#หมอมิชชั่นผู้อื้อฉาว...หมอชีคมีชื่อจริงว่า ดร.มาเรียน อลองโซ ชีค( Dr.Marion Alonzo Cheek) เป็นนายแพทย์หนุ่มที่ ดร.แมคกิลวารี มิชชันนารีประจำ ภาคเหนือชวนให้มาทำงานที่ประเทศไทย
เมื่อหมอชีคเข้ามาอยู่ไม่นานได้แต่งงานกับ ซารา บรัดเลย์ลูกสาวหมอบรัดเลย์และได้กลับขึ้นมาอยู่ที่เชียงใหม่และมีศักดิ์เป็นน้องเขยของ ดร.แมคกิลวารี
หมอชีคมีความชำนาญความสามารถ เป็นหมอที่มีฝีมือรู้ภาษา และ รู้จักผู้คนดี จึงเป็นที่นิยมชื่นชอบของชาวเชียงใหม่ แต่ลักษณะนิสัยประจำตัว ของหมอชีคเป็นคนที่ไม่ยอมรับนับถือผู้ใดผู้หนึ่ง ชอบตามใจตัวเอง หมอชีคไม่ชอบอธิบาย หรือ ขอโทษ ถ้ามีเรื่องกับใคร จึงเป็นที่มาของการไม่ถูกกันกับ เขยผู้พี่ เพราะครั้งหนึ่งหมอชีคไปผ่าต้ดไส้เลื่อนที่ฮ่องกง โดยที่ไม่บอกดร.แมคกิลวารี ความจริงแล้ว หมอชีคเป็นคนที่ให้ความสนใจในด้านการค้าขาย
มากกว่าการรักษาคน ซึ่งจากบันทึกของ วิลเลี่ยม บรัดเลย์เล่าว่า ปี พ.ศ.2427 หมอชีคได้ยุติการเป็นหมอ และ เริ่มจับงานค้าไม้ เขาไม่มีเงินทุน แต่บริษัทบอร์เนียว ให้หมอชีคทำสัญญากับบริษัท 3 ปี
และ บอร์เนียว ให้เงินทุนเพื่อที่ ชีค จะดำเนินงานของตนได้ ต่อมาชีคได้พบกับหลุยส์ เลียวโนเวน เป็นเพื่อนในการค้าขายไม้ด้วยกัน จึงทำให้การค้าขายไม้เจริญรุ่งเรือง และ ร่ำรวยขึ้นเป็นอย่างมาก
บริตสโตว์เล่าว่า ชีคทำบ้านใหม่ หรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า “ฮาเร็ม” ไว้เพื่อความสุขของตัวเอง และ เพื่อนๆโดยเฉพาะชายชาวฝรั่งด้วยกัน
อยู่บริเวณหลังวัดมหาวัน บ้านนั้นทำด้วยไม้ หลังคามุงด้วยไม้สัก อย่างที่คนเชียงใหม่เรียกว่า “แป้นเกล็ด” บ้านหลังนี้สร้างไว้ใต้ร่มต้นหมาก ที่แผ่กิ่งก้านร่มรื่น และ ทำทางเข้าออกได้มิดชิด
บ้านหลังนี้ เป็นที่กล่าวขานร่ำลือ อย่างกว้างขวางในเมืองเชียงใหม่ บันทึกของบริสโตว์ อ้างถึงการสัมภาษณ์ นางแก้วนา ซึ่งเป็นคนที่เคยทำงานให้หมอชีคในสมัยนั้นว่า หมอชีคเป็นคนดีแต่ต่อมาค้าขายทำไม้ จึงลาออกจากการเป็นมิชชันนารี
ทั้งได้คนพื้นเมืองเป็นเมียหลายคน โดยเฉพาะ “โนจา”ที่ชอบทำเรื่องวุ่นวาย จึงทำให้เมียฝรั่งคือ ซารา ไม่พอใจ เพราะครั้งหนึ่ง ลูกชายหมอชีค และ ซารา ถูกปืนลั่น ใกล้ดอยสุเทพ และว่า เป็นอุบัติเหตุ ซารา จึงพาลูกกลับสหรัฐ ในขณะที่ชีค ทำการค้าไม้สักอยู่นั้น ชีคได้ตั้งโรงเลื่อยไม้ขึ้น
และ รับสร้างบ้านและงานอื่นๆ สะพาน โรงพยาบาล โรงเรียนและ บ้านพักของตัวเอง คือ คุ้มเจ้าแก้วนวรัฐ ต่อมา การค้าขายไม้ของชีคเริ่มแย่ลง และ มีเรื่องฟ้องร้องเป็นคดีความกับรัฐบาลไทยมากมายหลายคดี สุขภาพ ของหมอชีคเริ่มทรุดโทรมลง
และ ล้มป่วยในที่สุด มร.เคเล็ดซึ่งเป็นรองกงสุล และ หมอชื่อโทมัส ได้ส่งตัวกลับเพื่อไปรักษาที่สหรัฐ แต่โรคของชีค กำเริบหนัก และ เสียชีวิต
ในน่านน้ำไทยบริเวณ เกาะสีช้ง ในวันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2438 รวมอายุ 42 ปี