15 ต.ค. 2020 เวลา 10:37 • สุขภาพ
Hypoglycemia (ไฮโปไกลซีเมีย) อ่อนเพลียเรื้อรัง โรคฮิตของคนยุคใหม่ !
1
ไหนใครบ้างที่ตอนกลางคืนก็นอนหลับสนิทดี แต่พอตื่นเช้าไปทำงาน หรือขณะทำงานกลับมีอาการง่วงนอน แถมรู้สึกเพลียๆ อีกต่างหาก อาการแปลกๆแบบนี้อาจเป็นเพราะคุณอาจกำลังเป็นโรคฮิตของคนเมืองกรุง อย่าง "โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง" หรือ "ไฮโปไกลซีเมีย" ก็เป็นได้นะคะ
1
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
1
แล้ว Hypoglycemia เนี่ยมันคืออะไรกันนะ ?
มันคือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มักจะทำให้เกิดอาการใจสั่นอ่อนเพลีย ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ  ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาลดน้ำตาลหรือฉีดอินซูลินค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ เคยสงสัยกันไหมคะว่า  การกินน้ำตาลมากๆจะทำให้เกิดโรคน้ำตาลในเลือดต่ำได้อย่างไร
1
อาหารที่มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลขัดขาวจะทำให้เกิดการดูดซึมอย่างรวดเร็วและทันที จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นค่ะ สภาวะดังกล่าวจะกระตุ้นให้ตับอ่อนตื่นตัว  เร่งผลิตอินซูลินจำนวนมหาศาลออกมาเพื่อสกัดน้ำตาลส่วนเกินให้ทันการค่ะ  ทีนี้อินซูลินฉุกเฉินนั้นจึงทำให้น้ำตาลในเลือดลงต่ำกว่าระดับปกติมากเกินไป ด้วยความเร็วผิดปกติ (ต่ำเกินไปและเร็วเกินไป) ซึ่งมีผลต่อการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอเป็นที่มาของอาการใจสั่น ระบบประสาทและสมองแปรปรวนเป็นที่มาของอาการปวดหัว ขาดสมาธิ สูญเสียความมั่นคงทางอารมณ์ คุมสติได้น้อยลงค่ะ
4
เมื่อเกิดอาการ ร่างกายจึงกระตุ้นให้คุณ "เติม" ของหวานบรรเทาอาการ แต่เมื่อกินเข้าไปกลับเป็นการ "ซ้ำเติม"ตับอ่อนเช่นเดิมไม่สิ้นสุด ทำให้คุณตกอยู่ในภาวะอันตรายของโรคไฮโปไกลซีเมีย คือ เมื่อน้ำตาลอยู่ในระดับสูง ก็จะกระฉับกระเฉง สดชื่น ร่าเริง หลังจากนั้นไม่กี่ชั่วโมงเมื่อน้ำตาลลด จะรู้สึกเหนื่อย เพลีย หมดแรง นั่นเองค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
1
⭐ คราวนี้เรามาดูกันว่า อาการของ hypoglycemia เป็นอย่างไรกันบ้าง ? ซึ่งแพทย์ได้จำแนกออกเป็น 3 กลุ่มค่ะ มาดูกันเลย
1. กลุ่มความผิดปกติทางร่างกาย คือ
1
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง , มองเห็นไม่ชัด , หัวใจเต้นเร็ว
3
ปวดหัว-เวียนศีรษะ , สีผิวซีด ,นอนไม่หลับ ,เหงื่อแตกบ่อย ๆ , มือสั่น ,ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ,เป็นตะคริวบ่อย ,เกิดการชักกระตุก ,คันตามผิวหนัง ,หน้าร้อนผ่าวบ่อย ๆ , มีอาการภูมิแพ้ ,มือเท้าเย็น ,เนื้อตัวชาบางครั้ง , การทรงตัวไม่ดี
1
🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟
2.กลุ่มความผิดปกติของระบบต่าง ๆ คือ
ท้องอืด ท้องเฟ้อ  ปากแห้งคอแห้ง  เบื่ออาหาร อยากกินของหวาน ๆ , หิวอย่างรุนแรงก่อนถึงเวลา , ถ่ายอุจจาระผิดปกติ , ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ,  หายใจไม่ค่อยออก, ปากและลมหายใจมีกลิ่นแปลก ๆ  , หัวใจเต้นผิดปกติ , เป็นลมบ่อย ๆ , อ้วน-น้ำหนักเกิน , กามตายด้าน
2
🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟
1
3. กลุ่มความผิดปกติทางจิตใจ และระบบประสาท
รู้สึกเบื่อหน่าย , ฟุ้งซ่านขาดสมาธิ , วิตกกังวลโดยง่าย , ลังเลตัดสินใจไม่ได้ , รู้สึกสับสนปั่นป่วน , ทนเสียงอึกทึก และแสงจ้า ๆ ไม่ได้ , เบื่อการพบปะเพื่อนฝูง ไม่ชอบเข้าสังคม , การประสานงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเลวลง , โมโหง่าย , ฝันร้ายบ่อย , ความจำเสื่อม , มีอาการทางประสาท , อยากฆ่าตัวตาย
4
🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟🌟
2
คนที่ไม่รู้ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจะไม่ทราบว่าน้ำตาลในเลือดกำลังลดลง หากคุณมีอาการนี้น้ำตาลในเลือดของคุณอาจลดลงโดยที่คุณไม่สังเกตเห็น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีคุณอาจเป็นลมชักหรือถึงขั้นโคม่าได้ค่ะ
อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นที่ผู้ป่วยจะมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน บางอาการอาจเกิดขึ้นแล้วหายไป แล้วสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีกนะคะ
โดยมีอาการหลัก ๆ คือ รู้สึกเหนื่อย เพลีย ไม่มีแรง ทั้งที่นอนมาหลายชั่วโมงแล้ว แต่กลับไม่รู้สึกสดชื่นเลย อยากนอนตลอดเวลา บางคนนั่งทำงานไปได้ถึงตอนบ่าย ๆ เกิดรู้สึกง่วงเพลียจนอยากหลับเลยทีเดียวก็มี แถมยังสมองมึนซึม ปวดเนื้อปวดตัว รวมทั้งระบบขับถ่ายจะมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ลำไส้แปรปรวน ถ้ามีอาการเหล่านี้ ก็ส่งสัญญาณว่า โรคไฮโปไกลซีเมียกำลังมาเยือนคุณแล้วล่ะค่ะ
2
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
มักเกิดจากการกินอาหารน้อยไปหรือไม่ตรงเวลา กินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดบางชนิดเกินขนาด หรือฉีดยาอินซูลินมากเกินไป รวมถึงอาจเกิดจากการออกกำลังกาย หรือทำงานมากกว่าปกติค่ะ
2
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ การแก้ไขภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เมื่อเริ่มมีอาการ ควรรีบตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด โดยวิธีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้ว และแก้ไขตามระดับอาการ ดังนี้
⭐ อาการไม่มากและรู้สึกตัวดี
ให้กินอาหารทันที ถ้าเวลาที่เกิดใกล้มื้ออาหารหลัก แต่หากอยู่ระหว่างมื้ออาหาร ควรกินอาหารว่าง เช่น นมพร่องมันเนย (240 ซีซี) หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ลูก หรือ แครกเกอร์ 2-3 แผ่นนะคะ
⭐ อาการค่อนข้างมาก แต่รู้สึกตัวดี
ให้กินอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมเร็วอย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้
✅ น้ำผลไม้คั้นสดไม่เติมน้ำตาล ปริมาณ ½ แก้ว
✅ ลูกอม 2 เม็ด หรือน้ำตาล 2 ก้อน
✅ น้ำหวาน ½ แก้ว (น้ำหวานเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะผสมน้ำให้ได้ปริมาณ 120 ซีซี)
1
✅ น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา
✅ น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา
✅ หลังจากนั้นให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปัง ข้าว หรือก๋วยเตี๋ยว ต่อเลยทันทีนะคะ
⭐ อาการมากและไม่รู้สึกตัว
1
หากไม่รู้สึกตัวหรือมีอาการชัก ห้ามให้อาหารทางปากเด็ดขาดนะคะ เพราะอาจสำลักเข้าปอด และสิ่งสำคัญคือต้องให้ยาที่เรียกว่ากลูคากอนและติดต่อหน่วยบริการฉุกเฉินทันทีค่ะ
2
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
⭐ ทีนี้มาดูวิธีดูแลตัวเองกันดีกว่าค่ะ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย หรือใครที่มีอาการดังข้างต้นแล้ว ก็ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่แล้วล่ะค่ะ เรามีข้อแนะนำดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยงดเติมน้ำตาลในอาหาร เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลมาก รวมทั้งอาหารฟาสต์ฟู้ดด้วยนะคะ และรับประทานอาหารให้ตรงเวลาและมีปริมาณเหมาะสมตามความต้องการพลังงานของร่างกายแต่ละคน ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่งนะคะ
2. ปรับอารมณ์ไม่ให้เครียด เพื่อไม่ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน ไปกระตุ้นให้ผนังลำไส้ขับกรดออกมามาก จนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนั้นแล้ว ความเครียด ยังนำไปสู่โรคต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งยังทำให้นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลงอีกด้วยค่ะ
3. ก่อนนอนไม่ควรทานอาหารหนัก ๆ รวมทั้งดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม เพราะจะทำให้หลับยาก ยิ่งทำให้รู้สึกอ่อนเพลียมากขึ้นค่ะ
4. อย่าเปิดไฟเวลานอน และพยายามอย่าให้มีแสงเล็ดลอดเข้าไปในห้องนอน เพราะจะยิ่งทำให้นอนไม่หลับค่ะ
5. ฝึกหายใจ หรือนั่งเงียบ ๆ สัก 5 นาที ก่อนนอน เพื่อผ่อนคลายความเครียดค่ะ
6. ออกกำลังกายเป็นประจำ สำหรับใครที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ควรออกกำลังแต่พอควร อย่าหนักมากเกินไป เพราะจะยิ่งไปกระตุ้นให้ร่างกายทรุดลงไปอีกได้ค่ะ   ถ้าออกกำลังกายมากกว่าปกติ ควรกินอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย ประมาณ 15-30 นาที เช่น นมพร่องมันเนย 1 แก้ว หรือ ขนมปัง แครกเกอร์ 2-3 แผ่นใหญ่ หรือผลไม้ขนาดกลาง 1 ผล เช่น ส้ม กล้วยน้ำว้า หรือ ผลไม้ใหญ่ ½ ผล เช่น ฝรั่ง แอปเปิ้ล สาลี่ กล้วยหอม ค่ะ
7. ฉีดอินซูลินหรือกินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดตามแพทย์สั่ง ไม่เพิ่มหรือลดยาเอง (ยกเว้นกรณีแพทย์แนะนำให้ปรับยาเองได้)
8. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอค่ะ
9. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เครียด ซึมเศร้า และไม่ควรหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานเกินไปค่ะ
10. ไม่ควรใช้ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หรือยาคลายเครียดค่ะ
11. หากมีอาการเครียดบ่อย ๆ ให้ฝึกทำสมาธิ เพื่อควบคุมจิตใจให้สงบค่ะ
12. พยายามเข้านอนแต่หัวค่ำ อย่าออกไปเที่ยวกลางคืนบ่อยนักนะคะ
1
13.ในรายที่เป็นมาก อาจต้องปรึกษาแพทย์ และอาจรับประทานวิตามินบีเสริมเพื่อช่วยลดความเหนื่อยล้าค่ะ
14. ปรึกษาแพทย์ในกรณีที่ต้องกินยาสำหรับรักษาโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะยาเหล่านั้นอาจมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ค่ะ
2
15. บอกให้ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดทราบว่าเป็นเบาหวานและอธิบายการแก้ไขที่ถูกต้องให้รับทราบค่ะ
16. ควรมีลูกอม น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ 100% หรือขนมปังแครกเกอร์เก็บไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา เผื่อยามฉุกเฉินนะคะ
1
17. ช่วงที่เจ็บป่วย หากทานอาหารไม่ได้ ควรพบแพทย์เพื่อปรับยาค่ะ
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็หมั่นสังเกตุและดูแลรักษาสุขภาพตัวเองกันด้วยนะคะ ^^
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃
อ้างอิง
🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃🍃

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา