19 ม.ค. 2021 เวลา 09:55 • การศึกษา
“รัก หรือ ชอบ ?”
จะทำอย่างไร เมื่อไม่แน่ใจว่า “รัก หรือ ชอบ”
บทความนี้จะชวนท่านผู้อ่าน
มาทำความเข้าใจในเรื่องของ
ความแตกต่างระหว่าง
“ความรัก กับ ความชอบ”
ซึ่งประสบการณ์ทั้งสองอย่างนี้
มักเกิดขึ้นกับชีวิตของใครสักคน
“ที่ผูกพันกัน”
โดยทั้งความรักและความชอบ
สามารถสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในชีวิตได้ทั้งคู่
แต่ผลที่ตามมา กลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
“เมื่อความรักนั้นมั่นคง-แต่ความชอบนั้นชั่วครู่”
ด้วยความแตกต่างเช่นนี้
จึงสร้างความสับสนให้เกิดขึ้น
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ารู้สึกอะไรกันแน่
และจะตัดสินใจกับความสัมพันธ์ที่มีอย่างไร
มาเรียนรู้ไปพร้อมกันครับ ^^
คุณสมบัติหนึ่งที่ “ความรัก”
มีให้เห็นอย่างเด่นชัดก็คือ
“การไม่ยึดติดครอบครอง”
ซึ่งเป็นการให้อิสระกับคนรักได้เติบโต
และมีชีวิตในเส้นทางของตัวเอง
โดยไม่จำเป็นว่า
“จะต้องอยู่ด้วยกันหรือไม่...จะต้องเป็นไปในแบบที่ต้องการหรือไม่”
“รัก” จึงไม่ถูกจำกัดไว้ในขอบเขตของระยะทาง
และไม่ถูกเจือปนด้วยการควบคุมคนรัก
“ความรัก...ไม่อาศัยเงื่อนไข”
ส่วนคุณสมบัติเด่นของ “ความชอบ”
มักเกี่ยวข้องกับความรู้สึกพึงพอใจ
“พอใจ” ที่ได้อยู่ใกล้และเป็นเจ้าของ
“สมหวัง” เมื่อคนรักเป็นไปในแบบที่ต้องการ
จึงเท่ากับว่า
“ความชอบ” ถูกจำกัดอยู่ในอาณาเขตของระยะทาง
และถูกบีบรัดด้วยการควบคุมบงการคนรัก
“ความชอบ...อาศัยเงื่อนไขบางอย่าง...เพื่อความพอใจของตนเอง”
แล้วทั้งความรักและความชอบ
“เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์อย่างไร”
จุดนี้เองที่คุณสมบัติเด่นของประสบการณ์ทั้งสอง
“จะทำงานของตัวเอง”
ผลที่ตามมา จึงสังเกตได้จากคุณภาพของความสัมพันธ์
และ “ท่าทีของความรัก / ความชอบ” จากเรื่องราวต่อไปนี้...
-เมื่ออยู่ร่วมกันไม่ได้ “ทำความเข้าใจและยินดีจากกัน / ฝืน และควบคุมอีกฝ่ายไม่ให้ไป”
-เมื่อเกิดความไม่เข้าใจ “สื่อสารและปรับตัว / ไม่พูดคุย และกดดันให้อีกฝ่ายยอม”
-เมื่อเกิดความขัดแย้ง “รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเผลอทำ / โยนความผิดให้คนอื่น”
“ความรัก ให้ความสำคัญกับความจริง / ความชอบ ให้ความสำคัญกับความพอใจ”
กล่าวโดยสรุป คือ
ความรัก ให้คุณค่าแก่การอยู่กับความเป็นจริง
ความชอบ ให้คุณค่ากับการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
เมื่อความรัก
“ไม่ได้ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางแบบความชอบ”
ความสัมพันธ์จึงมีคุณภาพมากกว่า
“ความรักที่แท้”
ล้วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยมากมาย
เริ่มตั้งแต่ความเข้าใจ, การใส่ใจ, การสื่อสาร,
การแก้ปัญหา, การปรับตัว, การมีพื้นที่ให้เติบโต
รวมทั้งการดูแลซึ่งกันและกัน
“ความสัมพันธ์ที่มีรากฐานจากรัก...จึงมีความมั่นคงและยืดหยุ่น”
แตกต่างกับความชอบ
“ซึ่งมีรากฐานจากความเอาแต่ใจ...จึงเต็มไปด้วยความขัดแย้งและแข็งกร้าว”
ถึงตรงนี้
เราจึงสามารถสังเกตตนเองได้ว่า
“เราใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางเพียงใด”
แล้วหากพบว่า
เรายังคงแสดงความไม่พอใจต่อคนรัก
หรือ เรายังคงแสดงความเป็นเจ้าของเพื่อควบคุมคนรัก
นี่ก็อาจเผยคำตอบออกมาแล้วว่า
“เราเพียงแค่ชอบที่คนรักเป็นไปดั่งใจ...เราไม่ชอบที่คนรักไม่ได้ดั่งใจ”
จิตใจของมนุษย์ที่ถูกคุมขังอยู่ในคุกเล็ก ๆ
ที่ชื่อว่า “ความชอบ” เช่นนี้
ล้วนทำงานแบบเดียวกัน
นั่นคือ
“ถูกกดดันด้วยความคาดหวังเช่นเดียวกัน”
ในชีวิตของมนุษย์
สามารถถูกซัดไปมา
“ระหว่างความรัก กับ ความชอบ”
บางเวลาก็รักได้ แต่บางเวลาก็แค่ชอบ
บางคราวก็มอบอิสระให้ แต่บางคราวก็บีบคั้น
บางจังหวะก็ไร้เงื่อนไข แต่บางจังหวะก็กดดันด้วยความคาดหวัง
“ความรู้ตัว การอยู่กับปัจจุบัน การยอมรับความจริง และการปรับตัว จึงมีส่วนสำคัญ”
ซึ่งส่งผลให้เราสามารถเป็นอิสระจากกรงขังแห่งความชอบได้เสมอ
และด้วยเหตุนี้เอง ชีวิตจึงมอบอิสระให้เราเลือกมากมาย
-เริ่มตั้งแต่วินาทีที่จะเลือกสานสัมพันธ์
-มาถึงจุดที่ต้องปรับตัว
-สุดเส้นทางที่ต้องตัดสินใจ
“เราจะเลือกด้วยความรัก หรือ เลือกด้วยความชอบ”
นี่จึงเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์
คล้ายกับให้เลือกระหว่าง
“ยาขมที่แก้พิษ กับ น้ำหวานที่ดื่มแล้วป่วยไข้”
ดังนั้น
ในโมงยามของความไม่แน่ใจ
“ที่ไม่รู้ว่า...รู้สึกรัก หรือ รู้สึกชอบกันแน่”
เราอาจค่อย ๆ ทบทวน
และสังเกตหัวใจตนเองอย่างซื่อตรง ว่า
“ความสัมพันธ์นี้...เติมเชื้อไฟให้กับความเอาแต่ใจเพียงใด”
หากเราค้นพบแล้วว่า ความสัมพันธ์ครั้งนี้
-เป็นไปเพื่อสนองความพอใจ
-เป็นไปเพื่อรู้สึกถึงการได้ควบคุมผู้อื่น
-เป็นไปเพื่อให้ตนเองได้เป็นคนสำคัญ
-เป็นไปเพื่อยึดเกาะใครสักคนเอาไว้
“ถ้าเป็นเช่นนี้...เราถูกคุกแห่งความชอบจองจำเสียแล้ว”
เส้นทางต่อไปย่อมนำไปสู่ความคับแคบ และขัดใจในที่สุด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา