17 พ.ย. 2020 เวลา 12:29 • การตลาด
แบรนด์ที่มีตัวเลือกเยอะ หรือ ตัวเลือกน้อย แบบไหนดีกว่ากัน?
การทำธุรกิจ เจ้าของธุรกิจก็อยากมีตัวเลือกเยอะๆ ให้กับผู้บริโภค
เพื่อให้เกิดมูฟเมนต์ทางการตลาด ให้ผู้บริโภคตื่นตาตื่นใจ และรู้สึกไม่จำเจ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ เช่น เวลาเราเดินเข้าไปในร้านที่มีจำนวนเมนูหรือรสชาติ ให้เลือกหลากหลาย
เราอาจรู้สึกดีที่ร้านมีตัวเลือกให้เยอะ
1
แต่การมีตัวเลือกเยอะนั้น ส่งผลดีกับธุรกิจจริงหรือ?
มีการศึกษาจากการทดลองชิมแยม Wilkin & Sons ของ Columbia University ในปี ค.ศ. 1995
Columbia University ได้เคยทำการศึกษาตัวอย่าง ของการแบ่งแยกกลุ่มตัวเลือกของแยม
โดยนำแบรนด์ Wilkin & Sons ที่มีแยมอยู่ 24 รสชาติในขณะนั้นมาทดลอง
แต่เนื่องจากตัวเลือกที่เยอะจนเกินไป ทำให้พวกเขาขายได้ไม่ดีเท่าที่ควร
Columbia University จึงได้ถือโอกาสเข้ามาทดลอง โดยในแต่ละชั่วโมง
เขาจะคัดเลือกแยมเพียง 6 ชนิด ตั้งโชว์ไว้สำหรับทดลองชิม
โดยสถานที่ที่ทำการศึกษาคือ ใน California Gourmet Market ที่เมืองฮาวทรอน ของอเมริกา
1
ซึ่งได้ข้อสรุปว่า
การวางแยม 24 รสชาติให้ทดลองชิม พบว่า
- 60% ของลูกค้าใน Supermarket ได้หยุดที่บูทของ Wilkin & Sons เพื่อเลือกชิมแยมที่วางไว้ทั้ง 24 รสชาติ
แต่มีเพียงแค่ 3% ของลูกค้ากลุ่มนี้เท่านั้น ที่ตัดสินใจซื้อ
การวางแยมเหลือเพียง 6 รสชาติ สับเปลี่ยนในทุกๆ ชั่วโมงให้ทดลองชิม พบว่า
- มีเพียงแค่ 40% ของลูกค้าใน Supermarket ที่หยุดที่บูทของ Wilkin & Sons เพื่อเลือกชิมแยมที่วางไว้ทั้ง 6 รสชาติ
อย่างไรก็ดี มากกว่า 30% ของลูกค้ากลุ่มนี้ ได้ตัดสินใจซื้อแยม
Columbia University จึงสรุปได้ว่า การที่มีตัวเลือกให้ลูกค้าเยอะนั้น
ดีต่อการดึงดูดความสนใจก็จริง แต่ไม่สามารถทำให้พวกเขาตัดสินใจซื้อได้
จากกรณีศึกษานี้ เรียกว่า “Choice Overload Effect” คือ ยิ่งมีตัวเลือกให้เลือกเยอะ ลูกค้าก็ยิ่งไม่อยากเลือก
ดังนั้น การมีทางเลือกเยอะก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป
เพราะการมีตัวเลือกเยอะ ทำให้เกิดความลังเล จนตัดสินใจไม่ได้
แต่ถ้าวิเคราะห์ในมุมของธุรกิจแล้ว
การมีตัวเลือก ไม่ว่าจะเยอะหรือน้อย ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ตัวอย่างธุรกิจที่มีตัวเลือกเยอะ เช่น
-ร้านเครป ยิ่งร้านไหนมีไส้ให้เลือกเยอะ ผู้บริโภคก็ยิ่งชอบ
-ร้านอาหาร ที่ควรมีเมนูให้เลือกหลากหลาย เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกไม่จำเจ
-ร้าน Swensen’s ที่มีรสชาติไอศกรีมหลายรส เพื่อดึงดูดลูกค้า
-แบรนด์นมยี่ห้อต่างๆ ที่ต้องออกรสชาติใหม่ๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่บนเชลฟ์
และทำให้การจัดวางดูสวยงามมากขึ้น
ข้อดีอย่างที่เห็นกัน คือทำให้เกิดทางเลือกกับผู้บริโภค
และช่วยขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น เพราะลูกค้าแต่ละคนมีความชอบที่แตกต่างกัน
ส่วนตัวอย่างธุรกิจ ที่มีตัวเลือกน้อย เช่น
-ยาคูลท์ ที่มีรสชาติเดียวตลอด 51 ปีที่ผ่านมา และเพิ่งมาแตกไลน์รสชาติหวานน้อยเมื่อปีที่แล้ว
-จอลลี่ แบร์ ที่เพิ่งแตกรสชาติใหม่ Super Sour ครั้งแรกในรอบ 34 ปี
2
ซึ่งการมีตัวเลือกน้อยในธุรกิจ ข้อดีคือทำให้คนจดจำได้ง่ายได้
และสะดวกในการซื้อ เพราะไม่ต้องเสียเวลาคิดว่าจะเลือกสูตรไหน รสไหนดี
สรุปแล้วไม่ว่าธุรกิจจะมีตัวเลือกเยอะหรือน้อย ก็อาจพูดได้ว่าไม่มี “ผิด” และ ไม่มี “ถูก”
ขอแค่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม ถูกที่ถูกเวลา ถูกจริตกับธุรกิจที่กำลังทำอยู่
โดยสุดท้ายแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับแนวทางการดำเนินธุรกิจของผู้บริหาร ว่าจะตัดสินใจอย่างไร
แต่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใด อุตสาหกรรมไหน มีตัวเลือกเยอะ หรือตัวเลือกน้อย
สิ่งสำคัญที่สุด ที่ธุรกิจต้องมี คือ ตัวชูโรง
ไม่ต่างกับละครหรือซีรีส์ ที่ต้องมีตัวพระเอกและนางเอก เป็นตัวดึงให้คนสนใจและจดจำได้
1
ซึ่งตัวชูโรงในที่นี้ ก็คือ “คุณภาพ” นั่นเอง
ถ้าเราสามารถทำสินค้าดั้งเดิมหรือพื้นฐานของแบรนด์ให้ติดตลาด หรือกลายเป็น Top of mind ได้
การแตกไลน์สินค้า ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะเราได้สร้างรากฐานไว้อย่างมั่นคงแล้ว นั่นเอง..
โฆษณา