1 ส.ค. 2020 เวลา 17:50 • ประวัติศาสตร์
รถถังมีชีวิต ...ช้างบรรทุกปืน ถ้าวันนี้โลกมีรถถังสุดล้ำอย่าง Challenger 2 , 350 ปีก่อนกองทัพสยามก็เคยมี "ช้างบรรทุกปืนใหญ่" (1)
ถ้าวันนี้ Challenger 2 มีChobham armourเกราะเหล็กและวัสดุสูตรลับพิเศษ
ป้องกันตัวถังในการรบ อันยอดเยี่ยม
RC TANK BRITISH CHALLENGER 2
เอ่อ คือว่าคือ แต่ ช้าง เป็นสัตว์กลัวไฟ ?
แต่ก็...แทบไม่น่าเชื่อ
ทหารกองทัพสยาม ทำได้ (2)
ฝึกให้ช้างทนต่อเสียงปืนดังข้างหู ตูม! ตูม! > ได้!
ฝึกช้างให้ทนร้อน>ได้! ,
ทนไฟ>ได้ ! WoW
เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เขาใช้ทีมงานใด หลักสูตรใดไปติดตามกัน
(1)
พงศาวดารพม่า ที่ได้บันทึกถึงช้างศึกของฝ่ายอยุธยา ไว้ว่า
“ช้างนั้นคลุมเกราะเหล็กถึงหน้าอก และแต่ละตัวยังมีปืนใหญ่”
รวมถึงหลักฐานวัตถุโบราณปืนใหญ่หลังช้างอีกหลายชิ้นที่หลงเหลืออยู่
น่าเป็นหลักฐานที่อ้างอิงได้ดีว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีช้างบรรทุกปืนใหญ่
หรือเรียกกันว่า “ช้างปืนใหญ่”
ปืนใหญ่ขนาดลำกล้องกลาง คือการนำปืนหล่อสัมฤทธิ์ขนาดเล็ก น้ำหนักตั้งแต่ ๕๐-๑๐๐ กิโลกรัม ขึ้นตั้งบนแท่น ผูกติดบนเสลี่ยงหลังช้างศึกที่สามารถนำพา และเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็ว ช้างปืนใหญ่ถูกวางกำลังไว้ด้านหลังแนวรบ
จากยานพาหนะ สู่ยานรบ
ช้าง ม้า วัว เกวียน คือยานพาหนะที่ใช้ในบรรทุกเสบียงอาหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย แต่สำหรับในพื้นที่ป่าเขา ทุรกันดาร และห่างไกลแล้ว ช้าง
ถือเป็นยานพาหนะหลักที่ใช้
ช้าง ยังได้รับเกียริตสูงส่งเป็นยานพาหนะของกษัตริย์ ในการขี่รบต่อสู่กับข้าศึก
จนกลายเป็นที่มาของ สงครามยุทธหัตถีครั้งเเรก ในประวัติศาสตร์ไทย
ดังศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำเเหง ว่า
“กูต่อช้างด้วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน ตัวชื่อมาสเมืองแพ้
ขุนสามชนพ่ายหนี”
ออกศึกข้านึกแต่รบ แต่รบ
สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีทำศึกสงครามกับพม่าถึง 24 ครั้ง ทั้งฝ่ายสยามและฝ่ายพม่าต่างฝึกฝนช้างเป็นอย่างดี ให้เป็น “ ช้างศึก ”เต็มรูปแบบ สามารถทำการรบได้
หลายยุทธวิธี
- บุกแนวพลเดินเท้า และพลม้าของข้าศึกให้ระส่ำระสาย
 
-บุกทำลายข้าศึกร่วมไปกับกองทหาร เสมือนรถถังประจัญบาน
- แปลงร่างเป็นรถถัง ด้วยการนำช้างขึ้นตั้งบนแท่น ผูกติดบนเสลี่ยงหลังช้าง
 เพื่อยิงต่อสู้ทำลายได้ในแนวสูง หรือแนวกว้างมากขึ้น
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระแก้ววังหน้า
และช้างจึงได้กลายเป็น "รถถังมีชีวิต" สันนิษฐานว่า ยุทธวิธี "ช้างปืนใหญ่ "
เริ่มใช้ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ครั้งที่เริ่มมีทหารโปรตุเกสรับจ้างในกองทัพสยาม
ในคราวเสียกรุงครั้งที่ 1 นั้น พระเจ้าบุเรงนองแห่งกองทัพพม่า เน้นการทำสงครามแบบป้อมค่ายประชิดในรูปแบบพื้นเมือง คือ ทำเนินดินและก่อสร้างหอเพื่อนำ
ปืนใหญ่ไปตั้งให้อยู่ในระดับสูง หรือ นำปืนใหญ่มาใส่หลังช้าง
ให้ปืนใหญ่เคลื่อนย้ายที่ได้สะดวก มีอำนาจในการยิงทำลายกำแพงเมือง
และสามารถระดมยิงแนวสูงเข้าไปในเมือง เพื่อกดดันให้ยอมจำนน
ในคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 พงศาวดารพม่าได้ระบุว่า “…ฝ่ายพระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ทรงทราบว่ากองทัพพม่ายกมาทางเมืองเชียงใหม่ .....พระองค์ก็จัดให้
พระยาสุรเทพอมาตย์เปนแม่ทัพคุมพลทหารราบ 30000 เศษ
ปืนใหญ่บรรทุกล้อ
แลปืนใหญ่บรรทุกช้างรวม 2000 กระบอกเศษ ......”
ต่อมาใน ปี พศ. 2418-2430 ชาวจีนฮ่อ ซึ่งเป็นกอง
กำลังชาวจีนที่หลงเหลือจากเหตุการณ์กบฏไต้ผิงในจีน เข้ามาก่อความไม่สงบในจังหวัดหนองคาย เวียงจันทร์และหลวงพระบาง ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครอง
ของสยาม
ภาพช้างบรรทุกปืนใหญ่ ของกำลังพลมณฑลพิษณุโลก กำลังมุ่งสู่นครหลวงพระบาง ในการปราบฮ่อครั้งแรก ยืนด้านหน้าคือ ทหารมารีน
รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าให้ยกกองทัพที่ประกอบด้วยทหารมารีน ทหารราบ
ทหารปืนใหญ่ พร้อมช้างปืนใหญ่ ไปทำการต่อสู้ปราบจีนฮ่อลงได้
ช้างศึกออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับกองทัพสยามมาตลอด และช้างปืนใหญ่ ก็เป็น
กำลังที่สำคัญมาก หลักฐานทั้งงานบันทึกและภาพถ่ายระบุได้ว่า
รถถังมีชีวิต มีชีวิตมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
โดยสงครามปราบฮ่อนี้เอง น่าจะเป็นครั้งสุดท้าย ของการรบด้วยช้างบรรทุกปืน
(2)
“...ช้างนั้นกลัวไฟเป็นอย่างยิ่ง ดูไม่มีทางที่มันจะคุ้นกับไฟได้เลย
แม้กระนั้น ชาวสยามก็ยังต้องฝึกใช้ช้าง ให้บรรทุกปืนไฟย่อม ๆ ขนาดยาว
สัก ๓ ฟุต ใช้กระสุนหนักราวลูกละ ๑ ปอนด์ไปบนหลัง
และฝึกให้เห็นการยิงปืนไฟบนหลังของมันอยู่”
ข้อความจากจดหมายเหตุลาลูแบร์ดังกล่าว ระบุให้เห็นอีกครั้งว่า
ช้างเป็นสัตวกลัวไฟ ไม่ว่าสมัยใด แต่ช้างจึงยังถูกฝึกให้เป็น ช้างปืนใหญ่
ได้ตลอดสมัยอยุธยา
เรื่องนี้ขอยกเครดิตให้กับ 3 ปัจจัย
ไปติดตามกันได้ EP 2 รถถังมีชีวิต ...ช้างบรรทุกปืน
ด้วยจิตอนุรักษ์
.........กวีธารา........
กวีธารา เป็นร้านค้าแนวอนุรักษ์ ขายโปสการ์ด ถุงผ้าภาพเพ้นท์ ภาพลิขสิทธิ์
งาน Hand Made และ รับสั่งทำถ อยู่ตลาดน้ำลัดมะยมโซน 7 กทม. Line 7709601
โปสการ์ด ภาพลิขสิทธิ์ของ กวีธารา
มีบทความอื่น ๆ ที่ทางเรา กวีธารา ตั้งใจเขียน รวบรวมเช่นกันนะคะ
หากสนใจติดตามได้ที่ https://www.blockdit.com/kaweetara
ช้างบรรทุกปืน #ช้างศึก #ตำราคชศาตร์ #จตุรงคเสนา #พลช้าง
#พระนารายณ์มหาราช #พระเพทราชา #ปืนใหญ่ #ชาวกูย #ชาวส่วย #รถถัง
#ช่วยช้าง #ช้างศึก #ช้างหลวง
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่อ้างอิง
-เอกสารประกอบการสอนวิชาประวัติศาสตร์ทหารกรมยุทธการทหารบก๕๐

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา