Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รู้ ใจ
•
ติดตาม
3 ต.ค. 2020 เวลา 05:58 • ไลฟ์สไตล์
Episode 2, Chapter 1: ตามหาสาเหตุ และต้นตอของความรู้สึกเคว้งคว้างว่างเปล่าในจิตใจของตัวเอง
สัญญาณเตือนของภาวะว่างเปล่า คือ อาการไร้ความรู้สึก รู้สึกเคว้งคว้าง จิตใจล่องลอย ไม่รู้สึกรู้สากับสิ่งรอบข้าง เย็นชา สติไม่อยู่กับตัว อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของอาการนี้ เช่น ไม่มีเงิน งานไม่ก้าวหน้า หรือความรักไม่โอเค เพราะภาวะว่างเปล่านี้เกิดขึ้นจากสภาวะจิตใจ ที่ไม่สามารถลบความรู้สึกนี้ออกไปได้ง่ายๆ แต่ตัวเราเองที่เข้มแข็งเท่านั้น ที่จะสามารถจัดการกับมันได้ และควบคุมมันให้เข้าที่เข้าทาง ก่อนที่จะพูดถึงวิธีรับมือกับภาวะนี้ วันนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุโดยทั่วไปของภาวะนี้กันก่อนค่ะ
Photo by rawpixel.com from Pexels
1. ชีวิตกำลังตกที่นั่งลำบาก ไม่ว่าจะมาจากการงาน ครอบครัว เพื่อนฝูง หรือความรัก
สถานการณ์ที่ยากลำบากจะทำให้เราเกิดความเครียดและวิตกกังวล สูญเสียพลังงานไปกับการจัดการปัญหาและไม่มีเวลาดูแลใจตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น บางคนที่กำลังอยู่ในระหว่างการหย่าร้าง หรือคนรักเสียชีวิต สภาพจิตใจและสมองของเราจะอยู่ในโหมดจัดการความเครียด หรือภัยคุกคาม ที่เรียกว่าภาวะ จะสู้ จะถอย หรือจะนิ่งเป็นอัมพาต เรารู้จักกันในภาษาอังกฤษว่าง Fight-Flight-Freeze นั่นเอง การที่ร่างกายของเราอยู่ในภาวะนี้นานๆ สมองจะอยู่ในภาวะโดนกระตุ้นจากความเครียดตลอดเวลา ส่งผลให้ร่างกาย และจิตใจเกิดการเหนื่อยล้าตามมา และรู้สึกล่องลอย ว่างเปล่า สติไม่อยู่กับตัวนั่นเอง
1
2. ไม่มีความสุขจากการทำงาน ขาดสีสันในชีวิตเพราะทำงานมากไป หรือขาดเป้าหมายในการทำงาน หรือการใช้ชีวิต
บางครั้งเราอาจจะรู้สึกเบื่อหน่ายกับชีวิต อย่างจะเปลี่ยนลู่ทางทำมาหากิน หรือไม่มีความสุขในงานที่กำลังทำอยู่ ในกรณีนี้บางคนที่มีหน้าที่การงานดี มีเงินอยู่แล้วก็อาจจะโหยหา หน้าที่การงาน หรือเงินที่ดีมากขึ้นไปอีก และคิดว่าตอนนี้ยังไม่ดีพอ ดังนั้น การมีเงินหรือไม่มี ไม่ใช่ประเด็นหลักของภาวะนี้เลย ทุกคนมีโอกาสที่จะเกิดความไม่พอใจในชีวิตของตนเองได้
บางคนก็มัวแต่สนใจเรื่องการทำงานจนลืมใส่ใจชีวิตส่วนตัวของตัวเอง จนชีวิตรู้สึกไม่มีความสุข ขาดสีสัน น่าเบื่อหน่าย และรู้สึกโดดเดี่ยวเคว้งคว้างได้
ในส่วนของการขาดเป้าหมายในชีวิต ทั้งที่เกี่ยวข้องกับทั้งหน้าที่การงาน และชีวิตส่วนตัว ที่ยังไม่รู้สึกเติมเต็ม อย่าลืมว่าเป้าหมายในชีวิตเปลี่ยนแปลงได้ตลอดการเดินทาง ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของการใช้ชีวิต ที่ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ และแน่นอน เราต้องประเมินตัวเองอยู่เสมอว่าเราต้องการเป้าหมายนั้นจริงๆ รึเปล่า หรือมันยืดหยุ่นได้ ปรับตัวเราเองได้ หรือเป้าหมายที่ยังไม่จำเป็นก็ให้ยกเลิกไปก่อน และมีเวลาให้ตัวเองบ้าง อย่ามัวแต่ลงโทษตัวเองที่ทำอะไรไม่ได้ดังใจ
นอกจากนี้เรายังสามารถมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรืออ่านหนังสือ ศึกษาเพิ่มเติม เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจ สร้างกำลังใจ กำหนดทิศทาง ช่วยเราโฟกัส และตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ให้กับตัวเองอย่างยั่งยืน
3. ภาวะวิตกกังวล และโรคซึมเศร้า
ความรู้สึกว่างเปล่าอาจเป็นตัวบ่งบอกได้ถึงสภาพจิตที่ย่ำแย่อย่างรุนแรง เป็นอาการป่วยทางจิต หรือที่เรียกว่าโรคทางจิตเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ (ฺBipolar disorder/โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว) ในขณะที่เรามีอาการเหล่านี้ เมื่อกระทบกับความเครียด สภาวะจิตใจจะเกิดการแปรปรวน สับสนวุ่นวายได้ง่ายกว่าคนทั่วไป บางครั้งทำให้เราต้องจัดการด้วยการเพิกเฉย เฉยเมยต่อสิ่งเร้ารอบตัว ซึ่งก็คือการยอมแพ้ต่อสภาพอารมณ์ที่สับสน แปรปรวนของตัวเองนั่นเอง อย่างไรก็ตาม การยอมแพ้ต่อโรคเครียด โรคซึมเศร้า ไม่ใช่ทางออกที่ดีต่อตนเอง และบุคคลที่เรารัก ปัจจุบันมีวิธีการรักษา และการให้ความรู้ การส่งเสริมการปรับทัศนคติ เพื่อให้เราใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายคน กล่าวว่าตนรู้สึกว่างเปล่า มากกว่ารู้สึกเสียใจ เพราะบางครั้งอาการซึมเศร้า และภาวะว่างเปล่าชอบเกิดร่วมกัน เช่น คนที่ตรอมใจมานานหลายปีหลังจากที่คนรักเสียชีวิตสามารถพัฒนาจนเกิดเป็นอาการซึมเศร้าร่วมกับความรู้สึกหมดหวัง เคว้งคว้างได้ด้วย
ส่วนโรคอื่นๆ อาจจะไม่สามารถระบุสาเหตุของภาวะนี้ได้แน่ชัด การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่นจิตแพทย์ และนักจิตบำบัด จะช่วยรักษาอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า และความรู้สึกว่างเปล่า อีกทั้งยังช่วยคลี่คลายปมในใจ ที่เป็นสาเหตุต้นตอที่แท้จริงของเราได้
4. เสพสื่อต่างๆ มากเกินไป
การนั่งดูทีวี ดูเกมโชว์ ดูซีรีส์ หรือเล่นเกมก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไร แต่บางคนใช้การบริโภคสื่อเหล่านี้มาเติมเต็มความว่างเปล่าเคว้งคว้างในจิตใจตัวเอง เหมือนกับการใช้สารเสพติด ผลลัพธ์ที่ได้คือผลเสียต่อร่างกาย และความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง อีกทั้งยังทำให้เราเฉื่อยชา ไม่กระตือรือร้น และมีปัญหาในการนอน เราอาจจะรู้สึกเครียด วิตกกังวล เมื่อไม่สามารถเสพสื่อเหล่านี้ได้ ถ้าเพื่อนๆ พบว่าตัวเองมีพฤติกรรมการเสพสื่อที่ส่งผลเสียต่อตัวเอง ก็ควรที่จะปรึกษานักจิตบำบัด หรือจิตแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขนะค้า
5. เสพโซเชียลมีเดีย (Social Media) หรือสื่อโซเชียล มากเกินไป เช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ ไอจี ทวิตเตอร์ เป็นต้น (Blockdit ด้วยใช่รึเปล่าน้า?)
การใช้โซเชียลมีเดียก็ไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเช่นกันถ้าเราใช้มันอย่างพอดี สำหรับใครที่ใช้โซเชียลจนติดและใช้มันในการติดต่อสื่อสารแทนการออกไปพบเจอผู้คนจริงๆ นี่แหละคือตัวก่อปัญหา ลองมาดูตัวอย่างของสถานการณ์ที่ทำให้เราติดโซเชียล และส่งผลให้เรารู้สึกว่างเปล่า เคว้งคว้าง กันค่ะ
เกิดอาการโฟโม (FOMO=Fear of missing out) คือ ความกลัวที่จะตกกระแส กลัวตกข่าว หรือกลัวที่จะพลาดโอกาสอะไรบางอย่าง อาการเคว้งคว้าง ว่างเปล่าจะชัดเจนขึ้นเมื่อเห็นชีวิตคนอื่นดีกว่าตนเองในช่วงเวลานั้นๆ เช่น เมื่อเห็นโพสต์รูปเพื่อนของเราไปทานอาหารข้างนอกกับเพื่อนอีกกลุ่มอย่างสนุกสนาน แลดูมีความสุขมากกว่าตนเอง ถึงแม่ว่าเราจะรู้สึกยินดีกับเพื่อน แต่บางครั้งลึกๆ ในใจเราอาจจะรู้สึกอิจฉา หรือเหงา ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของภาวะว่างเปล่า
บางครั้งโซเชียลทำให้เราเห็นข่าวลบๆ มากขึ้น เราจะเห็นความทุกข์ ทรมารของผู้คนรอบโลกจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินไหว กราดยิง ประท้วง เครื่องบินตก สงครามกลางเมือง เป็นต้น การติดตามข่าวสาร ตามทันเหตุการณ์โลกเป็นเรื่องที่ดี แต่การเสพสื่อที่กระทบกระเทือนจิตใจบ่อยๆ สามารถทำให้เรารู้สึกว่างเปล่าได้ ส่งผลให้เราขาดกำลังใจในการดำเนินชีวิต และเฉยเมยต่อสิ่งรอบตัว
การคุยกับเพื่อนออนไลน์เป็นสิ่งที่ดี และทำให้เรารู้สึกมีคุณค่า แต่การที่เรามีแค่เพื่อนออนไลน์ แต่ไม่มีเพื่อนตัวเป็นๆ ในชีวิตจริง ก็ทำให้เรารู้สึกเคว้งคว้าง ว่างเปล่าได้เช่นกัน
เราสามารถเสพติดโซเชียวได้ เหมือนการเสพติดสื่ออื่นๆ และเหมือนกับการติดการพนัน โซเชียวต่างๆ ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนใช้งานติดใจ เมื่อเราเห็นข้อความใหม่ หรือนิวฟีดใหม่ๆ จะทำให้สมองของเราหลั่งสารโดปามี (สารสื่อประสาทในสมองที่ทำให้เรารู้สึกดี มีความสุข) เป็นการกระตุ้น และดึงดูดให้เราเช็กข้อความใหม่ๆ หรือไถหน้านิวฟีดเพื่ออ่านข่าวอัปเดตใหม่ๆ เรื่อยๆ แบบไม่มีที่สิ้นสุด จนก่อให้เกิดความรู้สึกที่ต้องการอะไรมาเติมเต็มตลอดเวลา (แนะนำให้ดูสารคดีบน Netflix เรื่อง Social Dilemma นะคะ)
สำหรับบทหน้า เราจะมาพูดถึงสาเหตุที่เหลือของภาวะนี้กันต่อนะค้า อย่าลืมกดติดตามน้า
เพื่อนๆ มีข้อคิดเห็นอะไรกับหัวข้อนี้บ้างคะ?? บทความของเราจะแปล และอ้างอิงจากบทความจากนักจิตบำบัด บทความทางวิชาการ และงานวิจัยทางจิตวิทยาต่างๆ ซึ่งจะแปลค่อนข้างยาก เราจะพยายามแปลด้วยภาษาง่ายๆ เป็นกันเอง ให้เข้ากับบริบทของสังคมไทยปัจจุบัน เราเองก็ไม่ได้แปลเก่ง ไม่ใช่นักเขียน และไม่ใช่นักจิตวิทยา แต่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมีประสบการณ์พบเจอ และร่วมงานกับผู้คนนานาชาติ เราสนใจอ่านงานวิจัย และบทความทางด้านนี้จากทั่วโลก เลยอยากแชร์ความรู้ที่เราอ่านเจอให้กับทุกคนๆ ช่วยติชมอย่างสร้างสรรค์เพื่อการปรับปรุงจะยินดีเป็นอย่างยิ่งค่า หากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยด้วยนะค้า
“ ข้อมูลในบทความของเราไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อทดแทนการวินิจฉัยโรค หรือใช้อ้างอิงว่าเป็นคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนๆ ไม่ควรดำเนินการ หรือหลีกเลี่ยงการดำเนินการใดๆ ที่ไม่ได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ “
แหล่งอ้างอิง
https://www.betterhelp.com/advice/general/i-feel-empty-when-a-lack-of-meaning-is-something-more-serious/
https://thepotential.org/life/fight-flight-freeze/
8 บันทึก
5
4
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
The Series of Emptiness: เรื่องราวของความรู้สึกว่างเปล่า
8
5
4
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย