29 ธ.ค. 2020 เวลา 02:26 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ELECTROCARDIOGRAPHY)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography; ECG หรือ EKG) เป็น การตรวจการทำงานของหัวใจเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว (systole) และคลายตัว (diastole) ตลอดเวลา โดยสลับกันไปเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการทำงานของ เซลล์ในหัวใจ เกิดเป็นระบบการนำไฟฟ้าของหัวใจ (conduction system)
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ บันทึกเป็นกราฟจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นโดยหัวใจ แผ่จากหัวใจไปยังทุกทิศทุกทางและไปถึงผิวหนัง สามารถวัดโดยแผ่นโลหะซึ่งเป็นอิเล็ก โทรดที่ต่อกับเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แล้วต่อกับร่างกายผู้ป่วย เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้า หัวใจจากความต่างศักย์ไฟฟ้า เกิดจากการวางขั้วไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบไว้ที่พื้นผิวของร่างกาย หรือเรียกว่า ขั้วไฟฟ้าหรือหลีด (lead) หากวางขั้นไฟฟ้าไว้ที่แขนขา เรียกว่า ลิมบ์หลีด (limb leads) โดยมีการวางตำแหน่งขั้วไฟฟ้า เพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ได้ในแต่ละหลีดที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการวางและชนิดของขั้วไฟฟ้า ที่นิยมมี 12 ขั้วไฟฟ้า
วัตถุประสงค์
1.ช่วยวินิจฉัยแยกโรค เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmias)โรคหัวใจโต (Cardiac hypertrophy) เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (Pericarditis) ภาวะไม่สมดุล ของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย (Electrotyte imbalances) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial ischemia) กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction; MI) เป็นต้น
2.เฝ้าติดตามการฟื้นตัวจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย
3.เพื่อประเมินผลจากยาที่ใช้รักษาโรคหัวใจ ได้แก่ cardiac glycosides,antiarrhythmics, antihypertensives และ vasodilators
4.เพื่อประเมินประสิทธิภาพเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker performance)
5.เพื่อระบุผลของการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic therapy)
การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร
2.บอกผู้ป่วยว่าใครเป็นผู้ตรวจ ตรวจที่ไหน และใช้เวลาตรวจนานเท่าไร
3.อธิบายถึงวิธีการตรวจว่าจะนำเอาอิเล็กโทรดมาวางสัมผัสกับผิวหนังที่แขนขา และทรวงอกของผู้ป่วย โดยไม่รู้สึกเจ็บ ขณะตรวจผู้ป่วยจะต้องผ่อนคลาย นอนราบ และหายใจตามปกติ ไม่ควรพูดเพราะเสียงของผู้ป่วยอาจจะรบกวนผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
4. ตรวจสอบประวัติของผู้ป่วยเกี่ยวกับการได้รับยารักษาโรคหัวใจ และบันทึกการใช้ยาไว้ในแฟ้มด้วย
การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจ
1.จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ (Supine position) ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถนอนราบได้ อาจให้อยู่ในท่านั่งศีรษะสูง (semi – Fowler position)
2.เปิดให้เห็นทรวงอกของผู้ป่วย ข้อเท้า ข้อมือทั้ง 2 ข้างเพื่อวางอิเล็กโทรดถ้าผู้ป่วยหญิงควรปิดบริเวณทรวงอกไว้จนกว่าจะต้องวางอิเล็กโทรด
3.เปิดเครื่องและตรวจสอบกระดาษ
การบันทึกโดยใช้ขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว
การบันทึกที่ได้ถือว่าเป็นขั้วไฟฟ้ามาตรฐาน (standard leads) ตำแหน่งของการวางขั้วไฟฟ้าอยู่ที่แขนและขา เรียกว่า standard limb leads อาศัยรูปสามเหลี่ยมที่มีหัวใจอยู่ตรงกลางที่เรียกว่า Einthoven’s triangle ซึ่งแต่ละด้านของสามเหลี่ยมประกอบด้วย limb leads (bipolar leads) 3 leads ได้แก่ lead I,II,III โดยใช้มุมทั้งสามของรูปสามเหลี่ยมเป็นต่ำแหนงวางขั้วไฟฟ้า คือ แขนขวา แขนซ้าย และขาซ้าย standard leads ประกอบด้วย
1.Lead I ได้จาการวางขั้วลบไว้บนแขนขวา และขั้วบวกไว้บนแขนซ้ายเมื่อเปรียบเทียบทิศทางของการวิ่งของคลื่นไฟฟ้าหัวใจแล้ว ขั้วที่อยู่บนแขนขงาจะเป็นลบมากกว่าแขนซ้าย บันทึกที่ได้จึงมีค่าเป็นบวก
2.Lead II วางขั้วลบไว้บนแขนขวา และขั้วบวกไว้บนขาซ้าย บันทึกที่ได้เป็นค่าบวกเนื่องจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจวิ่งลงมาทางขาซ้ายมากกว่า
3.Lead III วางขั้วลบไว้บนแขนซ้าย และขั้วบวกขาซ้าย ในทำนองเดียวกันบันทึกที่ได้เป็นบวกเช่นกัน
การบันทึกโดยใช้ขั้วไฟฟ้าขั้วเดียว
1.Limb leads ของการบันทึกโดยใช้ขั้วไฟฟ้าขั้วเดียว เนื่องจากการวางขั้วไฟฟ้าวิธีนี้จะเกิดความต่างศักย์น้อยมาก จำเป็นต้องมีการขยายบันทึกที่ได้เพื่อให้การวิเคราะห์หัวใจชัดเจนยิ่งขึ้น หรือเรียกว่า augmented limb leads ซึ่งจะขยายได้ประมาณร้อยละ 50 ใช้อักษรนำหน้าว่า ‘a’ การบันทึกแบบนี้จะเป็นการบันทึกในแนวระนาบหน้าหลัง (frontal plane) ประกอบด้วย
1.1 Lead aVR คือ augmented unipolar right arm lead ได้จากการวางขั้วบวกไว้บนแขนขวา
1.2 Lead aVL คือ augmented unipolar left arm lead ได้จาการวางขั้วบวกไว้บนแขนซ้าย
1.3 Lead aVF คือ augmented unipolar left leg lead ได้จาการวางขั้วบวกไว้บนขาซ้าย
2.Chest leads เป็นการบันทึกในแนวนอน (horizontal plane) ใช้อักษร’v’ แทนมาจากคำว่าเวคเตอร์ (vector) ตำแหน่งของการวางหลีด
(สำฟก) อยู่บริเวณ หน้าอกตรงกับตำแหน่งหัวใจเรียกว่า precordial area บันทึกที่ได้เป็นการวัดความต่าง ศักย์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในวงจรศักย์ไฟฟ้าหัวใจในขณะนั้น การวางขั้วไฟฟ้า โดยการเสนอ แนะจาก American Heart Association มีดังนี้
2.1 Lead V1 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ช่องซี่โครงที่ 4 ด้านขวาของกระดูกอก
2.2 Lead V2 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ซ่องซี่โครงที่ 4 ด้านซ้ายของกระดูกอก
2.3 Lead V3 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่แนวกึ่งกลางระหว่างตำแหน่งของ V2 กับ V4 ด้านขวาของกระดูกอก
2.4 Lead V4 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ช่องซี่โครงที่ 5 แนวกึ่งกลางกระดูกไหปลาร้าซ้าย
2.5 Lead V5 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ช่องซี่โครงที่ 5 ตามแนวด้านหน้าของรักแร้ซ้าย (left anterior axillary line)
2.6Lead V6 ได้จากการวางขั้วไฟฟ้าไว้ที่ซ่องซี่โครงที่ 5 ตามแนวตรงกลางของรักแร้ (mid axillary line)
ข้อควรระวัง
1.บอกผู้ป่วยไม่ให้พูด ให้อยู่นิ่งๆ ระหว่างตรวจ เพราะการพูดและการเคลื่อนไหวจะรบกวนการบันทึกผลการตรวจ
2.ถ้าผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจที่มีคลื่นแม่เหล็ก อาจมีผลต่อการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
หลักการแปลผล
1.อ่านอัตราการเต้นของหัวใจว่าเร็วหรือช้าผิดปกติหรือไม่ อัตราการบีบตัวของเอเตรียมเท่ากับอัตราการบีบตัวของเวนตริเคิลหรือไม่
2.ดูจังหวะการเต้นว่าสม่ำเสมอหรือไม่ โดยสังเกตจาก P – P และ R – R ว่าคงที่หรือไม่
3.สังเกตในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามี P wave ปรากฏให้เห็นทุกครั้งหรือไม่ และ P wave นั้นสัมพันธ์กับ QRS complex หรือไม่
4.ดูรูปร่างของ P wave และ QRS complex ว่าปกติหรือไม่ ลักษณะของคลื่นเหมือนกัน ทุกจังหวะการเต้นหรือไม่
5.ช่วง P – R interval, QRS complex และ QT interval อยู่ในมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่
6.แปลผลว่าหัวใจเต้นผิดปกติชนิดใด มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด ควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างไร
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการใช้เครื่องบันทึกเป็นกราฟการเต้นของหัวใจ โดยเครื่องบันทึกจะใช้ความเร็ว กระดาษ มี 2 ขนาด คือ 50 มิลลิเมตร / วินาที และ 25 มิลลิเมตร / วินาที โดยส่วนใหญ่การบันทึกจะใช้เครื่องความเร็ว 25 มิลลิเมตร / วินาที ซึ่ง ทำให้ 1 ช่องเล็ก (1 มิลลิเมตร) ของกระดาษบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีค่าเท่ากับ 1 / 25 = 0.04 วินาที 5 ช่องเล็ก หรือ 1 ช่องใหญ่ (5 มิลลิเมตร) เท่ากับ 0.2 วินาที ความสูงแต่ ละช่องเล็กคิดเป็นความแรงของกระแสไฟฟ้า เท่ากับ 0.1 มิลิโวลต์ ส่วนประกอบของ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ มีดังนี้
ผลการตรวจที่เป็นปกติ
หัวใจเต้นปกติ
P wave เป็นผลรวมของระยะเมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) ของเอเตรียม (atrium) หรือ atrial depolarization หรือเกิดจากการหดตัวของเอเตรียม รูปร่างกลมเรียบกว้างไม่เกิน 0.12 วินาที ความสูงไม่เกิน 2.5 มิลลิเมตร จะมี P wave 1 คลื่น ต่อ QRS complex 1 คลื่นหัวตั้งใน lead, I, II, AVF, V4 V5 V6 หัวกลับใน AVR
PR Interval เป็นระยะของการเริ่มมีสัญญาณไฟฟ้า จนถึงจุดเริ่มระยะ เมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) ของเวนตริเคิลความยาวปกติเท่ากับ 0.12 – 0.20 วินาที
QRS complex เกิดจากระยะเมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) และ การหดตัวของเวนตริเคิล ปกติ 60 – 100 ครั้ง / นาที จังหวะสม่ำเสมอลักษณะคลื่นสูงแคบ 0.04 – 0.10 วินาที
Q wave เกิดจากระยะเมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) ของผนังกั้น เวนตริเคิล ซึ่งเป็นส่วนแรกของเวนตริเคิลที่ถูกกระตุ้น มีความลึกไม่เกิน 1/2 ของคลื่น QRS และกว้างไม่เกิน 0.04 วินาที
ST segment เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างจุดสิ้นสุดของ QRS และเริ่มต้นของ T คือช่วงเวลาระยะเมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) สิ้นสุดลงและก่อนการกลับเข้าสู่สภาพปกติ (repolarization) จะเริ่มขึ้น ระยะนี้จะไม่มีความแตกต่างของประจุกไฟฟ้าที่ขั้วบวกและลบ จึงบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ปกติเป็นแนวราบ (isoelectric)
T wave เป็นระยะการกลับเข้าสู่สภาพปกติ (repolarization) ของ เวนตริเคิล ซึ่งเป็นระยะที่ต้องใช้พลังงาน คลื่น T จึงเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น ในภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือมีการเปลี่ยนแปลงของอิเล็กโทรไลต์ ปกติคลื่น T จะสูง ไม่เกิน 0.5 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อแขนขา และไม่เกิน 1 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อทรวงอกหัวตั้งกลมเรียบ ใหญ่กว่า P Wave
QT interval เป็นระยะระหว่างจุดเริ่มต้นของ QRS complex และการสิ้นสุดของ T wave วัดในขณะที่เวนตริเคิลซ้ายบีบตัวความยาวประมาณ 0.35 – 0.40 วินาที
U wave เป็นคลื่นบวกเล็ก ๆ เกิดตามหลัง T wave ปกติจะไม่พบ ความสูงเกิน 1 มิลลิเมตร
RR interval ระยะเวลาระหว่าง QRS complex ถึง QRS ถัดไป
ในภาวะปกติ โดยทั่วไปแล้วการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มักพบเฉพาะคลื่น P,Q,R,S, และ T มีการนำส่งกระแสไฟฟ้าจาก SA node สู่ AV node และเวนตริเคลิเป็นไปตามปกติ การเรียงตัวและช่วงของคลื่นเป็นไปอย่างปกติและอัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอระหว่าง 60 – 100 ครั้ง / นาที
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
หัวใจเต้นผิดปกติหรือมีความผิดปกติของหัวใจ
P wave หากเกิดความผิดปกติขงเอเตรียม (atrium) จะเห็นลักษณะของ P wave เปลี่ยนแปลงไป หัวใจห้องบนที่โตขึ้นจะทำให้เห็น P wave สูงขึ้นหรือ กว้างขึ้นได้ หากเอเตรียมบางบริเวณสร้างกระแสประสาทขึ้นมาเอง (ectopic foci) P wave จะมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation; AF) หากไม่มี P wave แสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจที่อื่นทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจ (pacemaker) แทนที่เอสเอโนด (SA node)
PR interval มี prolonged PR interval ยาวกว่า 0.20 วินาที พบในFirst degree AV block ทำให้เอวีโนด (AV node) ส่งต่อสัญญาณช้าลง จะเห็น PR interval ยาวกว่าปกติ short PR interval สั้นกว่า 0.12 วินาที พบใน Wolff – Parkinson – White syndrome
QRS complex ลักษณะคลื่นสูงแคบ 0.04 – 0.10 วินาที หากกว้างกว่า 0.12 แสดงว่ามีความผิดปกติของการนำไฟฟ้าในหัวใจห้องล่าง (ventricle) อาจพบ Q wave ตื้น ๆ ได้
Q wave หากพบว่ามีความลึกกว่า 1/2 ของคลื่น QRS หรือกว้างกว่า 0.04 วินาที มักจะเกิดจากหัวใจขาดคุณสมบัติทางไฟฟ้า เช่น กล้ามเนื้อหัวใจเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ระยะเมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) มีทิศทางที่ผิดปกติ ไม่เกิน 0.5 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อแขนขา และไม่เกิน 1 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อทรวงอกหัวตั้ง กลมเรียบ ใหญ่กว่า P Wave
QT interval เป็นระยะระหว่างจุดเริ่มต้นของ QRS complex และการสิ้นสุดของ T wave วัดในขณะที่เวนตริเคิลซ้ายบีบตัวความยาวประมาณ 0.35 – 0.40 วินาที
U wave เป็นคลื่นบวกเล็ก ๆ เกิดตามหลัง T wave ปกติจะไม่พบ ความสูงเกิน 1 มิลลิเมตร
RR interval ระยะเวลาระหว่าง QRS complex ถึง QRS ถัดไป
ในภาวะปกติ โดยทั่วไปแล้วการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มักพบเฉพาะคลื่นP,Q,R,S, และ T มีการนำส่งกระแสไฟฟ้าจาก SA node สู่ AV node และเวนตริเคลิเป็นไปตามปกติ การเรียงตัวและช่วงของคลื่นเป็นไปอย่างปกติและอัตราการเต้นของ หัวใจสม่ำเสมอระหว่าง 60 – 100 ครั้ง / นาที
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
หัวใจเต้นผิดปกติหรือมีความผิดปกติของหัวใจ
P wave หากเกิดความผิดปกติขงเอเตรียม (atrium) จะเห็นลักษณะ ของ P wave เปลี่ยนแปลงไป หัวใจห้องบนที่โตขึ้นจะทำให้เห็น P wave สูงขึ้นหรือ กว้างขึ้นได้ หากเอเตรียมบางบริเวณสร้างกระแสประสาทขึ้นมาเอง (ectopic foci) P wave จะมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation; AF) หาก ไม่มี P wave แสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจที่อื่นทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจ (pacemaker) แทนที่ เอสเอโนด (SA node)
PR interval มี prolonged PR interval ยาวกว่า 0.20 วินาที พบใน First degree AV block ทำให้เอวีโนด (AV node) ส่งต่อสัญญาณช้าลง จะเห็น PR interval ยาวกว่าปกติ short PR interval สั้นกว่า 0.12 วินาที พบใน Wolff – Parkinson – White syndrome QRS complex ลักษณะคลื่นสูงแคบ 0.04 – 0.10 วินาที หากกว้างกว่า 0.12 แสดงว่ามีความผิดปกติของการนำไฟฟ้าในหัวใจห้องล่าง (ventricle) อาจพบ Q wave ตื้น ๆ ได้
Q wave หากพบว่ามีความลึกกว่า 1/2 ของคลื่น QRS หรือกว้างกว่า 0.04 วินาที มักจะเกิดจากหัวใจขาดคุณสมบัติทางไฟฟ้า เช่น กล้ามเนื้อหัวใจเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ระยะเมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) มีทิศทางที่ผิดปกติ ไม่เกิน 0.5 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อแขนขา และไม่เกิน 1 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อทรวงอกหัวตั้งกลมเรียบ ใหญ่กว่า P Wave QT interval เป็นระยะระหว่างจุดเริ่มต้นของ QRS complex และการสิ้นสุดของ T wave วัดในขณะที่เวนตริเคิลซ้ายบีบตัวความยาวประมาณ 0.35 – 0.40 วินาที
U wave เป็นคลื่นบวกเล็ก ๆ เกิดตามหลัง T wave ปกติจะไม่พบ ความสูงเกิน 1 มิลลิเมตร
RR interval ระยะเวลาระหว่าง QRS complex ถึง QRS ถัดไป
ในภาวะปกติ โดยทั่วไปแล้วการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มักพบเฉพาะคลื่น P,Q,R,S, และ T มีการนำส่งกระแสไฟฟ้าจาก SA node สู่ AV node และเวนตริ เคลิเป็นไปตามปกติ การเรียงตัวและช่วงของคลื่นเป็นไปอย่างปกติและอัตราการเต้นของ หัวใจสม่ำเสมอระหว่าง 60 – 100 ครั้ง / นาที
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
หัวใจเต้นผิดปกติหรือมีความผิดปกติของหัวใจ
P wave หากเกิดความผิดปกติขงเอเตรียม (atrium) จะเห็นลักษณะของ P wave เปลี่ยนแปลงไป หัวใจห้องบนที่โตขึ้นจะทำให้เห็น P wave สูงขึ้นหรือ กว้างขึ้นได้ หากเอเตรียมบางบริเวณสร้างกระแสประสาทขึ้นมาเอง (ectopic foci) P wave จะมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation; AF) หาก ไม่มี P wave แสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจที่อื่นทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจ (pacemaker) แทนที่ เอสเอโนด (SA node)
PR interval มี prolonged PR interval ยาวกว่า 0.20 วินาที พบใน First degree AV block ทำให้เอวีโนด (AV node) ส่งต่อสัญญาณช้าลง จะเห็น PR interval ยาวกว่าปกติ short PR interval สั้นกว่า 0.12 วินาที พบใน Wolff – Parkinson – White syndrome
QRS complex ลักษณะคลื่นสูงแคบ 0.04 – 0.10 วินาที หากกว้างกว่า 0.12 แสดงว่ามีความผิดปกติของการนำไฟฟ้าในหัวใจห้องล่าง (ventricle) อาจพบ Q wave ตื้น ๆ ได้
Q wave หากพบว่ามีความลึกกว่า 1/2 ของคลื่น QRS หรือกว้างกว่า 0.04 วินาที มักจะเกิดจากหัวใจขาดคุณสมบัติทางไฟฟ้า เช่น กล้ามเนื้อหัวใจเป็นพังผืด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ระยะเมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) มีทิศทางที่ผิดปกติ ไม่เกิน 0.5 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อแขนขา และไม่เกิน 1 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อทรวงอกหัวตั้งกลมเรียบ ใหญ่กว่า P Wave
QT interval เป็นระยะระหว่างจุดเริ่มต้นของ QRS complex และการสิ้นสุดของ T wave วัดในขณะที่เวนตริเคิลซ้ายบีบตัวความยาวประมาณ 0.35 – 0.40 วินาที
U wave เป็นคลื่นบวกเล็ก ๆ เกิดตามหลัง T wave ปกติจะไม่พบความสูงเกิน 1 มิลลิเมตร
RR interval ระยะเวลาระหว่าง QRS complex ถึง QRS ถัดไป
ในภาวะปกติ โดยทั่วไปแล้วการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ มักพบเฉพาะคลื่น P,Q,R,S, และ T มีการนำส่งกระแสไฟฟ้าจาก SA node สู่ AV node และเวนตริเคลิเป็นไปตามปกติ การเรียงตัวและช่วงของคลื่นเป็นไปอย่างปกติและอัตราการเต้นของ หัวใจสม่ำเสมอระหว่าง 60 – 100 ครั้ง / นาที
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
หัวใจเต้นผิดปกติหรือมีความผิดปกติของหัวใจ
P wave หากเกิดความผิดปกติขงเอเตรียม (atrium) จะเห็นลักษณะของ P wave เปลี่ยนแปลงไป หัวใจห้องบนที่โตขึ้นจะทำให้เห็น P wave สูงขึ้นหรือ กว้างขึ้นได้ หากเอเตรียมบางบริเวณสร้างกระแสประสาทขึ้นมาเอง (ectopic foci) P wave จะมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation; AF) หาก ไม่มี P wave แสดงว่ากล้ามเนื้อหัวใจที่อื่นทำหน้าที่กระตุ้นหัวใจ (pacemaker) แทนที่เอสเอโนด (SA node)
PR interval มี prolonged PR interval ยาวกว่า 0.20 วินาที พบใน First degree AV block ทำให้เอวีโนด (AV node) ส่งต่อสัญญาณช้าลง จะเห็น PR interval ยาวกว่าปกติ short PR interval สั้นกว่า 0.12 วินาที พบใน Wolff – Parkinson – White syndrome
QRS complex ลักษณะคลื่นสูงแคบ 0.04 – 0.10 วินาที หากกว้างกว่า 0.12 แสดงว่ามีความผิดปกติของการนำไฟฟ้าในหัวใจห้องล่าง (ventricle) อาจพบ Q wave ตื้น ๆ ได้
Q wave หากพบว่ามีความลึกกว่า 1/2 ของคลื่น &nb ST segment ยกสูง (ST elevated) หรือต่ำกว่าปกติอาจเกิดจากความผิดปกติ เช่น ภาวะหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย โปแตสเซียมสูงหรือต่ำ ค่าปกติของส่วนนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการเต้นของหัวใจ ST segment ต่ำ (ST depressed) ในรายที่ได้รับยาดิจิทาลิส (digitalis) ภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ หัวใจห้องล่างซ้ายโต T wave หาก T wave สูงเกิน 0.5 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อแขนขา และเกิน1 มิลลิโวลต์ในขั้วต่อทรวงอก พบเมื่อมีภาวะโปแตสเซียมสูงในเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย T wave หัวกลับ (T – inverted) พบในรายที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ T wave แบบราบพบในผู้ป่วยเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (hypothyroidisum) T wave สูงแหลมพบเมื่อโปแตสเซียมในเลือดสูง T wave กว้างแบนพบเมื่อโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
QT interval ความยาวกว่าปกติ(prolonged QT interval) ในรายที่กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หัวใจล้มเหลว และมักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ที่ต่ำลง เช่น ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำโปแตสเซียมต่ำ แมกนีเซียมต่ำ เป็นต้น QT interval สั้นกว่าปกติ (shortened QT interval) มีสาเหตุจากแคลเซียมสูงใน รายที่ได้รับยาดิจิทาลิส ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
U wave พบ U wave สูงเด่นชัดได้ในกรณีภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ หรือเวนตริเคิลขยายโตขึ้น
ชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติหรือชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
หัวใจเต้นผิดปกติ (arrhythmia) หมายถึง การที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นผิดปกติในอัตราเร็ว ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจมีความผิดปกติในอัตรา จังหวะ หรือรูปร่างอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือผิดปกติหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งตามปกติเอสเอโนด (SA node) จะให้กำเนิดประจุไฟฟ้า 60 – 100 ครั้ง / นาที ความผิดปกติของการกำเนิดคลื่นไฟฟ้าที่สำคัญ มีดังนี้
1.Sinus tachycardia เป็นภาวะที่คลื่นหัวใจเหมือน normal sinus แต่อัตราการเต้นเร็วกว่า 100 ครั้ง / นาที มักพบในภาวะออกกำลังกาย มีไข้ ภาวะวิตกกังวลหรือเครียด ภาวะที่มีการหลั่งแคทีโคลามีนเพิ่มขึ้น ภาวะโปแตสเซียมต่ำ ภาวะ พร่องออกซิเจน สูญเสียเลือดอย่างเฉียบพลัน ภาวะเลือดจาง ช็อก ภาวะหัวใจล้มเหลวมีความเจ็บปวด ได้รับยากระตุ้นระบบประสาทวิมพาเทติก ยากดการทำงานของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ภาวะ sinus tachycardia มักมีปฏิกิริยาสนองตอบทางสรีระ ของร่างกาย ตามปกติไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ควรแก้ไขสาเหตุที่ไปกระตุ้นหัวใจจึงจะทำ ให้หัวใจเต้นช้าลงจนปกติเองได้ เช่น ให้ยาลดไข้ งดใช้ยาที่กระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก ยกเว้นหากเกิดมากเกินไปโดยไม่เหมาะสมแก่สาเหตุ อาจรักษาด้วยยากลุ่ม beta blocker ได้การกด carotid sinus อาจช่วยลดอัตราการเต้นได้ชั่วคราว และยังช่วยบ่งบอกให้รู้ว่าไม่ใช่การเต้นผิดจังหวะประเภทอื่น
2.Sinus bradycardia เป็นภาวะที่คลื่นหัวใจเหมือน normal sinus แต่ อัตราการเต้นช้ากว่า 60 ครั้ง / นาที หากช้ากว่า 40 ครั้งต่อนาทีมักมีความดันดลหิตต่ำ ร่วมด้วยหรือมีอาการหน้ามืดได้ ซึ่งถือว่าเป็นกรณีเร่งด่วน ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของ หัวใจ เช่น ฉีด atropine หรือ isoproterenol หยดเข้าทางหลอดเลือดดำ หากไม่ได้ ผลอาจต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) สาเหตุที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจ ตายเฉียบพลัน ผลจากยากลุ่มปิดกั้นเบต้า (beta blocker)
3. Premature atrial contraction (PAC) เป็นภาวการณ์เต้นของหัวใจห้องบนซึ่งเกิดจากการเหนี่ยวนำโดยจุดผิดปกติ (ectopic foci) ที่ไม่ใช่ SA node ทำให้เกิด P wave เร็วกว่ากำหนด บางครั้งซ่อนอยู่บน T wave ทำให้รูปร่างของ T wave เปลี่ยนไป บางครั้ง PAC ไม่สามารถเหนี่ยวนำหัวใจห้องล่างได้ จึงไม่มี QRS complex สาเหตุของความผิดปกติเกิดจากลิ้นหัวใจตีบ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษจากยาดิจิทาลิส
เมื่อเกิดภาวะ PAC อาจไม่รู้สึกผิดปกติ การดูแลผู้ป่วย สังเกต ติดตาม และบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจหากพบ PAC เกิน 6 ครั้ง / นาที ต้องรายงานให้แพทย์ทราบ
4. Atrial flutter เกิดจากมี ectopic foci ใน atrium กระตุ้นให้มี Depolarization อย่างเร็วและส่ำเสมอ 250 – 350 ครั้ง / นาที ทำให้ P wave เป็นรูป ฟันเลื่อย QRS complex เกิดจากการเหนี่ยวนำไฟฟ้าจากเอเตรียมไปยังเวนตริเคิล จึงไม่สัมพันธ์กัน สาเหตุเกิดจากความเครียด บุหรี่ แอลกอฮอล์ หรือเกิดจากโรคหัวใจ เช่น โรคหัวในรูมาติก โรคหลอดเลือดหัวใจแข็ง หัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจตาย หากอัตราการเต้นของหัวใจห้องล่างปกติไม่ต้องรักษา ยกเว้นมีอาการเจ็บหน้าอก ภาวะหัวใจ ล้มเหลวร่วมด้วย ให้ยาดิจิทาลิส หรือการกระตุ้นจังหวะหัวใจด้วยไฟฟ้า (cardioversion)
การดูแลผู้ป่วย สังเกตและบันทึก EKG โดยเฉพาะช่วงที่ผิดปกติ สังเกตอาการเจ็บหน้าอกหรืออาการของภาวะหัวใจล้มเหลวต้องรีบรายงานให้แพทย์ทราบ และควรเตรียมเครื่องกระตุ้นหัวใจให้พร้อม
5.Atrial fibrillation (AF) เป็นภาวะที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วหรือสั่นพริ้วเกิดจาก ectopic foci ในหัวใจห้องบน (atrium) ปล่อยประจุไฟฟ้าออกมาถี่มากและ ไม่สม่ำเสมอ อัตราเต้นเร็วมากกว่า 400 – 700 ครั้ง / นาที สาเหตุของการเกิด atrial brillation มีทั้งที่เกิดจากหัวใจ เช่น โรคของลิ้นหัวใจ หัวใจห้องล่างซ้ายโต โรคหลอด เลือดหัวใจ เยื่อยุหัวใจอักเสบ (pericarditis) ภาวะโรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือเกิดจากสาเหตุที่ไม่ใช่หัวใจ เช่น ปวดอักเสบ การผ่าตัด การการไม่สมดุลของเกลือแร่ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (pulmonary embolism) การได้รับสารจำพวกคาเฟอีน ผู้สูงอายุ กรรมพันธุ์ ภาวะเครียด อ้วน หรือไม่ทราบสาเหตุ การรักษาขึ้นอยู่กับปริมาตร ของเลือดที่หัวใจสามารถส่งออกได้ หากผู้ป่วยมีอาการของเวนตริเคิลล้มเหลวหรือเจ็บหน้าอก แพทย์อาจจะรักษาโดยการช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าเพื่อปรับอัตราการเต้นของหัวใจใหม่ หากไม่ฉุกเฉินมากอาจให้ยาดิจิทาลิสฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ตามด้วยขนาดที่ให้ต่อเนื่องเพื่อควบคุมเวนตริเคิลให้เต้นต่ำกว่า 100 ครั้ง / นาที
6.Premature ventricular contraction (PVC) เป็นความผิดปกติที่เกิดจาก ectopic foci ในหัวใจห้องล่าง จึงพบ QRS wave โดยไม่มี P wave นำมาก่อน และ QRS ที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างผิดปกติ มีความกว้างเกิน 0.12 นาที จะมีช่วงหยุดหลังจากนั้นเนื่องจาก Refractory period ของ PVC จะไปกันไม่ให้หัวใจเต้นตามปกติได้ ชั่วขณะหนึ่ง ST segment และ T wave จะชี้ไปในทางตรงกันข้าม สาเหตุของ PVC เกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน พิษของยาดิจิทาลิส การรักษาโดยแก้ไขที่สาเหตุ
อาการของผู้ป่วยที่มี PVC ผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันได้มาก ได้แก่ อาการใจสั่น หน้ามืดเป็นลม จุกแน่นหน้าอก และอ่อนเพลียไม่มีแรง เพื่อพิจารณา ลักษณะอาการของผู้ป่วยร่วมกับผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถทำนายความรุนแรงของโรคได้จากตัวบ่งชี้บางประการ เช่น ความถี่ของ PVC มากกว่า 10 ครั้งต่อชั่วโมง หรือมากว่า 6 ครั้งต่อนาที นอกจากนี้ลักษณะของ PVC ยังอาจเกิดเป็นคู่ ๆ เรียกว่า bigeminy หรือเกิดหนึ่งเว้นสอง เรียกว่า trigrminy หรือเกิดหนึ่งเว้นสาม เรียก ว่า quadrigeminy
การดูแลผู้ป่วย สังเกต ติดตาม และบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หากพบ PVC เกิดมาก จัดให้ผู้ป่วยนอนพัก ดูแลการให้ยา คิดตามผลระดับโปแตสเซียมในเลือด หาก ผู้ป่วยได้รับยาดิจิทาลิว แล้วยังพบ PVC ก่อนให้ยาครั้งต่อไปต้องรายงานให้แพทย์ทราบ
7.Ventricular tachycardia (VT) เป็นภาวะที่เวนตริเคิลเต้นในอัตรา ที่เร็วมาก แต่สม่ำเสมอ 101 – 250 ครั้ง / นาที ไม่มี P wave ส่วน QRS รูปร่างผิด ปกติและกว้างกว่า 0.12 วินาทีสาเหตุของการเกิด VT อาจเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ เช่น ก่อนหัวใจวาย โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อ หัวใจอักเสบ เกิดความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ โรคเลือด หรือจากยาบางชนิด อาการของ VT รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิต ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเจ็บหน้าอกใจสั่น (palpitation) เป็นลมหมดสติ (syncope) หัวใจหยุดทำงาน (cardiac arrest) การรักษา VT สามารถรักษาได้โดยการใช้สายสวนชนิดพิเศษจี้จุดกำเนิดความผิดปกติในหัวใจด้วยพลังงานวิทยุ (catheter ablation) โดยไม่ต้องผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (tachycardia) มักได้รับการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator; ICD) เพื่อควบคุมภาวะหัวใจเต้นเร็วมากให้ กลับคืนสู่ปกติและป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคหัวใจ (sudden cardiac death) โดยแพทย์อาจให้ยาร่วมกับการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้น เร็วกว่าปกติ (tachycardia)
การดูแลผู้ป่วย ต้องบันทึก EKG ตลอดเวลา หากมีการเปลี่ยนแปลงต้องพร้อม ที่จะช่วยเหลือทันที ค้นหาสาเหตุและวางแผนแก้ไข เตรียมพร้อมในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในภาวะฉุกเฉิน (cardiopulmonary resuscitation;CPR) และเตรียมการ กระตุ้นจังหวะหัวใจด้วยไฟฟ้า (defibrillation) ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นหัวใจห้องล่างสั่นระริก (ventricular fibrillation; VF)
8.Ventricular fibrillation (VF) หรือหัวใจห้องล่างสั่นระริก เกิดขึ้นจากเวนตริเคิลสร้างกระแสประสาทขึ้นเองหลายแห่ง และเกิดไม่พร้อมกัน จึงมีทั้งระยะ เมื่อถูกกระตุ้น (depolarization) กลับเข้าสู่สภาพปกติ (repolarization) ในเวลาเดียวกัน เป็นผลให้ไม่มีการบีบตัวของเวนตริเคิล จึงไม่มีเลือดส่งออกจากหัวใจ พบบ่อย

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา