26 ส.ค. 2020 เวลา 14:18 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เครื่องหมายท้ายหุ้น คืออะไร
ช่วงนี้นักลงทุนอาจจะสังเกตุเห็นว่ามีเครื่องหมายต่างๆ ขึ้นที่ท้ายหุ้นเยอะเป็นพิเศษ โดยเฉพาะตัวย่อเป็น XD เพราะเป็นช่วงฤดูจ่ายปันผลระหว่างกาล ถ้าหากอยู่ๆ ก็มีเครื่องหมายตัวย่อขึ้นมาติดที่ท้ายหุ้นที่เราถืออยู่แบบนี้ แน่นอนว่า มันต้องมีความหมายอะไรสักอย่างแน่ๆ
1
ถ้าเป็นนักลงทุนมือใหม่ อาจจะยังไม่เข้าใจความหมายนั้น แต่รู้หรือไม่ อักษรย่อเหล่านั้นเป็นสิ่งที่นักลงทุนมือใหม่ต้องเรียนรู้ เพราะมันคือ “เครื่องหมาย” ที่แสดงถึง ข่าวคราวความเคลื่อนไหวของหุ้น ซึ่งบางครั้งอาจเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของนักลงทุนหรือการซื้อขายหุ้นนั้นๆ โดยจะมีเครื่องหมายอะไรบ้าง และมันหมายความว่าอย่างไร เราไปดูกันเลยค่ะ
⛳ กลุ่มที่บอกว่า "ไม่ได้รับสิทธิต่างๆ" จะเป็นตระกูล X หรือ Excluding
หมายความว่า ผู้ที่ซื้อหุ้นในวันที่ขึ้นเครื่องหมาย X ใดๆ ก็ตาม จะไม่ได้รับสิทธิในเรื่องนั้นๆ ซึ่งมีเครื่องหมาย ดังต่อไปนี้
1
XD (Excluding Dividend)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล
XR (Excluding Right)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่
XW (Excluding Warrant)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหลักทรัพย์
1
XS (Excluding Short-term Warrant)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น
1
XT (Excluding Transferable Subscription Right)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิรับใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้
2
XI (Excluding Interest)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย
XP (Excluding Principal)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิรับเงินต้นที่บริษัทประกาศจ่ายคืนในคราวนั้น
XA (Excluding All)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น
XE (Excluding Exercise)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิในการนำตราสารสิทธิไปแปลงสภาพเป็นหุ้นอ้างอิง
XM (Excluding Meetings)
👉 ผู้ซื้อไม่มีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
2
XN (Excluding Capital Return)
👉 ผู้ซื้อไม่มีสิทธิในการรับเงินคืนจากการลดทุน
XB (Excluding Other Benefit)
👉 ผู้ซื้อไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ ในกรณีต่อไปนี้
>> สิทธิจองซื้อหุ้นบุริมสิทธิ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ
>> สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ
>> สิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ที่เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท
>> สิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทในเครือ
สรุป กลุ่ม X
📌 ถ้าซื้อวันที่ขึ้นเครื่องหมาย X คือ ไม่ได้รับสิทธิ
📌 แต่ถ้าซื้อก่อนวันที่ขึ้นเครื่องหมาย X และถือจนถึงวันที่ขึ้นเครื่องหมาย X คือได้รับสิทธิ
แล้วนักลงทุนจะรู้ได้อย่างไร ว่าหุ้นจะขึ้นเครื่องหมาย X อะไร และวันไหนบ้าง?
สามารถตรวจสอบได้จาก ปฏิทินหลักทรัพย์ ในเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือไม่ก็สังเกตจากเครื่องหมาย “CA” ท้ายชื่อหุ้น ซึ่งย่อมา จาก “Corporate Action” เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้ทราบว่าหุ้นนั้นๆ กำลังจะเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นภายในระยะเวลา 7 วัน หากอยากทราบว่าเป็นเหตุการณ์ใด ให้นำเม้าส์ไปวางตรงเครื่องหมาย CA ก็จะมี Pop-up เครื่องหมายตระกูล X และวันที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นๆ
ปรากฏขึ้นมาค่ะ
⛳ กลุ่มที่ห้ามหรือเตือนให้นักลงทุนระมัดระวังในประเด็นต่างๆ ได้แก่
1
H (Trading Halt)
👉 การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว อาจเพราะมีข่าวที่ส่งผลกระทบต่อราคาหุ้น แต่บริษัทยังไม่ได้แจ้งข้อมูล หรืออยู่ระหว่างรอเปิดเผยข้อมูล หรือมีเหตุอื่นที่อาจกระทบต่อการซื้อขายอย่างร้ายแรง
1
SP (Trading Suspension)
👉 การห้ามซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับการขึ้นเครื่องหมาย H แต่บริษัทยังไม่ สามารถชี้แจงหรือเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ฯได้ หรืออาจฝ่าฝืน ละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งไม่ส่งงบการเงินให้ภายในเวลากำหนด
NP (Notice Pending)
👉 บริษัทมีข้อมูลที่ต้องรายงาน และตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างรอข้อมูลจากบริษัท
NR (Notice Received)
👉 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการชี้แจงข้อมูลจากบริษัทแล้ว
NC (Non-Compliance)
👉 บริษัทที่เข้าข่ายการถูกเพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ
ST (Stabilization)
👉 หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีการซื้อหุ้นเพื่อส่งมอบหุ้นที่จัดสรรเกิน
⛳ กลุ่มที่แสดงหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย จะเป็นตระกูล T หรือ Trading Alert จะมีอยู่ 3 ระดับ คือ
T1 (Trading Alert Level 1)
👉 ระดับ 1 Cash Balance หมายความว่า นักลงทุนต้องซื้อหลักทรัพย์ด้วยบัญชีแคชบาลานซ์เท่านั้น โดยวางเงินสดไว้กับโบรกเกอร์เต็มจำนวนก่อนซื้อหลักทรัพย์
T2 (Trading Alert Level 2)
👉 ระดับ 2 ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance หมายความว่า ห้ามโบรกเกอร์ใช้หลักทรัพย์เป็นหลักประกันในการคำนวณวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ในทุกประเภทบัญชี
T3 (Trading Alert Level 3)
👉 ระดับ 3 ห้าม Cash Balance ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และห้าม Net Settlement หมายความว่า ห้ามโบรกเกอร์หักกลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (ซื้อและขายหลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน ค่าขายคืนเป็นวงเงินในวันทำการถัดไป)
1
หวังว่านักลงทุนมือใหม่ทุกท่านคงจะจดจำและเข้าใจเครื่องหมายเหล่านี้ได้ และเตรียมการวางแผน หรือปรับกลยุทธ์ในการลงทุนให้ทันกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น เพราะยิ่งรู้และเข้าใจข้อมูลต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อมูลค่าและราคาหุ้นมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะสามารถจับจังหวะลงทุน หรือตัดสินใจลงทุนได้อย่างเหมาะสมขึ้นเท่านั้นค่ะ
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
2
และขอขอบคุณทุกการมีส่วนร่วม และการติดตามเช่นเคยนะคะ 🙏🙏😊😘

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา