเชื่อถือได้
7 ความยุติธรรม ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้เปรียบเสียเปรียบกัน
8 คำถามลึก วัดความเข้าใจ
9 คำถามยั่วยุ ท้าทาย
10 จำเพาะเจาะจง ไม่กว้างเกินไป

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา