25 มี.ค. 2021 เวลา 23:30 • ธุรกิจ
โรงไฟฟ้าชุมชน..มาหานะเธอ
โรงไฟฟ้า 3 win : win - win - win
ชื่อเป็นทางการ : โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (นำร่อง)
9 คำถามกับโรงไฟฟ้า..เพื่อชุมชน ในแบบถาม - ตอบ
โรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (นำร่อง)
เป็นโรงไฟฟ้า...ที่ออกแบบให้ชุมชนได้มีส่วนร่วม..
นับเป็นโรงไฟฟ้าโมเดลที่ไม่เคยมีของประเทศเรา..
-
-
ที่ประชาชนในชุมชน ผ่านวิสาหกิจชุมชนที่ได้ัดตั้งขึ้น..
ได้มีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า...
🚩วันนี้..เรามาตั้งคำถาม และ หาคำตอบกันครับ🚩
🔸คำถามที่ 1 Timeline เป็นอย่างไร?
เมษายน 2564 : ยื่นเสนอขอขายไฟฟ้าในระหว่างวันที่ 19-23
กรกฎาคม 2564 : ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
พฤศจิกายน 2564 : ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟ
ภายใน 36 เดือนหลังการลงนาม : โรงไฟฟ้าเดินเครื่องเข้าระบบ
ระยะเวลาขายไฟฟ้า 20 ปี
ผู้ได้รับคัดเลือกโครงการ : ตัดสินด้วยการแข่งขันด้านราคา (Bidding)
🔸คำถามที่ 2 เชื้อเพลิง และขนาดโรงไฟฟ้าที่จะนำมาผลิตไฟฟ้า ?
ชีวมวล (เผา) : 75 เมกกะวัตต์ ขนาดไม่เกิน 6 เมกกะวัตต์ ต่อ โครงการ
ก๊าซชีวภาพ (หมัก) : 75 เมกกะวัตต์ ขนาดไม่เกิน 3 เมกกะวัตต์
ต่อ โครงการ
พืชชีวมวล : คุณสมบัติ ไม้โตเร็ว ค่าความร้อนสูง ความชื้นต่ำ
เก็บเกี่ยวง่าย กระถิน ไผ่
หญ้าเนเปียร์ที่อายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน
พืชชีวภาพ : หญ้าเนเปียร์ (คุณสมบัติได้ทั้งเผา และ หมัก)
ขนาด 1 เมกกะวัตต์ ใช้พื้นที่ปลูกราว 1,000 ไร่
🔸คำถามที่ 3 : ชุมชน ชาวบ้านได้ประโยชน์อย่างไรกับ โรงไฟฟ้าชุมชน ?
1️⃣ เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายพืชเศรษฐกิจป้อนโรงไฟฟ้า
ผ่าน contract farming (ตรงนี้ชาวบ้านได้ประโยชน์เต็มที่)
2️⃣ เกษตรกรร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า ผ่านวิสาหกิจชุมชน
ถือหุ้นร้อยละ 10
3️⃣ ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าจะได้แบ่งปันผลประโยชน์ตามข้อตกลงกัน : MOU
(สาธารณสุข ด้านการศึกษา สาธารณูปโภคต่างๆ)
🔸คำถามที่ 4 : ในปี 2567 มีโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น..ไฟฟ้าล้นระบบหรือไม่ ?
การมีโรงไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศไทย จะมีหรือไม่มี ขึ้นอยู่กับ
แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย : แผน PDP
ดังนั้นโครงการนี้ จึงอยู่ในกรอบ ในโควต้าของแผน PDP
🔸คำถามที่ 5 : วงเงินหมุนเวียนสำหรับโครงการนี้ ตลอดโครงการ 20 ปี
1️⃣ ค่าก่อสร้าง ค่าบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า : 27,000 ล้านบาท
2️⃣ รายได้จากขายเชื้อเพลิง : 51,000 ล้านบาท
3️⃣ เกิดการจ้างงาน : 2 หมื่นกว่าตำแหน่ง
🔸คำถามที่ 6 : ตลาดหุ้น จะได้รับข่าวดีเรื่องนี้ ?
ผู้ยื่นร่วมโครงการ (ภาคเอกชน) สามารถถือครองหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 90
แรงดึงดูดของภาคเอกชน คือ สิ่งต่อไปนี้คือ
1️⃣ ชีวมวล กำลังผลิตไม่เกิน 3 เมกะวัตต์ 4.8482 บาท/หน่วย
2️⃣ ชีวมวล กำลังการผลิตมากกว่า 3 เมกะวัตต์ 4.2636 บาท/หน่วย
3️⃣ ก๊าซชีวภาพ 4.7269 บาท/หน่วย
และหากพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
และ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา จะนะ นาทวี สะบ้าย้อย เทพา
เพิ่มอีก 50 สตางค์ / หน่วย
บริษัทฯในตลาดหลักทรัพย์ หากได้คัดเลือก..แน่นอนมีผลต่อราคาหุ้น 🚩
🔸คำถามที่ 7 : โรงไฟฟ้าชุมชน ใช้ถ่านหินมาเป็นเชื้อเพลิงได้มั้ย ?
ถ่านหินไม่อนุญาตินำมาเป็นเชื้อเพลิง สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล
ในโครงการนี้ได้ 🚩
🔸คำถามที่ 8 : เรื่องมลภาวะ
ด้วยขนาดของโรงไฟฟ้ามีขนาดติดตั้งไม่เกิน 10 เมกกะวัตต์
โรงไฟฟ้าชีวมวล จึงไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม (EIA) แต่ยังคงถูกควบคุมตามกฏหมายที่กำหนดอื่นๆ
1
(กฎหมายผังเมือง โรงงาน ควบคุมอาคาร ด้านสิ่งแวดล้อม)
และการที่ชุมชนร่วมเป็นเจ้าของ..
จะเป็นอีกทางหนึ่ง ที่จะช่วย Cross Check เรื่องนี้ได้
🔸คำถามที่ 9 : โรงไฟฟ้าก่อสร้างในบริเวณเดียวกัน ใกล้กันได้หรือไม่?
Grid Capacity ของสายป้อนที่โครงการจะเชื่อมโยง เท่านั้นที่เป็นเงื่อนไข
ไม่พบประเด็นเงื่อนไขการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบริเวณใกล้ๆกัน
นั่นหมายความว่า หากสายป้อน ในบริเวณพื้นที่โครงการ รองรับ
ก้อไม่มีเงื่อนไข ที่จะไม่อนุญาตก่อสร้าง
(ต้องตรวจสอบกฏหมายผังเมือง ควบคุมอาคาร เพิ่มเติมครับ)
** ตามหลักเกณฑ์จะต้องมีหนังสือตรวจสอบจาก สนง โยธาธิการฯ ด้วย
จบโพสต์นี้ด้วย
โรงไฟฟ้าชีวมวล ชีวภาพ สำหรับประเทศไทย ไม่ใช่ของใหม่สำหรับประเทศไทย -เรามีองค์ความรู้ ตลอดจน lesson learned มากเพียงพอที่จะทำให้โรงไฟฟ้าชุมชนที่จะเกิดขึ้นนี้..อยู่ในสภาวะ win - win - win
win : ประชาชน ชุมชน
win : ภาคเอกชน
win : สิ่งแวดล้อม (การกำกับที่ดี)
โรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อชุมชน ❤️
ติดตามซีรีส์ โรงไฟฟ้า..มาหานะเธอ ได้ที่..
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
26 มีนาคม 2564
เครดิตภาพ : pixaby
อ้างอิง
ระเบียบคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน
ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก
โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง 2564)

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา