7 ก.ย. 2020 เวลา 11:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โรงไฟฟ้า••มาหา••นะเธอ
ตอนที่ 6 : โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ของฟรี..ที่ธรรมชาติให้มา
หลักการ
🔅ใช้พลังงานความร้อนจากน้ำหรือ ไอน้ำจากแหล่งความร้อนใต้พิภพ
🔅ไอน้ำไปหมุนกังหันเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า
🔅ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอย่างถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ มาต้มไอน้ำ
ข้อดี : ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
🔅ปล่อยเพียง 45 กรัม ต่อไฟฟ้า 1 หน่วย : กิโลวัตต์-ชั่วโมง
🔅ปล่อย CO2 เป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน
รูปแบบของโรงไฟฟ้า : 3 รูปแบบ
1. ระบบ Dry steam
🔅เป็นระบบที่ง่ายที่สุด และเก่าที่สุด แต่ประสิทธิภาพสูงสุด
🔅ไอน้ำป้อนเข้ากังหันไอนํ้าโดยตรง ไม่ต้องผ่านหม้อไอนํ้า (ไม่ซับซ้อน)
🔅ข้อจำกัด..แหล่งความร้อนใต้พิภพแบบนี้มีไม่มาก
2. ระบบ Flash Steam
🔅เป็นที่นิยมในการใช้งานในปัจจุบัน
🔅น้ำร้อนจากแหล่งใต้ดิน มีอุณหภูมิ ไม่น้อยกว่า 182°C
🔅ไอน้ำจะไม่ป้อนเข้าโดยตรงที่กังหัน แต่ผ่าน Flash tank
3.ระบบ Binary cycle system
🔅ผลิตไฟฟ้าจากนํ้าร้อนอุณหภูมิตํ่าได้ : 57 องศาเซลเซียส
🔅ป้อนเข้าสู่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน ที่มี secondary fluid
🔅ไอน้ำไม่ได้สัมผัสกังหันโดยตรง ผ่านของเหลวอีกต่อนึง
(จึงเป็นที่มาของชื่อ binary system)
ทั่วโลกโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นอย่างไรบ้าง
ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ
26 ประเทศ กำลังผลิต 15,400 เมกกะวัตต์
2
ส่วนใหญ่จะอยู่ในแนว “วงแหวนแห่งไฟ”
อเมริกา ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
ใหญ่ที่สุดในโลก : อยู่ที่ แคลิฟอร์เนีย 1,300 เมกกะวัตต์
(เขื่อนภูมิพล 20 เขื่อน)
มากที่สุดในโลก :
อำดับที่ 1 : อเมริกา (เกือบร้อยละ 30 ของโลก)
อำดับที่ 2 และ 3 : อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
1
แล้วประเทศไทย..เราหล่ะ?
ติดตั้งในลักษณะสาธิตทดลองใช้งาน
🔅ตั้งอยู่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ : ปี 2532
🔅ขนาดติดตั้ง 300 กิโลวัตต์
🔅รูปแบบ binary system
สำหรับประเทศไทย :
ความคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ เป็นสิ่งที่จะให้โรงไฟฟ้าประเภทนี้มีหรือไม่มี..
-
-
ของฟรี..ที่ธรรมชาติให้มา
~~ พลังงานความร้อนใต้พิภพ ~~
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
ติดตามซีรีส์ โรงไฟฟ้า..มาหานะเธอ ได้ที่..

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา