16 ก.ค. 2020 เวลา 06:04 • การศึกษา
รู้จัก 3 เครื่องมือเก็บเงินเพื่อวัยเกษียณ
รู้จัก 3 เครื่องมือเก็บเงินเพื่อวัยเกษียณ
บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จัก เครื่องมือทางการเงินที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นแผนเก็บเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเก็บออมอย่างต่อเนื่องในวัยทำงานจนถึงวันที่เกษียณอายุ เงินเกษียณที่ได้รับ มีทั้งรับเป็นเงินก้อนเงินบำเหน็จในวันเกษียณ หรือ รับเป็นเงินบำนาญรายงวด เป็นรายได้ประจำอย่างต่อเนื่องตลอดวัยเกษียณ
หลายคนวางใจว่าจะเป็นคนที่เกษียณสบาย อย่างมีความสุขแน่นอน เพราะได้เก็บเงินไว้แล้ว แต่แผนที่ใช้ อาจจะมีรอยรั่วบางอย่าง เรามาเรียนรู้เพื่ออุดรอยรั่วเหล่านั้นกันค่ะ
เรารวบรวมมาได้ 4 วิธีที่นิยมกัน คือ
1.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (PVD)
2.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF)
3.กองทุนชราภาพของประกันสังคม
4.ประกันบำนาญ
ประกันสังคม | PVD | RMF
ซึ่งเราจะพูดคุยถึง 3 วิธีแรก สำหรับคนที่ทำงานประจำและคนที่ต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อให้เห็นภาพรวมว่ากองทุนเหล่านี้จะทำให้เราเตรียมเงินได้ประมาณเท่าไหร่ เพียงพอหรือยัง และ ควรออมเพิ่มอีกไหม
ส่วนประกันบำนาญนั้น สำหรับท่านที่สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านบทความ "ทำไมจึงควรเลือกประกันบำนาญเป็นแผนเกษียณ" คลิ๊ก 👇
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (PVD)
💰 การออมผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (PVD)
วิธีนี้เป็นของพนักงานที่สังกัดบริษัทเอกชนที่มีขนาดใหญ่ บริษัทมีการจัดตั้งกองทุนรวมให้กับพนักงาน เพื่อสร้างความมั่นคงในการออมเพื่อวัยเกษียณ รวมถึงจูงใจให้พนักงาน ทำงานกับองค์กรเป็นเวลานานขึ้น เพราะบริษัทจะมีข้อกำหนดว่าต้องทำงานอย่างน้อยกี่ปี จึงจะได้เงินส่วนสมทบนี้ และสามารถโอนย้ายเงินในกองทุนเดิม ไปกองทุนที่ใหม่ได้ กรณีเปลี่ยนที่ทำงาน เพื่อให้การออมมีความต่อเนื่อง เก็บเงินได้เป็นเงินก้อนใหญ่ไปถึงวัยกษียณ
ข้อดี คือ มีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ เพราะหักจากเงินเดือนทุกเดือน ก่อนจะนำเงินเดือนออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เป็นการเก็บก่อนใช้ โดยหักเป็น % ที่เราเลือกไว้ ส่วนที่บริษัทสมทบ จะเท่ากับ หรือ มากกว่าส่วนที่เราเลือก หลายคนจึงเลือกหักเป็น %ฐานสูง หากสามารถทำได้ ความต่อเนื่องนี้ ทำให้สามารถสร้างเงินเป็นก้อนใหญ่ได้
เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF)
💰 ออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (RMF)
2
กลุ่มคนที่ใช้วิธีนี้ คือ พนักงานประจำที่ยังมีความสามารถในการออมอยู่และต้องการสิทธิทางภาษี รวมถึงคนที่ทำงานอิสระแต่มีการวางแผนเรื่องเตรียมเงินเกษียณ และต้องการสิทธิลดหย่อนภาษีซึ่งรัฐพุ่งเป้าไปที่คนกลุ่มนี้ ต้องการจูงใจให้มีการออมเงิน จึงให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้นมา
แต่วิธีนี้ อาจจะไม่มีวินัยในการออมต่อเนื่อง เพราะข้อบังคับเรื่องภาษี สามารถออมปีเว้นปีได้ และ ขั้นต่ำเพียงปีละ 5,000 บาท บางคนมองแค่การลดภาษี ไม่ได้ตั้งใจออมเพื่อเกษียณอย่างแท้จริง ไม่ได้ออมต่อเนื่อง ก็จะทำให้เก็บเงินไม่เพียงพอ ที่จะใช้ในยามชราภาพ
เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
💡ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม จากนักวางแผนการเงิน💡
🚦ทั้ง 2 กองทุนที่กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ว่าจะเป็นกองทุนที่ลงทุนในระยะยาว ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะต้องบริหารจัดการ ทางผู้ลงทุนจะต้องคอยตรวจสอบความเป็นไปของพอร์ตการลงทุนด้วย เพื่อให้มีการลงทุนในความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นไปตามเป้าหมายของเรา
🚦กรณีลาออกจากงาน หากไม่โอนย้าย PVD ไปที่ทำงานใหม่เพื่อออมต่อ แล้วถอน PVD ออกมา เงินก้อนนี้ก็จะไม่ใช่เงินออมเพื่อเกษียณ เพราะเรานำมาใช้ในวัยทำงานไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่นหมดแล้ว
🚦เงินที่ได้รับคืนในวัยเกษียณอายุครบอายุ 55 ปีหรือ 60 ปี ในรูปแบบเงินก้อน มีความเสี่ยง 2 รูปแบบ คือ
📑เสี่ยงที่จะใช้เงินก้อนหมดในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากปัญหาสุขภาพ หรือ การใช้เงินผิดพลาด
☝️สามารถโอนย้ายความเสี่ยงโดยการทำประกันสุขภาพ และ ประกันบำนาญแบบมีรายได้ประจำไปจนถึงอายุ 85 ปี หมดกังวลเรื่องเงินก้อนหมดกระทันหัน
☝️แต่การทำประกันต้องมีการวางแผนล่วงหน้าคือสมัครทำประกันมาตั้งแต่ช่วงวัยทำงาน
📑ความเสี่ยงในการหาผลตอบแทนโดยที่เงินต้นยังปลอดภัย เราจะต้องหาที่ฝากหรือลงทุนให้เงินก้อนนี้งอกเงย หรือถอนใช้ได้ในแบบที่จะหมดช้าที่สุด ซึ่งการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตร ที่ความเสี่ยงต่ำ เป็นที่พึ่งของคนวัยเกษียณในยุคปัจจุบัน อาจจะพึ่งพาไม่ได้อีกต่อไปในอนาคต เพราะแนวโน้มการให้ผลตอบแทนต่ำลงเรื่อยๆ
หากเรามีความรู้ด้านการลงทุน เราสามารถใช้วิธีซื้อกองทุนรวมเอาไว้ได้ แต่ก็จะต้องมีการบริหารจัดการ เราจะใช้วิธีนี้ได้แค่ช่วงเกษียณวัยต้นเท่านั้น (60-70) เมื่อเราอายุมากขึ้น คงไม่สะดวก คล่องตัว ที่จะดูแลเงินด้วยวิธีแบบนี้ ก็ต้องย้ายเงินออมไปไว้ในพันธบัตร หรือ เงินฝากออมทรัพย์ เพื่อความปลอดภัยของเงินต้น
☝️หมดกังวัลเรื่องการบริหารผลตอบแทนของเงินก้อนวัยเกษียณได้โดยแบ่งเงินออมบางส่วนมาออมในประกันบำนาญแบบมีรายได้ประจำตั้งแต่วัยทำงาน
ประกันสังคม (Social Security)
💰ออมผ่านกองทุนประกันสังคม
2
โดยเงินที่เราหักเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ส่วนหนึ่งจะนำไปสะสมเข้ากองทุนชราภาพ ซึ่งหากประสงค์จะสร้างเงินบำนาญรายเดือนด้วยกองทุนชราภาพของประกันสังคม ต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังนี้
- เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา หรือผู้ประกันตนมาตรา 39
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพ
เงินออมชราภาพที่ได้รับนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ "เงินบำเหน็จ" ที่จ่ายเป็นก้อนใหญ่ครั้งเดียว กับ "เงินบำนาญ" ที่จะทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต โดยเราไม่สามารถเลือกเองได้ว่าจะรับเป็นบำเหน็จหรือบำนาญ แต่จะขึ้นอยู่ระยะเวลาส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามเงื่อนไข คือ
1. บำเหน็จชราภาพ : จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน หรือ 15 ปี โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
- จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบเท่านั้น
- จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้บำเหน็จเท่ากับเงินที่เราจ่ายสมทบ บวกกับเงินที่นายจ้างสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนที่ประกันสังคมกำหนด
2. บำนาญชราภาพ : จ่ายสมทบมากกว่า 180 เดือน หรือ 15 ปี จะติดต่อกันหรือไม่ก็ได้
เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน แม้ว่าจะหยุดส่งไปช่วงหนึ่งแล้วกลับมาเข้าระบบประกันสังคมใหม่ หรือส่งติดต่อกัน 15 ปีก็ตาม จะมีสิทธิ์รับบำนาญเท่ากับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานเงินเดือนสูงสุดที่คิดคือ 15,000 บาท)
แต่ถ้ามีการจ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน ก็จะได้บำนาญบวกเพิ่มขึ้นไปอีก 1.5% ทุก ๆ 12 เดือน หรือ 1 ปี เช่น จ่ายเงินสมทบ 30 ปี ก็จะได้รับบำนาญเป็น 20% + (1.5% x 15 ปี) เท่ากับ 42.5%
เครดิตภาพจากสำนักงานประกันสังคม
เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องประกันสังคม
เรียนรู้วิธีคิดบำนาญชราภาพได้จาก www.money.kappok.com
ตารางตัวอย่างการคำนวณเงินบำนาญ จากจำนวนปีที่จ่ายเงินสมทบและเงินบำนาญที่ได้รับ
เครดิตภาพจาก www.krungsri.com
💡ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม จากนักวางแผนการเงิน💡
🚦ปริมาณเงินบำนาญที่ได้รับรายเดือน ไม่พอต่อการเลี้ยงชีพ ควรมีการออมในรูปแบบอื่นเสริมด้วย
🚦หากเลือกรับเป็นเงินบำนาญ ก็จะไม่ได้สิทธิ์ค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคมอีกต่อไป
🚦เมื่อลาออกจากงานและไม่ได้กลับไปทำงานบริษัทอีก และยื่นเป็นผู้เอาประกันตนมาตรา 39 ฐานการคำนวณเงินบำนาญชราภาพจะลดลงมาก
จะได้เงินบำนาญเต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ต่อเมื่ออยู่ในมาตรา 33 จนถึงวันสิ้นสุดสมาชิกภาพ
💡เมื่อรู้จักทั้ง 3 เครื่องมือเก็บเงินวัยเกษียณแล้ว ลองสำรวจตัวเราดูค่ะว่า จะทำงานอีกกี่ปี และ จะต้องใช้เงินวัยเกษียณเป็นจำนวนเท่าไหร่ ที่ออมมาแล้ว เป็นเงินเท่าไหร่ ต้องออมเพิ่มอีกเท่าไหร่ และวางแผนการจัดการรายรับรายจ่าย แผนการออมเงินทันทีค่ะ เพราะ "เงินทองต้องวางแผน" ค่ะ
ติดตามบทความอื่นๆของ เงินทองต้องวางแผน ได้ที่
ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา