1 ธ.ค. 2020 เวลา 10:50 • ปรัชญา
เราจะหาทางออกจากสถานการณ์วิกฤตตอนนี้ัยังไง??
หนึ่งคำถาม สองคำตอบ
เมื่อวานเราฟังคำตอบในมุมของพี่โจ้ ธนาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันนี้เรามาฟังคำตอบของ พี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันทร์กันดูครับว่า จะเป็นอย่างไร??
สถานการณ์ Covid-19 ที่ผ่านมา นับว่าให้บทเรียนที่สำคัญ แก่ตัวพี่ตุ้ม มาก ๆ บทเรียนหนึ่ง นั่นก็คือ เรื่อง แผนสำรอง
เมื่อทางออกไม่มีอยู่ในตำรา....
ในวิกฤตปี 40 ต้มยำกุ้งที่ผ่านมานั้น เป็นวิกฤตทางการเงิน ที่พอยังจะหาทางออก เปิดหนังสือไป ก็ยังเจอตำรา ว่าพอจะ หนีรอดไปทางไหนได้ แต่ใน Covid นั้นแตกต่างกัน
ไม่เคยมีตำราไหนระบุไว้ว่าจะรับมือกับปัญหานี้ยังไง ไม่มีหนังสือเล่มไหนบอกไว้เลยว่าจะรอดพ้นไปอย่างสง่าผ่าเผยแบบไหน
มีแต่ตัวเราเอง ที่นำภูมิ หรือความรู้ที่มี มาประยุกต์ และแก้ปัญหาให้รอดพ้นไป
เมื่อความแน่นอนคือความไม่แน่นอนอย่างแท้จริง
ืทางเลือกที่พอจะทำให้รอดได้ ก็คงจะเป็นทางเลือกที่ 2
คนหลายคน เลือกที่จะไม่นั่งรอเมื่อ อาชีพหลักทำอะไรไม่ได้ แต่รีบผันตัว ไปทำอะไรที่พอจะทำได้ เพื่อหารายได้ ให้เข้ามาเพื่อประทังชีวิต
คนบางคนก็สร้างโอกาสได้ในวิกฤต เปลี่ยนวิกฤตได้จนกลายเป็นโอกาส
แจ็ค เวลล์ เคยกล่าวเอาไว้ว่า "จงเปลี่ยนแปลง ก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง"
คำนี้ไม่ได้เกินเลยแต่อย่างใด
หลายคน เปลี่ยนแปลงก่อนที่วิกฤตจะเข้ามา และเมื่อวิกฤตเข้ามา พวกเขาก็แทบไม่ได้รับผลกระทบอะไร
ยกตัวอย่าง เช่น JIB ธุรกิจขายอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์อันดับต้น ๆ ของเมืองไทย
วันหนึ่งพี่ตุ้มโทรไปหาเจ้าของด้วยความเป็นห่วง ว่าเป็นอย่างไร ในช่วงวิกฤตแบบนี้ แต่กลับได้พบคำตอบว่า ยอดขายที่ว่าแย่กลับกลายเป็นดี
เนื่องจาก JIB ทำออนไลน์ มานานพอสมควร ก่อนหน้า Covid-19 ที่เกิดขึ้น ซะอีก เมื่อเกิดวิกฤต หน้าร้านปิดลง ขายของไม่ได้ แต่ online ยังคงขายได้เช่นเดิม กลับดีซะอีก ต้นทุนที่เคยต้องจ่ายหน้าร้านแต่ละเดือน ลดลง แต่ยอดขายไม่ลด กำไรกลับเพิ่มขึ้น
แต่ถ้าถามถึงร้าน ที่พึ่งจะเปลี่ยนแปลง คงไม่ได้คำตอบแบบ JIB เป็นแน่แท้
บทสรุปในคำตอบนี้ คงจะเป็น ทางเลือกที่ 2 ที่ต้องมีไว้เสมอ
ถึงแม้จะยังไม่เกิดวิกฤต ก็ต้องคิดเหมือนว่ามีวิกฤต
และจงเปลี่ยนแปลง โดยที่ไม่ต้องมีใครมาบังคับให้เปลี่ยนแปลง
1
โลกนี้ไม่ได้มีแค่เพียงคำตอบเดียว ความจริงเปรียบเสมือนชื่อในหนังสือ
เนลสัน แมนเดลา เคยเล่านิทานเรื่องหนึ่ง ให้ "ริชาร์ด สเตงเกิล" ผู้ลงมือเขียนอัตชีวประวัติของเขาฟัง
เป็นนิทานพื้นบ้านของชนเผ่า ในแอฟริกาใต้
เรื่องมีอยู่ว่า มีเด็กหนุ่มชาวธอร์ชา คนหนึ่ง ออกเดินทางจากหมู่บ้านของตนเองที่อาศัยอยู่
เพื่อค้นหา สิ่ง ๆ หนึ่ง สิ่งที่ว่า นั่นก็คือ เจ้าสาวของเขา
เขาใช้เวลาหลายปี ออกค้นหา และออกเดินทางไปยังทั่วทุกมุมโลก จนในที่สุด จุดหมายของการเดินทางมาบรรจบ ลงที่จุดเริ่มต้น คือบ้านของเขานั่นเอง
ในวันที่เขาเดินทางกลับมาที่บ้าน ก็พบกับหญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งดูสวย และเพรียบพร้อมทุกอย่าง ในแบบที่เขาค้นหา
สุดท้าย เขาก็แต่งงานกับหญิงสาวคนนั้น ซึ่งหญิงสาวคนนั้น แท้จริงแล้วอยู่ห่างจากบ้านเขาเพียงไม่กี่หลังเท่านั้น
เรื่องราวจบเพียงเท่านี้
แต่ความสงสัยของ สเตงเกิล ไม่จบแค่นั้น
สเตงเกิล ถาม เนลสันแมนเดลาว่า
แล้วความหมายของนิทานเรื่องนี้คืออะไร??
คือการบอกว่า ให้ สนใจสิ่งใกล้ตัว ก่อนที่จะไปหาสิ่งไกลตัว หรือว่า จะต้องใช้ประสบการณ์ทั้งชีวิต เพื่อที่จะค้นพบสิ่งที่ดีที่สุด
2
เนลสัน แมนเดลา ตอบว่า "มันอาจจะเป็นไปได้ทั้งสองอย่าง"
คำตอบนี้บ่งบอกกับสัจธรรมอย่างหนึ่งบนโลกใบนี้ก็คือว่า
โลกนี้ไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียว
สิ่งที่เราทุกคนควรทำ นั่นคือการเปิดใจ เหลือที่ไว้เพื่อรับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น เพราะสิ่งที่เราคิดว่าถูก บางทีก็อาจจะไม่ถูก และสิ่งที่เรามองว่าผิด บางทีก็อาจจะถูก
1
ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่ตายตัว
1
แต่มันจะตายตัว ถ้าเราปิดใจ ไม่เปิดรับ
เริ่มต้นที่อย่างแรกก่อน แค่..... เปิดใจ
1
และคำตอบบนโลกใบนี้ จะไม่มีแค่คำตอบเดียวอีกต่อไป....
บทความนี้ผมนำคำตอบพี่ตุ้ม มาใส่ในความเป็นตัวเองมากขึ้น เขียนในมุมมองผู้เขียนเอง ไม่ได้ถอดคำพูดมาเป๊ะ ๆ สักเท่าไหร่ แต่คิดว่าใจความสำคัญที่จะสื่อยังคงชัดเจนครบถ้วนดีอยู่นะครับ
ในตอนหน้า จะมาพบกับคำถามที่ว่า วิกฤตนี้จะจบในรูปแบบไหน??? กับคำตอบของทั้ง 2 คน
โฆษณา