11 ส.ค. 2020 เวลา 11:00 • ประวัติศาสตร์
อยู่ทนอยู่นาน! เผด็จการ 'เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส' แห่งฟิลิปปินส์ อยู่ได้นานเพราะอะไร? แล้วมีจุดจบยังไง!
WIKIPEDIA CC BLUEMASK
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส อดีตประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ ที่ดำรงตำแหน่งผู้นำของประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 - 1986 รวมระยะเวลากว่า 21 ปี ที่ฟิลิปปินส์ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของนายมาร์กอส ผู้นำจอมเผด็จการที่เต็มไปด้วยเรื่องราวฉาวโฉ่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตคอรัปชั่นเป็นจำนวนเงินมหาศาลราว 5 - 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การใช้อำนาจรัฐกดขี่ข่มเหงประชาชนและคุกคามสิทธิเสรีภาพของสื่อในยุคที่เขายังมีอำนาจในมือ
ในช่วงที่นายมาร์กอสยังเป็นผู้นำประเทศ ได้เกิดการขยายอิทธิพลของแนวคิดคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากจีนแผ่นดินใหญ่ รัฐบาลจีนในตอนนั้นได้ให้การสนับสนุนอาวุธและเงินทุนให้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลของนายมาร์กอส รวมถึงข่าวลือเรื่องการก่อรัฐประหาร เรียกได้ว่าสภาพบ้านเมืองของฟิลิปปินส์ในสมัยนั้นระส่ำระสายอย่างหนัก สถานการณ์เริ่มบานปลายเมื่อเกิดเหตุระเบิดในช่วงการปราศรัยของพรรคฝ่ายค้านที่จัตุรัสมิแรนด้าในปี ค.ศ.1971 ด้วยเหตุนี้เอง นายมาร์กอสจึงประกาศยกเลิกข้อบังคับทางวิธีพิจารณาความอาญา (Writ of Habeas Corpus) เพื่อให้ฝ่ายรัฐบาลมีอำนาจในการจับกุมผู้ต้องสงสัยผู้ต้องสงสัยโดยไม่ต้องมีหมายศาล ซึ่งเป็นเหตุให้รัฐบาลของนายมาร์กอสสามารถจับกุมผู้เห็นต่างทางการเมืองได้เป็นจำนวนมาก จนนำมาสู่การต่อต้านอย่างกว้างขวางของชาวฟิลิปปินส์ในสมัยนั้น
WIKIPEDIA PD
ต่อมานายมาร์กอสจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกในปี ค.ศ.1972 โดยอ้างว่ากระทำไปเพื่อการควบคุมความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยในช่วงเวลาดังกล่าว นายมาร์กอสได้ใช้อำนาจในการครอบงำเสรีภาพของสื่อมวลชนภายในประเทศ รวมถึงแก้ไขรัฐธรรมเพื่อเอื้ออำนาจให้แก่ตนและพวกพ้องเป็นระยะเวลานานกว่า 9 ปี
1
หลายปีต่อมา แกนนำพรรคคอมมิวนิสต์ได้ประกาศว่าฝ่ายตนอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ระเบิดในครั้งนั้น ด้วยจุดประสงค์ให้นายมาร์กอสประกาศใช้กฎอัยการศึก เพื่อบีบให้ประชาชนหันมาเข้าร่วมกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ แต่กลับกลายเป็นว่านายมาร์กอสสามารถรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้ไม่ยาก พร้อมกับจัดตั้งตำรวจลับเพื่อคอยสอดส่องและกำจัดฝ่ายตรงข้าม นายมาร์กอสได้ยกเลิกรัฐสภาและปิดกั้นสิทธิเสรีภาพของสื่อ
WIKIPEDIA CC BLUEMASK
แน่นอนว่าในช่วงแรกของการประกาศใช้กฎอัยการศึก ประชาชนชาวฟิลิปปินส์จำนวนไม่น้อยต่างแสดงความยินดี เพราะพวกเขามองว่าประเทศจะกลับมาสงบสุขอีกครั้ง เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามและฝ่านค้านได้ลี้ภัยออกนอกประเทศ ปัญหาอาชญากรรมก็น่าจะลดลง แต่เมื่อเวลาผ่านไป รัฐบาลเผด็จการของนายมาร์กอสก็เริ่มก่อปัญหามากมาย เช่นการทำวิสามัญฆาตกรรมโดยคนในกองทัพฟิลิปปินส์มากถึง 3,257 คดี มีคนถูกซ้อมทรมานกว่า 70,000 คน และมีรายงานคนถูกบังคับให้สูญหายถึง 737 คน ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวกินระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ.1975 - 1985
แม้จะมีข้อกล่าวหามากมายในเรื่องการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ การทุจริตคอรัปชั่น และการละเมิดสิทธิมนุษย์ชนอย่างร้ายแรง แต่สถานะทางการเมืองของนายมาร์กอสยังคงมั่นคง เนื่องจากมีรายงานว่า GDP ของประเทศฟิลิปปินส์เติบโตอย่างก้าวกระโดดจาก 8พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี ค.ศ.1972 เป็น 32.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ.1980 ที่อาจพูดได้ว่านี่คือหนึ่งในข้ออ้างของนายมาร์กอสในการดำรงตำแหน่งผู้นำของประเทศต่อไป กล่าวคือ ถ้ารัฐบาลเผด็จการนายมาร์กอสสามารถทำให้เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ดี ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นและปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนย่อมเป็นสิ่งที่ยอมรับได้
WIKIPEDIA PD
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปี ค.ศ.1979 ได้เกิดปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำลง รัฐบาลเผด็จการของนายมาร์กอสเริ่มถูกโจมตีจากปัญหาหนี้สาธารณะที่ก่อตัวเพิ่มมากขึ้นที่เกิดจากการกู้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาโครงสร้างภายในประเทศที่ตามมาด้วยปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น จนทำให้นายมาร์กอสต้องประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในอีกหนึ่งปีต่อมา พร้อมกับประกาศเลือกตั้งในปี ค.ศ.1981 แต่พรรคฝ่ายค้านได้ทำการบอยคอตต์ไม่ลงเลือกตั้ง นายมาร์กอสจึงชนะการเลือกตั้ง และได้เป็นประธานาธิบดีต่อไป
ในปี ค.ศ.1983 นายเบนิญโญ่ อาคิโน่ นักการเมืองฝ่ายค้านที่ลี้ภัยไปอยู่สหรัฐฯ ได้เดินทางกลับมาที่ฟิลิปปินส์เพื่อหวังลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในสมัยหน้า แต่กลับถูกลอบสังหารที่สนามบิน จนสร้างความโกรธแค้นให้กับประชาชน ต่อมาในปี ค.ศ.1986 นายมาร์กอสจึงประกาศยุบสภา และจัดการเลือกตั้งใหม่ นางคอราซอน อาคิโน่ ภรรยาของนายเบนิญโญ่ นักการเมืองฝ่ายค้านประกาศลงเลือกตั้งเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่นายมาร์กอสยังคงชนะการเลือกตั้ง ท่ามกลางเสียงครหาว่าเขาโกงการเลือกตั้ง จนสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนชาวฟิลิปปินส์ จนนำมาสู่การลุกฮือประท้วงครั้งใหญ่
WIKIPEDIA PD
การชนะการเลือกตั้งของนายมาร์กอสในครั้งนั้น ไม่ได้รับการยอมรับจากสมาคมโลก แม้กระทั่งสหรัฐอเมริกาที่ได้ชื่อว่าเป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการของนายมาร์กอสก็ไม่ยอมรับ ผู้นำทางการเมืองและการทหารของฟิลิปปินส์ก็ไม่ให้การยอมรับด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าหันไปทางไหนก็ไม่มีใครเอาด้วย สุดท้ายนายมาร์กอสจึงต้องลี้ภัยทางการเมืองไปยังสหรัฐอเมริกา ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตระหว่างทางที่โฮโนลูลู เกาะฮาวาย ซึ่งในขณะนั้นทางการของฟิลิปปินส์กำลังดำเนินเรื่องอายัดทรัพย์สินและดำเนินคดีการทุจริตของนายมาร์กอสระหว่างการดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำของประเทศอีกด้วย
WIKIPEDIA PD
เรียกได้ว่านี่คือบทสรุปที่จบไม่สวยของนายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จอมเผด็จการแห่งฟิลิปปินส์ที่ครองอำนาจมานานกว่า 21 ปี
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
WIKIPEDIA FAIR USE

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา