25 มิ.ย. 2022 เวลา 12:08 • สุขภาพ
การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy: ECT) คืออะไร
22
การรักษาทางจิตเวชวิธีหนึ่ง โดยใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นสมองของผู้ป่วยทำให้เกิดอาการชัก เพื่อรักษาอาการทางจิตเวชให้ดีขึ้น
22
ปัจจุบันมีการนำการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้ามาใช้ในการรักษาโรคทางจิตเวชต่างๆ คือ โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือต้องการการรักษาอย่างรีบด่วน ได้แก่ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ มีอาการก้าวร้าว หรือมีความคิดฆ่าตัวตาย
ประเภทของการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า มี 2 ประเภท คือ
1. การรักษาด้วยไฟฟ้าแบบ Unmodified หมายถึง การรักษาด้วยไฟฟ้าโดยไม่ได้ใช้ยานำสลบ
2. การรักษาด้วยไฟฟ้าแบบ Modified หมายถึง การรักษาด้วยไฟฟ้าโดยใช้ยานำสลบ
4
ทั้งนี้ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาประเภทใด จำนวนครั้งและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้เท่าใด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ซึ่งจิตแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้ประเมินก่อนการรักษาด้วยไฟฟ้า
ข้อดี การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า
11
จะช่วยให้อาการทางจิตของผู้ป่วยทุเลาอย่างรวดเร็ว สามารถคงสภาพไม่ให้อาการกำเริบซ้ำ การรักษาด้วยไฟฟ้าจึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตรุนแรงมีความจำเป็นต้องรับการรักษาเร่งด่วนเพื่อควบคุมอาการของผู้ป่วยให้สงบลง
เช่น ผู้ป่วยก้าวร้าวรุนแรง มีอาการคลุ้มคลั่ง หรือผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้ารุนแรงที่มีความคิดฆ่าตัวตายตลอดเวลาหรือมีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย นอกจากผู้ป่วยจิตเวชที่จำเป็นต้องให้การรักษาแบบเร่งด่วนแล้ว
การรักษาด้วยไฟฟ้าสามารถรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่ตอบสนองต่อยาหรือมีความเสี่ยงต่อการใช้ยาเช่น ผู้ป่วยจิตเวชที่กำลังตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยจิตเวชสูงอายุ หรือผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่สามารถทนต่ออาการข้างเคียงของยาได้ ผู้ป่วยจิตเวชที่ถูกพิจารณาให้รักษาด้วยไฟฟ้าจะต้องเข้ารับการรักษาประมาณ 6-12 ครั้งอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
จำนวนครั้งและความถี่ในการรักษาด้วยไฟฟ้าอาจมากน้อยแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้จิตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินผลการรักษาและพิจารณายุติการรักษาด้วยไฟฟ้าเมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือพบความเสี่ยงที่ไม่อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้าต่อไปได้
อาการข้างเคียง การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า
มีตั้งแต่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไม่สบายตัว สับสน สูญเสียความจำชั่วคราว บางรายมีผลข้างเคียงที่รุนแรงอาจทำให้กระดูกหัก ข้อเคลื่อน หรืออาจเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคทางกายร่วม เช่น โรคหัวใจ โรคทางสมอง โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ปัจจุบันได้มีการนำการรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้ามาใช้อย่างแพร่หลาย และพบว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช ถึงแม้จะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย แต่ก็ทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นมาก สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
18

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา