21 ก.ย. 2020 เวลา 13:20 • นิยาย เรื่องสั้น
"งานบ้านงานเรือนเป็นหน้าที่ของผู้ชาย"
ซีรีส์..อาชีพคุณพ่อบ้านตอนที่2
...บังคลาเทศไดอารี่...
...ถึงคุณผู้อ่านที่รัก...
ความเดิมตอนที่แล้ว
ฉันเคยทำงานอยู่ที่อินเดียใต้เมื่อหลายปีก่อน
ที่นั่นทำให้ฉันได้รู้จักกับผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
คนไทยด้วยกัน หรือแม้กระทั่งพ่อค้าและนักธุรกิจชาวอินเดีย
มีอยู่ครั้งหนึ่ง
ฉันได้รับเชิญให้ไปร่วมงานปาร์ตี้เล็กๆ ที่สังสรรค์กันในหมู่คนไทย ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ใหญ่ที่รู้จักคนหนึ่ง เธอเป็นสาวอีสานที่แต่งงานกับนักธุรกิจชาวอเมริกัน และสามีของเธอได้ย้ายไปอยู่ที่อินเดียและทำธุรกิจที่นั่น
เธอชื่อว่า "ป้าพร"
ป้าพรเป็นสาวใหญ่วัย 50 ปลายๆ สีผิวขาวเหลือง
รูปร่างผอมเพรียว สวยสมวัย พูดเสียงดังฟังชัด
ผู้หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวต่างชาติที่นั่น
คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับป้าพร เพราะเธอถือเป็นสาวไทยผู้ทรงอิทธิพลเลยเชียว
(เธอไม่ธรรมดาจริงๆ)
"พอเล่าถึงตรงนี้ ก็หวังว่่าคุณผู้อ่านคงไม่ได้คิดว่า
ฉันไปแต่งงานกับหนุ่มอินเดียที่นั่นหรอกนะ
(แต่ก็เกือบไปแล้ว ... คริๆ..)"
ฉันต้องไปทำงานในหน่วยงานแห่งหนึ่ง ที่อินเดียใต้ ซึ่งเป็นงานที่จะต้องพบปะกับผู้คนมากหน้าหลายตาเป็นประจำ
งานปาร์ตี้ในวันนั้น ได้จัดขึ้นที่บ้านของป้าพร
ซึ่งเป็นบ้านสวยหลังใหญ่ ในย่านนั้นจะเป็นบ้านของกลุ่มคนที่มีฐานะดี
เมื่อไปถึงงาน ก็พบว่ามีผู้หญิงไทยไปถึงที่นั่นก่อนเวลานัดหลายคน พวกเธอกำลังช่วยเจ้าของบ้านจัดเตรียมข้าวปลาอาหารอยู่
มีคนที่ฉันรู้จักอยู่ก่อนแล้วหลายคน เช่น
เชฟสาวไทยจากโรงแรมชื่อดังคนหนึ่ง และพี่ๆที่ทำงานที่เดียวกันกับฉัน
3
คนที่ยังไม่รู้จัก ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงไทยที่ติดตามสามีมาอยู่ที่อินเดีย สามีของพวกเธอทำงานเป็นผู้บริหารบริษัทต่างๆที่ต้องมาประจำการที่นี่ และผู้หญิงไทยบางคนก็พบรักและแต่งงานกับชาวอินเดียใต้ แล้วก็ได้ย้ายมาอยู่ถาวร
เมื่อทำความรู้จักทักทายทุกคนเรียบร้อยแล้ว
ฉันก็เดินเข้ามาในครัวเพื่อช่วยเหลือป้าพร
ตระเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม
1
ป้าพรกำลังง่วนอยู่กับการทำไก่อบแบบฝรั่ง
ไก่อบตัวโตๆกำลังถูกนำออกมาจากเตาอบ
กลิ่นหอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งห้องครัว
"ซาร่าไม่อยู่ทั้งคน ป้าก็จะยุ่งวุ่นวายอย่างนี้แหละ"
(ป้าพรพูดพร้อมกับจัดแจงไก่อบ และเครื่องเคียงวางลงบนถาดสแตนเลสใบใหญ่)
"ซาร่าทำงานเป็นแม่บ้านของป้าพรเหรอคะ?"
(ฉันเอ่ยถามป้าพรด้วยความสงสัย ขณะที่กำลังล้่างผลไม้หลากหลายชนิด)
" ฮ่าๆ.. ซาร่าเค้าเป็นพ่อบ้านที่นี่ ลากลับไปบ้านต่่างจังหวัดเป็นเดือนแล้ว ยังไม่กลับมาเลย
ว่าจะโทรตามกลับมาเร็วๆนี้ล่ะ ป้าทำคนเดียวไม่ไหว ไหนจะเลี้ยงลูกสมุนอีกตั้งหลายตัว"
(ป้าพรบอกกับฉันอย่างอารมณ์ดี)
" อ้าวทำไมป้าพรไม่จ้างแม่บ้านล่ะคะ
ผู้ชายอินเดียเค้าทำงานบ้าน
เป็นด้วยเหรอคะป้าพร ? "
(ฉันถามป้าพรด้วยความงุนงง)
ป้าพรได้อธิบายให้ฉันฟังว่า...
ซาร่าเป็นพ่อบ้านชาวอินเดียใต้ มาทำงานเป็นพ่อบ้านและพักอาศัยอยู่กับป้าพร โดยเขามีห้องพักส่วนตัวอยู่อีกโซนหนึ่งนอกตัวบ้าน ซาร่่ามีหน้าที่ทำงานบ้านทุกอย่าง ตั้งแต่อาบน้ำและหาข้าว
หาน้ำให้น้องหมากิน ประมาณ 3-4 ตัว
ดูแลข้าวปลาอาหารของเจ้านาย
พร้อมทั้งทำความสะอาดบ้านช่องห้องหับ
ซักผ้า รีดผ้า (ผู้ชายอินเดียรีดผ้าเรียบเริ่ดมาก)
สรุปว่่า
"ซาร่าเป็นพ่อบ้านที่ทำงานบ้านได้ทุกอย่าง
ไม่แพ้แม่บ้านที่เป็นผู้หญิงเลย"
สังคมของคนอินเดีย โดยทั่วไปผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน เลี้ยงลูกและดูแลครอบครัวอยู่ที่บ้าน ไม่ได้นิยมออกมาทำงานนอกบ้าน ผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกมาทำงาน เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว
(แต่ฉันก็มีเพื่อสาวชาวอินเดียหลายคน ที่ออกมาทำงานนอกบ้าน อาจจะเป็นเพราะพวกเธอเป็นคนรุ่นใหม่แล้ว)
ฉันเคยติดตามเจ้านาย ไปรับประทานอาหารที่บ้านของนักธุรกิจหญิงชาวอินเดียคนหนึ่ง เธอทำธุรกิจส่งออกเครื่องประดับจิวเวอร์รี่ สไตล์หรูหราภารตะ
นอกจากเป็นนักธุรกิจแล้ว เธอยังเป็นคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวที่ต้องดูแลลูกชายที่กำลังโตเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง รวมทั้งยังต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราอีกด้วย
เธอเล่าให้ฟังว่า ชีวิตของเธอค่อนข้างยุ่งเหยิงเลยทีเดียว เพราะเธอต้องบริหารจัดการเรื่องในบ้านด้วยตัวเอง
บ้านของเธอเป็นบ้านหลังใหญ่ ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นออฟฟิศทำงานของเธอ
เธอได้จ้่างพ่อบ้านชาวอินเดียคนหนึ่ง สำหรับดูแลเรื่องอาหารการกินและการจัดงานเลี้ยง เพราะเธอเป็นนักธุรกิจจำเป็นต้องจัดงานเลี้ยงอยู่เสมอๆ
แต่เนื่องจากคุณพ่อบ้านคนนี้ มีบ้านพักและครอบครัวอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน เขาจึงนั่งรถไปกลับ ไม่ได้ค้างคืนอยู่ที่นี่
"จะว่าไปเขาก็ทำหน้่าที่
เป็นพ่อครัวประจำบ้านนั่นเอง"
ส่วนเรื่องทำความสะอาดบ้าน เธอได้จ้่างบริษัทรับทำความสะอาดมาทำความสะอาดวันเว้นวัน
เพราะเธอบอกว่า
เธอไม่สะดวกที่จะจ้างคนมาอยู่ด้วยกันในบ้าน
และเธอเองก็อยากดูแลคนในครอบครัวด้วยตัวเอง
ฉันคิดว่า
"เธอเป็นสาวอินเดียที่เก่งและทันสมัยมากๆ"
ตลอดเวลาที่อยู่อินเดีย
ฉันก็จะพบเห็นบ้านของคนที่รู้จัก หรือแม้กระทั่งบ้านของเพื่อนบ้าน ต่างก็จะมีคุณพ่อบ้านประจำบ้าน สำหรับคอยช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแบบนี้เสมอแทบทุกบ้าน เป็นเรื่องปกติ
ณ บังคลาเทศ
ฉันยังมาพบเห็นอีกด้วยว่า ที่นี่ก็นิยมจ้่างพ่อบ้านประจำสำนักงานในหน่วยงานต่างๆ และอยู่ประจำบ้านพักของชาวต่างชาติด้วย
หลายๆครั้งที่ฉันไปซื้อของตามซุปเปอร์มาเก็ต
ฉันก็จะเห็นมาดามฝรั่ง มีคุณพ่อบ้านชาวบังคลาเทศเดินตามหลังพร้อมกับรถเข็น ช่วยกันเลือกซื้อของ เป็นภาพที่ฉันเห็นบ่อยจนชินตา
"ไม่ว่าจะที่อินเดียหรือบังคลาเทศ
สิ่งที่ฉันได้พบเจอด้วยตัวเองนั้น
ฉันรู้สึกว่าผู้ชายเมืองแขก
มีทัศนคติที่ดีกับการทำงานบริการเป็นอย่างมาก "
แม้ตัวฉันเองก็ถือว่าได้ทำงานด้านบริการ
จึงได้เข้าใจว่า
งานบริการนี้ต้องใช้ความอดทนสูงมาก
สิ่งที่สำคัญที่สุดในงานบริการก็คือ
ต้องอดทนต่ออารมณ์ของผู้คนให้ได้
...ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย...
1
ยังไม่จบนะคะ
โปรดติดตามตอนต่อไป
"มดดี้"
ความเดิมตอนที่แล้ว

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา