19 ก.ค. 2020 เวลา 14:32 • หุ้น & เศรษฐกิจ
หุ้น A ราคา 100 บาท อาจเป็นหุ้นที่ถูกกว่า หุ้น B ราคา 1 บาท เพราะอะไร?
คำถามที่ว่าหุ้น A ราคา 100 บาทต่อหุ้น กับ หุ้น B ราคา 1 บาทต่อหุ้น แปลว่าหุ้น A เป็นหุ้นที่แพง กว่า หุ้น B เสมอไปหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่ใช่” ครับ แล้วเพราะอะไรมาหาคำตอบกันได้เลย
นักลงทุนมือใหม่ที่เข้ามาในตลาดหุ้นครั้งแรก รวมถึงผมด้วย มักจะหาซื้อหุ้นราคาเทรดกันน้อย ๆ อาจจะ บาท 2 บาท ต่อหุ้น ไปจนถึงไม่กี่สตางค์ต่อหุ้น เพราะคิดว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ถูก เช่น หุ้น B ราคาแค่ 1 บาท เราซื้อเพียง 100 บาท ก็ได้มาตั้ง 100 หุ้น ดูแล้วเหมือนเราจะได้เยอะใช่ม๊า แต่ความจริงแล้วเราคิดผิดครับ!
Cr.: freepik
เพราะเราต้องดูกำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share : EPS) ของแต่ละบริษัทว่าเป็นอย่างไร สมมุติถ้าเราต้องการผลตอบแทนที่ 30 บาทต่อปี เราต้องมาเทียบกันว่าบริษัท A และ B ทำกำไรต่อหุ้นเท่าไหร่ต่อปี
ถ้าบริษัท A ทำกำไรต่อหุ้นเป็น 15 บาทต่อปี เราจะซื้อหุ้น A เพียง (30/15 =) 2 หุ้น ซึ่งมีราคาหุ้นละ 100 บาท เพราะฉะนั้นเราต้องซื้อหุ้น A เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ 30 บาทต่อปี เป็นเงิน 2*100 = 200 บาท
ถ้าบริษัท B ทำกำไรต่อหุ้นเป็น 0.1 บาทต่อปี เราจะซื้อหุ้น B (30/0.1 =) 300 หุ้น ซึ่งมีราคาหุ้นละ 1 บาท เพราะฉะนั้นเราต้องซื้อหุ้น B เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ 30 บาทต่อปี เป็นเงิน 300*1 = 300 บาท
จะเห็นได้ชัดว่าหุ้น A ถูกกว่า หุ้น B ซึ่งค่าที่ดูว่าหุ้นถูกหรือแพงนั้น เรียกว่า ค่า "P/E" (Price/ Earnings Per Share) หรืออัตราส่วนระหว่างราคาหุ้น (P) กับ ผลกำไรต่อหุ้นในระยะเวลา 1 ปี (E)
3
เรามาดูค่า P/E ของแต่ละบริษัทกัน หุ้น A ค่า P/E = 100/15 = 6.67 เท่า ขณะที่ หุ้น B ค่า P/E = 1/0.1 = 10 เท่า
ตารางเทียบแบบง่าย ๆ
*P/E เท่าไร ถึงจะเรียกว่าถูกหรือแพง เราก็อาจเอา P/E ของหุ้นที่สนใจไปเทียบกับ เทียบกับ P/E ของหุ้นทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน หรือเทียบกับหุ้นที่มีลักษณะธุรกิจคล้ายกัน*
เช่น หุ้น S เป็นหุ้นพลังงาน ราคา 1 บาทต่อหุ้น มีค่า P/E 11.12 เท่า เมื่อเทียบกับ P/E ของหุ้นทั้งตลาดเท่ากับ 19.3 และเทียบกับ P/E ของหุ้นทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันเท่ากับ 27.69 เพราะฉะนั้นหุ้น S ถือว่าเป็นหุ้นที่ถูกครับ
P/E หุ้น S เทียบกับ P/E ของหุ้นทั้งตลาด และ P/E ของหุ้นทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดียว
แต่ถึงอย่างไรในการวิเคราะห์หุ้นที่เราจะตัดสินใจซื้อนั้น เราจำเป็นต้องดูค่าอื่นประกอบ เช่น P/BV, ROA, ROE เป็นต้น หรือแม้กระทั่งดูความสามารถ วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร แพลนของบริษัทในอนาคตว่าจะทำอะไรต่อไปและจะส่งผลดีต่อบริษัทอย่างไร
อ้างอิง
- หนังสือตีแตก เขียนโดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
จบแล้วครับ ช่วยกดไลท์ แชร์ ติดตามเพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบทความต่อไปด้วยนะครับ😊✌️
โฆษณา