26 ม.ค. 2021 เวลา 13:28 • การศึกษา
“การยื้อความสัมพันธ์”
เพราะอะไร มนุษย์ถึงชอบ “ยื้อความสัมพันธ์”
บทความนี้จะชวนท่านผู้อ่าน
มาทำความเข้าใจในเรื่องของ
“การยื้อความสัมพันธ์”
ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ทำร้ายชีวิต
หรือ เรียกได้ว่า “เป็นพิษกับชีวิตจิตใจ”
แต่ถึงจะทำร้ายเพียงใด
กลับพยายามยื้อเอาไว้อย่างเต็มกำลัง
“ยอมถูกขังไว้ในกรงของความสัมพันธ์ที่ทำร้าย”
เหตุใดมนุษย์จึงไม่ยอมปล่อยมือเมื่อถึงเวลา
เพราะอะไรถึงไม่ยอมบอกลาเมื่อต้องจากกัน
“แล้วจะทำอย่างไรถึงจะสามารถเป็นอิสระได้เสียที”
มาเรียนรู้ไปพร้อมกันครับ ^^
ทุกการยื้อ และการพยายามฝืนความจริง
ล้วนแอบซ่อนไปด้วย “การแอบหวังผล”
ซึ่งตัวการแอบหวังผลนี้
มักจะคอยตั้งเงื่อนไขมากมาย
“เขื่อนไขไปสู่สิ่งที่ปรารถนา”
เช่น
-ถ้าฉันทนต่อไป...เค้าคงจะดีขึ้น
-ถ้าฉันยอมมากกว่านี้...เค้าต้องเปลี่ยนไปแน่นอน
-ถ้าฉันยังให้โอกาส...ความสัมพันธ์คงลงตัวมากกว่านี้
-ถ้าฉันไม่คิดมาก...ทุกอย่างก็จะโอเค
ฯลฯ
การแอบหวังผล
จึงคล้ายกับการสร้างบทละคร / บทหนัง
แล้วนำมาเล่นในชีวิตจริง
โดยแอบหวังใจอยู่ลึก ๆ ว่า
“ชีวิตของตนเอง...จะสมหวังในสักวัน”
บทละครที่มนุษย์สร้างให้กับตนเอง
มักจะหลงลืมบางสิ่งที่สำคัญไป
นั่นคือ
“คนที่อยู่ในความสัมพันธ์...ไม่รู้ตัวว่ามีบทละครนี้”
“คนที่อยู่ในความสัมพันธ์...ไม่ยินยอมเล่นบทละครนี้ด้วย”
เมื่อไม่รู้ตัว และไม่ยินยอมเช่นนี้
เค้าจึงได้แสดงออก และ ปฏิบัติตัวตามปกติ
“ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไร”
ผลที่ตามมา
จึงมอบความผิดหวัง และความเจ็บปวดมากมาย
ให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของบทละครชีวิต
พร้อมกับคำถามที่พ่วงท้ายมาอย่างยืดยาว...
-ฉันทนมาขนาดนี้...ทำไมถึงไม่เปลี่ยนไป
-จะต้องทำดีอีกนานแค่ไหน...ถึงจะสมหวัง
“เมื่อไหร่จะสมปรารถนา”
เบื้องหลังของการยื้อความสัมพันธ์
กลับซ่อนไปด้วยเงื่อนไขที่รอวันบรรลุผล
“ยื้อจนกว่า...จะสมหวัง”
แล้วยิ่งยื้อมากเท่าไหร่
กลับยิ่งสูญเสียความเป็นตัวเอง
กลับเป็นการทำลายความสุขในชีวิต
กลับต้องชอกช้ำจากความผิดหวัง
“แลกความสุข...เพื่อคำว่าสมหวัง”
ซึ่งเหมือนเป็นการใช้เครื่องมืออย่างผิดวิธีมาตั้งแต่ต้น
แต่กลับหวังผลลัพธ์ที่อยากได้เสียอย่างนั้น
ปัจจัยที่จะยิ่งซ้ำเติมให้บุคคลไม่ยอมก้าวไปไหน
หรือ ยินยอมขังตัวเองไว้ในคุกแห่งความสัมพันธ์
“นั่นคือ...ความกลัว”
ความกลัวมักทำงานอย่างแนบเนียน
เป็นถ้อยคำที่แอบพูดอย่างลับ ๆ ในใจ ว่า
“แบบนี้ดีที่สุดแล้ว...อย่าเปลี่ยนแปลงเลย”
แล้วหากบุคคลยินยอมพร้อมใจที่จะเชื่อว่า...
-นี่คือความสัมพันธ์ที่ดีที่สุด
-นี่คือพื้นที่ซึ่งปลอดภัยที่สุด
-นี่คือคนที่รักฉันมากที่สุด
-ไม่มีใครที่ดีกว่านี้อีกแล้ว
ด้วยเหตุนี้ ยิ่งไม่ต้องแปลกใจเลยว่า
“เหตุใดใครคนนั้น...จึงไม่ยอมออกจากความสัมพันธ์ที่เป็นพิษเสียที”
เนื่องจากเผลอไปยึดติดกับความปลอดภัยปลอม ๆ
การยึดติดอยู่กับความปลอดภัยปลอม ๆ เช่นนี้
ล้วนทำให้บุคคลไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
โดยเลือกที่จะจมอยู่กับความทุกข์
และปิดกั้นตัวเองอยู่กับทางเลือกอันจำกัด
“การยื้อคือทางเลือกเดียว...และดีที่สุด”
คำว่า “ดี” จึงกลายเป็นสถานที่ซึ่งจองจำชีวิต
ล่ามโซ่ตรวนจิตใจไว้กับสิ่งที่ทำร้าย
“สร้างกำแพงปิดบังความจริงของชีวิต”
ซ้ำเติมด้วยการหลอกตนเองต่อไปไม่จบสิ้น
ผลจากการยื้อและหลอกตนเอง
จึงลงเอยด้วยความทุกข์
ซึ่งความรู้สึกไม่พึงพอใจเหล่านี้
ได้ทำหน้าที่ของตัวเองอย่างดีที่สุดแล้ว
นั่นคือ “เปิดเผยความจริง”
ดังนั้น
“การยื้อ” จึงเท่ากับเป็นการรอคอยอย่างทรหด
เป็นการอยู่กับความฝัน มากกว่าความเป็นจริง
ด้วยเหตุนี้ เบื้องหลังของการยื้อความสัมพันธ์
จึงเต็มไปด้วยประสบการณ์มากมาย...
-การเฝ้ารอในสิ่งที่อยากได้
-การแอบหวังผลบางอย่าง
-การเข้าใจผิดไปว่า ความสัมพันธ์ที่มีนั้นดีที่สุดแล้ว
-การหลอกตัวเองและไม่ยอมรับความจริง
-ความกลัว และการไม่อยากเปลี่ยนแปลง
“การไม่อยู่กับความจริงของชีวิต”
ดังนั้น
ความทุกข์จึงมักเข้ามาสั่นสะเทือนชีวิตจิตใจ
เพื่อย้ำเตือนให้มนุษย์กลับมาอยู่กับความจริง
หรืออย่างน้อยที่สุด
ก็ช่วยให้มนุษย์กลับมาตั้งคำถามว่ากับตนเองว่า
“พึงพอใจกับชีวิตแบบนี้เพียงใด...อยากเปลี่ยนแปลงแค่ไหน”
จุดเริ่มต้นแห่งความเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้น
เมื่อเรากล้าสบตากับความจริงที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์อย่างซื่อตรง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา