6 ก.พ. 2021 เวลา 07:04 • ไลฟ์สไตล์
“เรากำลังหมดไฟ หรือแค่ยังไม่ได้เริ่ม”
แด่เธอ “คนนั้น” 🌷
1
ในทุกๆครั้งที่จูนนั่งร่างบทความสำหรับบล็อก เพื่อนข้างๆมักจะถามเสมอว่า “ทำไรอะ” “เขียนไรหรอ”
และทุกครั้งที่อธิบายให้ฟัง ก็มักจะมีคนตอบกลับมาว่า “เก่งจัง” “ขยันจัง” “อยากทำแบบนี้บ้าง” “นี่ไม่มี passion อะไรเลยอ่ะ” “เราทำอะไรแบบนี้ไม่ได้อ่ะ”
ในทุกๆครั้ง จูนก็พยายามจะพูดสร้างกำลังใจ แรงบันดาลใจ บางคนก็อินกับเรา พยายามต่อยอดจริงๆ
บางคนก็เฉยๆ รับรู้เท่านั้น พอแยกย้ายกันทุกอย่างก็จบ ใช้ชีวิตปกติไป ปล่อยผ่านไป
แต่โพสนี้ทำให้จูนรู้สึก... “ปล่อยผ่านไป ไม่ได้”
เพราะเมื่อเข้าไปดูเพจ พูดคุยและเจอคอมเมนต์นี้... จูนรู้สึกถึงความเศร้า และความหดหู่ใจ ไม่ว่าจะสไตล์หนังที่เธอดู หรือเล่าถึงความรู้สึกที่ไม่ชอบห้องกว้างๆ และโล่ง เพราะเธอจะรู้สึก “เหงา”
จูนมีความรู้สึกเหมือนเธอกำลังหมดกำลังใจ อยู่ในความมืดมน และกำลังพยายามที่จะหาทางออก
1
. ❤️
จูนไม่รู้ว่าตัวเองคิดมากไปรึเปล่า
หรือเขาอาจจะไม่เป็นอะไรจริงๆก็ได้
แต่จูนก็อยากจะพูดถึงเรื่องนี้อยู่ดี
1
ทุกคนอาจจะเห็นจูนขยัน พยายาม และมีวินัยมากๆ ซึ่งจูนเองก็เคยอยู่ในจุดที่ “หมดไฟ” ขี้เกียจ เหมือนโลกนี้ไม่มีอะไรเลย ทำอะไรก็แย่ไปหมด นอยส์
วันนี้ตัดสินใจถอดประสบการณ์ที่จูนเคยเจอ เคยรู้สึกต่อความรู้สึกเหล่านั้น ออกมาให้ได้มากที่สุด
พยายามเชื่อมโยงกับความรู้สึกที่ “เธอคนนั้น” อาจจะกำลังเป็นอยู่ เผื่อจะเป็นแนวทางให้เธอได้
เมื่อจูนถอดออกมาทั้งหมดแล้วย่อส่วนมันออกมาจูนพบว่า สิ่งที่มีส่วนทำให้จูนรู้สึกแบบนั้นหลักๆคือ...
. 1. เราขาดเป้าหมาย 🎯
2
ปัญหา: ถ้ากำลังรู้สึกว่า...ไม่รู้ว่าเป้าหมายในชีวิตคืออะไรไม่รู้คุณค่าของการใช้ชีวิตไม่รู้ว่าทำอะไร เพื่อใคร เก่งด้านไหน ชอบอะไรแล้ว ทำไปทำไม
รูปจาก maefahluang.org
แนวทาง: ต้องหาเวลาคุยกับตัวเองแบบจริงจัง หาต้นตอของความรู้สึกลบๆเหล่านั้น จูนทำมาแล้วมันเวิร์คมากๆ คือการ...
1.1. เขียน “ทุกอย่าง” ที่อยู่ในหัว
(เพื่อค้นหาและรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง)
เช่น ความรู้สึกที่เป็นอยู่ในตอนนี้ สิ่งที่อยากทำ สิ่งที่ฝัน
. “อะไรก็ได้ที่เข้ามาในหัว ณ. ขณะนั้น”
แล้วค่อยมาแยกหัวข้อ ดูจริงจังว่าชีวิตเรากำลังไปทิศทางไหน จะแก้ยังไงได้บ้าง
1.2. แยกย่อยเป้าหมาย + สร้างความชัดเจน
1
เมื่อเขียนออกมาแล้วเราจะเห็นภาพว่าจริงๆเราอยากทำอะไร ให้แยกย่อยเป้าหมายเหล่านั้น...
เช่น “ฉันอยากผอมและสวย” ใส่ความชัดเจนลงไปเพื่อจะทำให้ถึงเป้าหมายนั้น
เช่น “ฉันจะออกกำลังกาย 20 นาทีต่อวัน” และ “ฉันจะทาครีมดูแลผิวทุกวันก่อนนอน” เพราะนั่นคือเป้าหมายความสวยผอมของเรา (สามารถปรับใช้กับทุกๆด้านของชีวิตเลยนะคะ)
รูปจาก julianneponan.com
1.3. ให้ความสำคัญกับ “หน้าที่”
เพราะ “เป้าหมายคือหน้าที่” ที่เลี่ยงไม่ได้ เช่น ต้องดูแลคนในครอบครัว ต้องทำงานถึงจะมีเงินเลียงชีพ ใช้หนี้ แล้วเราจะรู้ว่าจะสู้ต่อไปยังไง
1.4. ค้นหาและทำในสิ่งที่ชอบ แล้วจะมีความสุข
1.5. สร้างความท้าทายให้ตัวเอง และทำมันให้เป็นเรื่อง “สนุก” เหมือนเวลาเราเล่นเกมแล้วต้องทำเควสเพื่อให้สำเร็จเป้าหมาย
. 2. เราขาดกำลังใจ ❤️
รูปจาก sanook.com
จูนเคยพูดถึงเรื่องนี้ในลิ้งค์นี้
กำลังใจจากคนรอบข้าง เป็นสิ่งที่
❌ “เราควบคุมไม่ได้”
❌ “เราคาดหวังไม่ได้”
แต่กำลังใจจากตัวเรา คือสิ่งที่
✅ “ควบคุมได้”
✅ “สร้างได้เสมอ”
มันคือเรื่องจริง เพราะโลกภายนอกอาจจะไม่ได้สวยงามอย่างที่เราอยากให้เป็น...บางครั้งเราถึงต้องยิ้มให้ตัวเอง ต้องให้กำลังใจตัวเอง พูดแต่สิ่งดีๆ ให้ตัวเองฟัง แล้วเราจะมีกำลังใจสู้ต่อ 💪🏻
1
. 3. เราขาดแรงจูงใจ⭐️
มองถึงความเป็นจริงว่า
“หน้าที่เราคืออะไร”
อะไรคือสิ่งที่สำคัญในชีวิต ?
แล้วพยายามหา “หาไอดอล” ที่เก่งในสิ่งๆนั้น เพราะคนเหล่านี้จะกระตุ้นให้เราลุกขึ้นสู้ ทำตามความฝัน เป็นแรงผลักดันให้เรา
 
“พยายามเอาตัวเอง
ไปอยู่ในจุดที่เราอยากเป็น”
แต่ที่สำคัญคือต้อง
“เริ่มเดี๋ยวนี้”
. 4. ขาด input - output ที่ดี
ปัญหา: เรารู้สึกดาวน์...ท้อแท้... ผิดหวัง...
มันเป็นเพราะเราเก็บและสะสมแต่สิ่งลบๆ เสพแต่สิ่ง “toxic”
รูปจาก sanook.com
แนวทาง: รับสิ่งดีๆ เข้าไปในจิตใจให้มากขึ้น เช่น อ่านบทความดีๆ ดูหนัง ฟัง podcast สร้างแรงบันดาลใจต่างๆ อ่านหนังสือ how-to หรือหนังสือค้นหาความสุข
ส่วนตัวจูนฟัง THE STANDARD 💕
และอ่านหนังสือของ นิ้วกลม💕
1
ทำให้จูนมองโลกได้บวกขึ้น และอยากหันมาทำอะไรที่เปลี่ยนแปลงตัวเอง นั่นคือการทำ output ถ้าเรารับสิ่งดีๆมา แต่ไม่ปรับเปลี่ยนอะไรเลยก็ไม่มีประโยชน์นะคะ เราต้อง “เริ่มทำ เริ่มเปลี่ยน” ทันที
. 5. เราเจอ “ความเครียด” มากเกินไป
รูปจาก Lovepik
ปัญหา: เกิดจาก...
. “ความผิดพลาด”
. “ความผิดหวัง”
เมื่อสะสมมากๆ หรือร่างกายเข้าสู่สภาวะกดดันตัวเองมากเกินไป จะรู้สึก “อยากหยุดทุกๆสิ่ง”
เริ่มเห็นทุกๆอย่างใน “แง่ลบ”
โลกไม่สดใส ชีวิตไร้ความหมาย ถ้าปล่อยนานๆ มีเกณฑ์เป็นโรคซึมเศร้า ถึงจุดนั้นอาจต้องพบแพทย์ หาคนช่วย
รูปจาก english.aawsat.com
แนวทาง:
1) เปลี่ยนทัศนคติ (ต้องคิดบวกเข้าไว้ ถึงบางครั้งจะเป็นการหลอกตัวเองก็เถอะ)
2) ปล่อยวาง ไม่คิดมาก ให้ทุกอย่างมันเป็นไป (ไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง)
1
3) พูดสิ่งดีๆ รับสิ่งดีๆ ทำสิ่งดีๆ
4) ทำสมาธิ หรือเอนเก้าอี้ฟังเพลงเพราะๆดูบ้าง
5) หากิจกรรมที่ทำแล้วสบายใจ (กลับไปดูหัวข้อเป้าหมายแล้วตอบตัวเองให้ได้)
6) ยิ้มให้มากขึ้น คิด(มาก)ให้น้อยลง
7) ให้ “ของขวัญ” ตัวเอง เมื่อตั้งใจทำอะไรสำเร็จ
. 🎯🎯🎯🎯
สิ่งเหล่านี้มันยากมากๆค่ะที่จะทำได้
แต่อย่างน้อยดึงสักหัวข้อเหล่านี้ไปปรับใช้ จูนเชื่อมากเหลือเกินว่ามันมีประโยชน์ และต้องเปลี่ยนอะไรได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
จูนอยากเป็นกำลังให้ทุกๆคน ไม่ใช่แค่เธอคนนั้นคนเดียว แต่ต้องขอบคุณเธอมากๆ ที่ทำให้เราคิดคอนเทนต์นี้ขึ้นมาได้
เราหวังว่าเธอว่าก้าวผ่านเรื่องร้ายๆ และพบแต่สิ่งดีๆ เป็นกำลังใจให้นะคะ “เธอคนนั้น” ✌🏻🙂
แต่ถ้าจริงๆเธอไม่ได้เป็นอะไร เราก็จะ....เขินๆ หน่อย จริงๆก็หวังดีและเป็นห่วง ❤️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา