25 ก.ค. 2020 เวลา 14:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ิทำไมหุ้นบางตัวถึงมี P/BV สูงลิ่ว
ก่อนที่เราจะมาหาคำตอบ มาดูความหมายของ P/BV กันก่อนนะครับ
P/BV Ratio หรือ Price to Book Value อธิบายง่าย ๆ ว่า เป็นการเปรียบเทียบระหว่าง "ราคาหุ้น ณ ตอนนี้ (P)" กับ "ส่วนมูลค่าทางบัญชี (BV) คือ ราคาหุ้นที่เจ้าของกิจการลงทุน"
นักลงทุนบางคนอาจให้ความสนใจและซื้อหุ้นที่มีค่า P/BV ต่ำกว่า 2 เท่า หรือ ต่ำกว่า 1 เท่า (ถ้าซื้อหุ้นที่ P/BV <1 ถือว่าซื้อถูกกว่าเจ้าของ) โดยหุ้นที่มี P/BV มากกว่า 4-5 เท่า เขาจะไม่สนเลย ซึ่งที่จริงแล้ว เราควรดูค่าอื่นประกอบด้วยครับ เช่น P/E, ROE, ROA หรือดูจนกระทั่งทัศนวิสัยของผู้บริหาร แพลนธุรกิจในอนาคตว่าจะมีประโยชน์ต่อบริษัทอย่างไร
หุ้นบางตัวที่มีค่า P/BV ที่สูงลิ่วนั้น (บางตัวถึง 10 เท่า) ก็เพราะว่าบริษัทมีสิ่งที่เรียกว่า "ค่าความนิยม" เป็นสิ่งที่บริษัทสร้างขึ้นมาจากการทำธุรกิจ จากการที่ขายสินค้าจนกระทั่งชื่อสินค้า หรือยี่ห้อติดตลาด ทำให้ชาวบ้านอย่างเรา ๆ เรียกกันติดปาก ได้ยินกันติดหู และไม่มีใครที่ไม่รู้จักแบรนนั้น ๆ
Cr.: freepik, pixabay
ตัวอย่างหุ้นที่เรารู้จักกันดี และมีค่าความนิยมสูง
เช่น ADVANC เป็นบริษัทสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด เรารู้จักกันดีในชื่อ AIS โดย ณ วันที่ 24/7/63 ADVANC มีค่า P/BV สูงถึง 8.51 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ย P/BV ของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เพียง 2.33 เท่า จะเห็นได้ว่า ค่า P/BV ของ ADVANC สูงกว่ากลุ่มถึง 4 เท่า แต่มีค่า P/E ที่ต่ำกว่าดังรูป
CPALL เป็นบริษัทที่มีธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุด ภายใต้เครื่องหมายการค้ามากมาย ที่เรารู้จักกันดี อย่างร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven , Makro และ Lotus ที่ล่าสุด CPALL ได้ร่วมถือหุ้นกับเครือ CP โดย ณ วันที่ 24/7/63 CPALL มีค่า P/BV สูงถึง 6.17 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ย P/BV ของกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เพียง 3.06 เท่า จะเห็นได้ว่า ค่า P/BV ของ CPALL สูงกว่ากลุ่มถึง 2 เท่า แต่มีค่า P/E ที่ต่ำกว่าดังรูป
"ค่าความนิยม" ของบริษัทเหล่านี้ ไม่สามารถร่ายมนต์เสกมาในชั่วพริบตาได้ บริษัทต้องผลิตสินค้าอย่างมีคุณภาพ ต้องโฆษณา ประชาสัมพันธ์ติดต่อกันมานานนับเป็นสิบ ๆ ปี และต้องเสียเงินเป็นค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล
หมายเหตุ หุ้นที่นำมายกตัวอย่างไม่ได้แนะนำชวนให้ซื้อนะครับ การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจ
จบแล้วครับ ช่วยกด 👍 ❤️ ติดตาม เพื่อเป็นกำลังใจในการเขียนบทความต่อไปด้วยนะครับ🥰
อ้างอิง
หนังสือ ตีแตก เขียนโดย ดร.นิเวศ เหมวชิรวรากร
โฆษณา