14 ก.ค. 2020 เวลา 21:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โรงไฟฟ้า(จะ)มาหา..นะเธอ
ตอนที่ 1 : โรงไฟฟ้ามา (เธอ) รู้สึกอย่างไร?
Cr : freepik.com
คุณคิดถึงอะไร?
เมื่อ........คุณได้ยินคำว่า “ไฟฟ้า”
หรือเมื่อ..คุณได้ยินคำว่า “โรงไฟฟ้า”
เชื่อได้เลย..แว๊บแรกของคำว่า “โรงไฟฟ้า”
สำหรับชาวบ้าน..
ออกจะเป็นในเชิง...พร้อมจะ”ตั้งการ์ด”
(การ์ดไม่ตก..ด้วย😊)
แต่....
สำหรับนักลงทุน..อาจมองเป็น”โอกาส”
ทุกครั้งที่มีข่าวของการมีโรงไฟฟ้า หุ้นมักจะขานรับ😊
สำหรับชาวบ้าน..(อีกรอบ😀)
มันเป็นความรู้สึก”ย้อนแย้ง” อีกแบบนึง..(มั้ย)
ที่เราอยากใช้ ”ไฟฟ้า” เพื่อความสะดวก..
แต่ไม่ค่อยสบายใจนัก..เมื่อมี “โรงไฟฟ้า” ใกล้บ้าน
ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น หล่ะ??
คำตอบ คือ “ความเชื่อใจ” ครับ
ความเชื่อใจ คือ “ต้นทุน” ในการมีโรงไฟฟ้าครับ
วันนี้มีตัวอย่างของการมีโรงไฟฟ้า (โมเดล)
ที่ยั่งยืนในระดับชุมชน..มาฝากกันครับ
Cr : frrepik.com
หมู่บ้านที่มีประชากร 2,500 คน แต่ผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 9 เมกกะวัตต์
จาก solar cell + กังหันลม + การหมักของเสีย
พลังความร้อนใต้พิภพ + พลังน้ำ
เหลือใช้..ก้อขายครับ..
หมู่บ้านนี้ชื่อ wildpodsried อยู่ไม่ไกลจากเมืองมิวนิค : เยอรมันนี
ขออนุญาตนำเสนอ link นี้เลยครับ
(เพื่อนๆของเราใน BD นี่เองครับ😉) 👏👏👏
กลับมาที่ “ความเชื่อใจ”
อะไรคือความเชื่อใจ ในการมีโรงไฟฟ้า?!!
1️⃣ เรื่องสิ่งแวดล้อมต้องไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน และมีผลต่อชาวบ้าน
- อากาศ น้ำ เสียง กลิ่น
- อาชีพที่ดำเนินอยู่ต้องไม่กระทบ
หรืออาจสร้างชีพใหม่ที่ดีกว่า..เช่นขายไม้โตเร็ว เพื่อเป็นเชื้อเพลิง
2️⃣ เทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ต้นทุนอาจสูงขึ้นบ้าง แต่จะช่วยตอบข้อที่ 1 ได้
(เวลาจะทำให้เทคโนโลยีด้านนี้ถูกลง เช่น solar cell)
3️⃣ กติกา หลักเกณฑ์ที่ชัดเจน รวมถึง Grid Code
- ขนาด ที่ตั้งของโรงไฟฟ้า การ zoning
- เชื้อเพลิง วัตถุดิบ ของโรงไฟฟ้า (ถ้าเป็นแสงแดด ลม ก้อฟรี)
4️⃣ การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนรอบๆโรงไฟฟ้าอย่างแท้จริง
- การความรู้สึกที่ได้เป็นเจ้าของ..จะทำให้ทุกอย่างยั่งยืน
หากเงื่อนไข..เหล่านี้ครบ
ในมุมมองส่วนตัวผม..เราก้อไม่ต้องกังวลใจอะไรครับ
-
-
-
หากไม่ครบ..(ในมุมมองผม)ก้อควรทำให้ครบครับ😊
เพราะ “ความเชื่อใจ” เป็นสิ่งที่ต้องลงทุน
ผมเชื่อว่า “เทคโนโลยี” สามารถตอบทุกคำถามได้
เมื่ออยู่ในวิถีที่มีความ”เชื่อใจ + สร้างความเชื่อมั่น”
เป็นองค์ประกอบ รวมถึงการจัดการที่ดี และธรรมาภิบาล
-
-
-
เมื่อวาน 14 กรกฎาคม ไม่มีเรื่อง “โรงไฟฟ้าชุมชน”
นำเข้าในที่ประชุม ครม.
แต่อีกไม่นาน “โรงไฟฟ้าชุมชนฐานราก” ก้อจะเข้ามา
อยู่ในระบบ Grid ของประเทศไทย..ตามแผน PDP2018
และเมื่อถึงเวลานั้น...ก้อจะเข้าสู่โหมด..
“โรงไฟฟ้า(จะ)มาหา..นะเธอ”
เพื่มนิดครับ..ในความเป็นจริงด้านนึง โรงไฟฟ้า 1 โรงในพื้นที่
ก่อให้เกิดจ้างงาน..ไม่น้อยเลยครับ..
โรงไฟฟ้า ควรมีหน้าที่แบบ “Give and Give “
ไม่ใช่ Give and Take แต่เป็นการ Give..
- Give ความสว่าง
- Give การสร้างงาน
- Give สิ่งแวดล้อมที่ดี
- Give อะไรๆ ให้คนในชุมชน
สำหรับผม..
ต้องหาโอกาส หยอดตังค์ “ใส่กระปุก”
เพื่อไปเยี่ยมชม การจัดการโรงไฟฟ้าที่เมือง Wildpodsried
กันซักคราแล้ว😉
Guten morgen !!!
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา