9 พ.ย. 2020 เวลา 07:07 • ประวัติศาสตร์
"....Volta do mar่่..."
คาถาปราบปีศาจทะเลแห่ง Bojador
ep.2/4 สถานีถัดไป แหลมกู๊ดโฮป
ก่อนยุคแห่งการสำรวจ เรือหลายต่อหลายลำไม่เคยได้กลับมา เมื่อเรือไปถึงแหลม โบฮาโด Cape Bojador (บริเวณประเทศโมรอคโค
แผนที่แอฟริกาในยุคนั้น หยุดอยู่ที่นี่ พร้อมกับความเชื่อปนกลัวของชนยุโรปว่า เลยจากที่นี่ไป ไม่มีทะเล ไม่มีแผ่นดิน หรือเรือจะตกขอบโลก?
หรือว่าจะมีปีศาจทะเลอยู่ ??
แต่หลังจากนักเดินเรือชาวโปรตุเกส ได้เรียนรู้ภูมิประเทศไหล่ทวีปแอฟริกา
รวมถึงเข้าใจถึงอิทธิพลของกระแสน้ำ และลมต่าง ๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติค
Volta do mar เทคนิคการเดินเรือ ที่เบนประวัติศาสตร์โลก
ในปลายศตวรรษที่ 14 นักเดินเรือโปรตุเกส ได้เรียนรู้จักใช้เทคนิคเดินเรือแบบ Volta do mar ที่ใช้ประโยชน์จากลมค้า Trade wind ด้วยการล่องเรือทวนลมในซีกโลกใต้ หรือการเบนย้อนกลับจากทะเล
วิธีเดินเรือ Volta do mar คือแทนที่จะแล่นเรือเลียบฝั่งทวีปไปตลอด เมื่อถึงบางจุดของฝั่งทะเลแอฟริกา จะต้องหันหัวเรือแล่นออกทะเล ไปทางทิศตะวันตก หันไปตามกระแสลมค้าTrade winds * มุ่งหน้าสู่ทะเลเหนือประเทศบราซิล ที่ประมาณเส้น โลก 30 องศา แล้วย้อนหัวเรือกลับ จับกระแสลม Westerlines ซึ่งเป็นลมประจำ ตะวันตกให้ลมพัดพาเรือกลับมาทางตะวันออก เพื่อมาสู่แอฟริกาใต้ได้
ค.ศ. 1434 Gil Eanes นักสำรวจชาวโปรตุเกส Gil Eanes สามารถพิชิตอุปสรรคของแหลมโบฮาดอร์ และเข้าควบคุมเส้นทางค้าทาสตลอดแนวทะเลทรายซาฮาร่า ที่เคยเป็นของชาวอาหรับ
ค.ศ. 1460 ชาวโปรตุเกสทำกำไรกลับประเทศได้อย่างมหาศาล จากการค้าทาส
และทอง ซึ่งได้มาจากพื้นที่ในทวีปของแอฟริกา มีการตั้งสถานีการค้าตลอด
แนวชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก ที่ Sao Tome ,Principe และ Elmina Castle โดยสถานี Elmina Castle ต่อมาก็ได้ถูกยึดครอบครองโดยชาติฮอลันดา
Elmina Castle ประเทศกานา Ghana ยังคงตั้งตระหง่านท้ากาลเวลา ที่นี่จริงแล้วคือ สถานีค้าทาส
ค.ศ. 1487 Bartolomeu Dias ใช้เทคนิค Volta do mar แล่นเรืออ้อมตะวันตกทวีปแอฟริกา ลมพาเรือไปยังแหลมแห่งพายุ ทางใต้สุดของแอฟริกาและและยังพาเลยไปถึงริมฝั่งแอฟริกาตะวันออก
ที่นั่น ทำให้คนยุโรปได้พบกับมหาสมุทรอินเดียเป็นครั้งแรก
คศ. 1497 Vasco da Gama วาสโก ดากามาเองก็ได้ใช้เทคนิค Volta do mar แล่น เรือไปทางตะวันตกเกือบทวีปอเมริกาใต้ แล้วจึงจับกระแสลม westerlines ล่องเรือย้อนกลับ ด้วยเรือ Caravel และ Nau ที่ออกแบบมาเพื่อให้ล่องไปกับกระแสลมได้ดี กระแสลมช่วยพัดพากองเรือมาได้จนถึงแหลมแห่งพายุ ซึ่งกษัตริย์โปรตุเกสให้เปลี่ยนชื่อ
ให้ในทีหลังว่า แหลมกู๊ดโฮป Cape of Good Hope
(ช่วงที่เขาแล่นเรือมาถึงแหลมกู๊ดโฮปนี้ตรงกับยุคสมัยพระบรมไตรโลกนาถ)
อนุสาวรีย์เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าชายเฮนรี่ และนักสำรวจชาวโปรตุเกส, ประเทศโปรตุเกส
แต่เรือของวาสโก ดา กามา ยังคงมุ่งสำรวจต่อไป เพราะนอกจากทอง ทาส
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ชาวยุโรปต้องการ นั่นคือ เครื่องเทศ
*Trade winds ลมที่พัดตลอดทั้งปีในเขตพื้นที่ร้อนชื้น ใกล้เส้นศูนย์สูตรโลก
ความเร็วเฉลี่ย 5-51 ไมล์ต่อชั่วโมง เป็นลมที่พัดจากตะวันออกเฉียงใต้ไปยัง เส้นศูนย์สูตร
สถานีต่อไป อินเดีย
"West meets East"
20 พฤษภาคม คศ.1498 คือวันแรกที่ วาสโก ดา กามา แล่นกองเรือมาถึงเมือง
กาลิกัต (Galicut) ฝั่งมะละบาร์ของอินเดีย จากนั้นเขาได้ขนซื้อเครื่องเทศ อบเชย ขิง พริกไทย ฯลฯ โหลดกลับไปเต็มลำเรือ และค้าได้กำไรสูงถึง 60 เท่า
60 เท่า! เรื่องนี้เป็นข่าวที่ทำให้ชาวยุโรปชาติต่าง ๆตื่นตัว และเชื่อว่า อินเดียคือโชคลาภของพวกเขา จึงได้ทะยอยหลั่งไหลกันเข้ามาสู่อินเดีย เพื่อตักตวงกำไร จากการค้าเครื่องเทศ ผลผลิตชาวพื้นเมือง รวมไปถึงการเผยแพร่ศาสนา
เมืองกาลิกัต,อินเดีย ในยุคแห่งการสำรวจ
แต่พ่อค้าเจ้าถิ่นดั้งเดิมแถบนี้คือ ชาวอาหรับตามเมืองแถวทะเลแดง
ชนที่เชี่ยวชาญอย่างมากเรื่องลมมรสุม (แม้ว่าคำว่า มรสุม Monsoon ก็มาจากคำในภาษาอาหรับ Mausim แปลว่า ฤดู) พวกเขารู้ดีว่า เมื่อถึงฤดูมรสุม ลมนี้จะพัดแน่ว แน่อยู่ทิศทางเดียว และใช้ลมมรสุมในการแล่นเรือค้าขายข้ามทะเลไปมาค้าขาย ระหว่างอาหรับกับอินเดีย มานานแล้วหลายศตวรรษ
เมื่อผลประโยชน์ขัดแย้ง กองทัพเรือโปรตุเกส จึงได้ทำการรบต่อสู้ กำจัดพ่อค้าชาวอาหรับ และรวมถึงเจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ในอินเดีย ด้วยอาวุธปืนใหญ่ ที่ใช้ยิงใบเรือและเชือกของเรือศัตรูให้ขาด และปืนหมุนใช้ยิงลูกเรือข้าศึก
แม้แต่กองเรือขนาดใหญ่ของจักรวรรดิโมกุลในอินเดีย ซึ่งกำลังเรืองอำนาจในอินเดีย ก็ยังต้องพ่ายแพ้
กองทัพเรืออีกหลายชาติยุโรป ที่ตามกันมา ไม่ว่าจะเป็น ชาติฮอลันดา ฝรั่งเศส และอังกฤษ ต่างก็ใช้ปากกระบอกปืนใหญ่ ทำให้ชาวพื้นเมืองตะวันออก ยอมเปิดสัมพันธ์ด้วย หรือไม่ก็เข้าปราบปราม หากชาวพื้นเมืองไม่ให้ร่วมมือ
เมื่อรบชนะ ชาวยุโรปก็จัดวางกำลังรบประจำพื้นที่ สร้างเมืองป้อมท่า สถานีการค้า เพื่อตั้งถิ่นฐานที่ มั่นคง สร้างโบสถ์ สาธารณสถาน เร่งระดมจัดหาเครื่องเทศเป็นจำนวนมากส่งกลับ ไปยังยุโรป
ในขณะเดียวกัน ชาวยุโรปก็เริ่มทะยอยเข้ามาทำงาน มาค้าขาย มารับจ้างเป็นผู้เชี่ยวชาญ และมีบาทหลวงมาเผยแพร่ศาสนา ฯลฯ
โดย คศ. 1511 โปรตุเกสได้เข้ายึด เมืองกัว เป็นสถานีการค้า แล้วขนามนาม เมืองนี้ว่า Golden Lisbon of the East เมืองหลวงของจักรวรรดิโปรตุเกสในโลกตะวันออก
คศ.1639 อังกฤษสร้างเมืองป้อมท่า St. George ไว้ที่เมืองมัทราส Madras
อังกฤษคือ ชาติตะวันตกท้ายสุด ที่เข้าครอบครองอินเดียอย่างเบ็ดเสร็จ อังกฤษได้ตั้งสถานีการค้าไว้ที่อินเดียในหลายแห่ง รวมถึงที่เมืองมัทราส พร้อมขนานนามเมืองนี้ว่า กรุงลอนดอนแห่งอินเดีย ในราว คศ.1683 (ตรงกับ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช)
....................กวีธารา.....................
สถานีถัดไป East Indies
กวีธารา เป็นร้านค้าแนวอนุรักษ์ขายถุงผ้า&โปสการ์ด ภาพเพ้นท์ลิขสิทธิ์ งาน Handmade อยู่ตลาดน้ำลัดมะยมโซน7 ตลิ่งชัน กทม. Line ID 3514653
และรับสั่งทำถุงผ้าลดโลกร้อน
หากชื่นชอบบทความ ขอเชิญบริจาคเงิน /ให้อาหารช้างไทยได้ที่ชมรม ช ช้างชรา
(Elephant World)อ. เมือง จ. กาญจนบุรี หรือ ศูนย์อนุรักษ์ช้างต่าง ๆ ทั่วประเทศ
มีบทความอื่น ๆ ที่ทางเรา กวีธารา ตั้งใจเขียน รวบรวมไว้และเนื้อหาน่าสนใจ ไม่แพ้กันเช่นกันนะคะ ติดตามได้ที่ https://shopee.co.th/kwtara
โฆษณา