19 ก.พ. 2021 เวลา 09:12 • หุ้น & เศรษฐกิจ
#เปิดขุมทรัพย์ ตอนที่ 4
อยากไปลงทุนต่างประเทศ...มีวิธีไหนบ้าง by หนีดอย
แบ่งเป็น 3 วิธีหลักๆ
1
📢 1. กองทุนรวม ( Foreign Investment Fund : FIF) โดยซื้อผ่าน Nomura, Phillip, Finnomena, Finvest, SCB easy invest และอื่นๆ
3
📢 2. Jitta Wealth โดยลงทุนใน ETF ต่างประเทศ ที่ทาง Jitta แยกเป็นตีมประเภทไว้ให้ เช่น จีน เวียดนาม อเมริกา หรือ กลุ่มอุตสากรรม เช่น กัญชา, อีสปอร์ต, E-commerce เป็นต้น
📢 3. หุ้น / ETFs โดยตรง ผ่านการเปิดโบรกเกอร์ 3 ประเภท
.....1. โบรคเกอร์ในไทย ที่มีบริการ Offshore Trading บริการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น KTZMICO, SBITO, CGSCIMB, Yuanta, Phillip, Nomura, Kasikorn, Bualuang, Kiatnakin Phatra, Asia Plus, SCBs, Tisco, Kim Eng, DBS และอื่นๆ
.....2. โบรคเกอร์ในต่างประเทศ ที่อนุญาตให้คนไทยเปิดบริการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น Interactive Broker(IBKR), TD Ameritrade, Zackstrade, Tiger Broker และอื่นๆ
.....3. โบรคเกอร์ในต่างประเทศ ที่ซื้อขายหุ้นเสมือน หรือ CFD (Contract for Differences) เช่น Etoro
5
🔔เนื่องจากผมไม่ได้มีประสบการณ์การลงทุนในทุกรูปแบบในข้างต้นที่เขียนไว้ แต่ได้ลองศึกษาหาข้อมูล รวมถึงสอบถามกับคนเคยใช้บริการมา จึงนำมาเป็นข้อมูลให้คุณผู้อ่านทุกท่านที่สนใจลงทุนในต่างประเทศ เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในรายละเอียดอีกครั้ง
🔔โดยวิธีที่ผมมีประสบการณ์ แต่อาจจะไม่เชี่ยวชาญแบบตอบได้หมดทุกคำถาม คือ
📢 1. ลงทุนผ่านกองทุนรวม : Nomura, Phillip, Finnomena, Finvest, SCB easy invest
📢 2.ลงทุนผ่านหุ้น / ETFs โดยตรง :
...ผ่านโบรคในไทย เช่น KTzmico, Yuanta, Phillip
...ผ่านโบรคในต่างประเทศ เช่น Interactive broker (ดูน่าเชื่อถือที่สุดในบรรดาโบรคนอกทั้งหมดที่ผมหาข้อมูลมา), Tradingstation Global (เค้าปิดรับคนไทยเปิดบัญชีใหม่แล้ว), TD Ameritrade (กำลังรออนุมัติผลหลังสมัครเปิดบัญชีไป), Tiger Broker (ผมชอบเจ้านี้ ดูทันสมัยดี)
...ผ่านโบรคในต่างประเทศ ที่ซื้อขายหุ้นเสมือน หรือ CFD เช่น eToro
2
🔔ผมจึงขอเขียนเป็นข้อดี-ข้อเสีย ในความเห็นส่วนตัวผมเองแล้วกันนะครับ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้คุณผู้อ่าน และอาจมีหลุดข้อดี-ข้อเสียบางอย่างไป หากคุณผู้อ่านอยากเพิ่มเติม แนะนำจุดไหน ทางผมยินดีเลยครับ
3
1. กองทุนรวม (Mutual Funds)
📌 ข้อดี
-ใช้เงินลงทุนน้อยมาก บางกองเริ่มต้นที่ 1 บาท
-เหมาะกับคนมีเวลาน้อย ไม่มีเวลาศึกษาลงรายละเอียดมากนัก มีคนมาบริหารกองทุนให้ ซื้อขายให้เรา
-เปิดบัญชีในประเทศไทยได้ ทำให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องภาษามาปิดกั้น
-มีบริการ DCA ให้ในหลายๆแอพที่เราเปิดบัญชี เพื่อตัดเงินทุกเดือน ในการเข้าซื้อสะสมกองทุนนั้นๆ
-มีสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี กรณีเป็นกองทุนประเภท SSF และ RMF
-เปิดบัญชีง่ายสุด
-มีตัวเลือกในการลงทุนหลากหลาย เช่น ตราสารหนี้ ทองคำ น้ำมัน หุ้นประเทศต่างๆ หรือ หุ้นตีมต่างๆ และมีการกระจายการลงทุนตามนโยบายกองทุนมาดีระดับนึง
-บางแห่งมีระบบ Robo Advisor ช่วยเลือกหุ้น ตามความเสี่ยง ตามเป้าหมายของผู้ลงทุน ทำให้เราไม่ต้องทำอะไร แค่โอนเงินเข้าไปอย่างเดียวพอ
-บางกองทุนมีนโยบาย Headge ค่าเงินเต็มจำนวน
1
📌 ข้อเสีย
-มีค่าธรรมเนียมซื้อเริ่มที่ 1.5% โดยส่วนใหญ่ และมีค่าธรรมเนียมบริหารจัดการรายปี ซึ่งนับว่าสูงระดับนึง
-ราคาซื้อ-ขาย ไม่ใช่เวลา Real-time ทำให้ไม่เหมาะกับการจับจังหวะลงทุนเป๊ะๆ
-ได้เงินขายคืนกองทุนช้า เช่น T+4 หรือนานกว่า, รู้ราคา NAV ช้าถึง 2-3 วันหลังจากวันที่เข้าซื้อ
-ผลตอบแทนสู้ หุ้นรายตัว ไม่ได้ เพราะมีการกระจายการลงทุนในหลายหุ้น หลายกลุ่ม
2
2.Jitta Wealth
📌 ข้อดี
- เหมาะกับคนมีเวลาน้อยแต่อยากลงทุน ไม่มีเวลาศึกษาในรายละเอียดการลงทุนมากนัก มี Jitta คัดเลือก ETFs ที่ดี เป็นเมกะเทรนด์มาให้เราได้เลือกในหลากหลายแบบ มีระบบมาบริหารจัดการสินทรัพย์ที่เราลงทุนไว้ได้ ด้วยการปรับพอร์ตอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
-เปิดบัญชีในประเทศไทยได้ ทำให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องภาษามาปิดกั้น
- เปิดบัญชีไม่ยาก ไม่ต้องส่งเอกสาร แอพใช้งานง่ายมาก
- มีตีมที่กองทุนในไทยไม่มี อย่าง "กัญชา" ณ ปัจจุบันที่เขียนบทความนี้
1
📌ข้อเสีย
- ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูงที่ 100,000 บาท และลงทุนครั้งต่อไปเริ่มที่ 10,000 บาท
- ไม่สามารถคาดเดาวันที่เงินลงทุนหลังโอนไปให้ Jitta จะเข้าซื้อ ETF ที่เราจะลงทุนได้วันไหน แบบกองทุนรวม
- 1 portfolio ที่เลือกลงในแต่ละตีม เลือกได้สูงสุด 5 ตีม และมีตีมปัจจุบันเลือกได้สูงสุด 12 ตีม (แต่มีแนวโน้มเพิ่มเรื่อยๆ อันนี้ผมไม่แน่ใจว่าจะเพิ่มรึเปล่าครับ ดูจากอดีต) หากอยากลงทุกตีม ก็ต้องเปิด 3 พอร์ท เป็น 5-5-2 ตีมในแต่ละพอร์ท
- ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนน้ำหนักที่ถือในแต่ละตีมได้ เช่น เลือกมา 5 ตีม แต่ละตีมจะถูกเฉลี่ยเป็น 20% รวมเป็น 100% ไม่สามารถเลือกว่าตีมนี้ถือ 5% ตีมนี้ถือ 50% อะไรแบบนี้ครับ
3. หุ้น / ETFs โดยตรง ผ่านการเปิดโบรกเกอร์ 3 ประเภท
.....1. โบรคเกอร์ในไทย ที่มีบริการ Offshore Trading บริการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น KTZMICO, SBITO, CGS-CIMB, Yuanta, Phillip, Nomura, Kasikorn, Bualuang, Kiatnakin Phatra, Asia Plus, SCBs, Tisco, Kim Eng, DBS และอื่นๆ
2
📌 ข้อดี
-เปิดบัญชีในประเทศไทยได้ ทำให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องภาษามาปิดกั้น
-ได้ซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นหุ้น หรือ ETF ในหลากหลายตลาดทั่วโลกในเวลาRealtime โดยเราบริหารจัดการเอง ไม่มีค่าบริหารจัดการ ยกเว้น ETF ที่มีค่าบริหารจัดการอยู่เดิม
-ผลตอบแทนสูงขึ้นเนื่องจากลงทุนในหุ้นรายตัวได้ แต่ก็แลกมากับความเสี่ยงที่สูงขึ้นเช่นกันในการขาดทุน
-มีบริการจัดการเรื่องภาษีปันผลที่เกิดขึ้นได้ในเวลาซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศ
-บางโบรคเกอร์มีบริการซื้อเศษหุ้นได้เช่น SBITO (เจ้านี้มีค่าคอมขั้นต่ำถูกที่สุดที่ 4.99 USD/order)
-มีพอร์ทจำลองให้เราเล่นเพื่อความคุ้นเคย ก่อนเล่นด้วยเงินจริงๆ
4
📌ข้อเสีย
-ทุกแห่งการเปิดบัญชี ต้องเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นไทยก่อน แล้วจึงต้องเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ และต้องส่งเอกสารเท่านั้น
-หลายๆแห่ง มีเงินลงทุนขั้นต่ำเริ่มแรกที่สูงตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท ในขณะที่บางเจ้าไม่บังคับวงเงินลงทุนครั้งแรก (Phillip : 50,000 | CGS-CIMB : 200,000 | Kbank : 500,000)
-ค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำต่อการซื้อหลักทรัพย์ยังสูงครับ มีตั้งแต่ 10-30 USD/order เช่น KTzmico มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำซื้อขายหุ้นตลาดสหรัฐที่ 10 usd/order, SCB มีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ตลาดสหรัฐที่ 30 usd/order
-ค่าธรรมเนียมการโอนเงินไปต่างประเทศสูง ระดับหลักพันบาท ไม่ว่าจะโอนออก หรือ โอนกลับเข้าประเทศ แต่ละมีบางเจ้าที่ฟรีค่าโอน หรือมีโปรโอนฟรี อาทิเช่น SCBS โอนออกฟรีตลอด หรือ KTzmico โอนฟรีถึงสิ้นก.พ.64 นี้ โดยการโอนเงินต้องโอนจากเงินสกุลบาทไทยออกไปเท่านั้น
-ไม่มีนโยบาย Hedge ค่าเงิน
-หากนำเงินส่วนต่างกำไรที่ได้จากการขายหุ้นกลับมาในปีนั้น ต้องเสียภาษีรายได้ในไทย
3
โดยสรุปแล้ว ผมคิดว่าแต่ละโบรคของไทยก็มีข้อดี ข้อด้อย ที่แตกต่างกันออกไป ไม่มีเจ้าไหนดีที่สุด หรือ แย่ที่สุด แต่เป็นที่ๆเหมาะที่สุดสำหรับสไตล์การลงทุนของเรามากกว่า แต่ตัวผมเองถ้าให้เลือกเจ้าเดียว ขอเลือก KTZMICO (ผมไม่ได้รับค่าเขียน ค่าสปอนเซอร์ หรือเกี่ยวข้องอะไรกับเจ้านี้นะครับ เนื่องจากเงื่อนไขของที่นี่ มีหลายๆอย่างที่เข้ากับตัวผมเองดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ $10, ค่าโอนฟรีช่วงนี้ ระบบเทรดผ่านแอพ และโปรแกรมใน PC, ราคาได้ Real-time เป็นต้น)
5
⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰
.....2. โบรคเกอร์ในต่างประเทศ ที่อนุญาตให้คนไทยเปิดบริการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น Interactive Broker(IBKR), TD Ameritrade, Zackstrade, Tiger Broker และอื่นๆ
2
📌 ข้อดี
- ค่าคอมฯถูกกว่าของไทยมากๆ โดยเฉพาะ Interactive Broker ที่ตกเพียงแค่ $1/order เท่านั้น สำหรับตลาดสหรัฐฯ ต่างกันเป็น 10 เท่า หรือแม้แต่ Tiger Broker ที่ผมชอบก็ ตกเพียง $1.99/order
- Platform ดูดีทั้งในส่วน app ผ่านมือถือ หรือ โปรแกรมใน PC ครับ
- เมื่อค่าคอมฯถูก จึงเหมาะกับการ trade รายวัน เล่นสั้นครับ และผลตอบแทนจากหุ้นรายตัว ก็สูงกว่า กองทุนรวม แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงสูงเช่นกัน
- สามารถใช้ Margin เล่นได้, Short Sell ได้, เล่น Option ได้ เรียกว่ามีเครื่องมือทางการเงินหลากหลายมากๆ
- เงินลงทุนขั้นต่ำใช้น้อยกว่าของไทย อย่าง IBKR กำหนดว่าต้องมี 10,000 HKD หรือเทียบเท่า ราวๆ 40,000 บาท
3
🔔🔔🔔 ข้อมูลเกี่ยวกับ minimum deposit (IBKR) : www.interactivebrokers.com.hk/lib/cstools/faq/#/content/32659392?articleId=69657332
1
🔔🔔🔔 ข้อมูลเกี่ยวกับ Inactivity fee (IBKR) : www.interactivebrokers.com/en/index.php?f=4969
1
📌ข้อเสีย
- มีขั้นตอนการเปิดซับซ้อนยุ่งยากมากกว่าทุกแบบ ต้องส่งเอกสารหลายอย่างไปทางโบรคที่เราต้องการเปิดเช่น Passport, ข้อมูลยืนยันที่อยู่อย่าง Utility Bill, Credit card Bill และอื่นๆ
- เสียค่าธรรมเนียมการโอนเงินแบบของไทย โดยถ้าไปโอนผ่าน Counter สาขา จะเสียราวๆ 1000-1500 บาท แต่สามารถโอนผ่านแอพอย่างกรุงศรีได้ เสียค่าบริการ 150 บาท (โปรถึงมีนาคมนี้ 2564)
- การโอนเงินจากไทยไปต่างประเทศ ต้องยื่นคำร้องขอกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อแจ้งความจำนงค์นำเงินออกไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศ โดยต้องต่ออายุทุกๆ ปี สามารถทำผ่านเวปไซต์ BOT ได้โดยตรง หากไม่มีใบแจ้งความจำนงค์นี้ ทางธนาคารอาจปฏิเสธการรับโอนเงินได้ครับ
- แม้มีความน่าเชื่อถือระดับนึงแล้ว เพราะเป็นโบรกเกอร์ที่คนทั่วโลกใช้ แต่ก็ยังไม่มีการจดทะเบียนรับรองผ่านกลต.ในไทย มีปัญหาอะไรต้องไปฟ้องร้องกันที่ต่างประเทศ และติดต่อกันเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
2
⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰
.....3. โบรคเกอร์ในต่างประเทศ ที่ซื้อขายหุ้นเสมือน หรือ CFD (Contract for Differences) เช่น Etoro
1
📌 ข้อดี
-ราคา Real time ใกล้เคียงกับหุ้น/etf หรือสินทรัพย์นั้นจริงๆ จะมีส่วนต่างที่เรียกว่า spread เล็กน้อย คล้ายๆค่าคอมมิชชั่นเค้าในส่วนทั้งซื้อและขาย
- เปิดบัญชีง่ายแต่ต้องส่งหลักฐานยืนยัน เช่น passport, utility bill/ credit card bill เพื่อยืนยันที่อยู่
- สะดวกที่สุดในการโอนเงินเข้าไปใน etoro โดยสามารถใช้บัตรเดบิต/เครดิตการ์ดโอนเงินได้ (ผมใช้ TMB all free Debit card by Visa)
-ใช้เงินเริ่มต้นน้อยเพียง $200 ซื้อเศษหุ้นได้ เริ่มซื้อขั้นต่ำได้ที่ $50 ในทุกๆหุ้นที่มีให้ซื้อขาย เช่น TESLA 1 หุ้น ใช้เงิน 750 USD ถึงซื้อได้ อันนี้ใช้เงิน 50 USD ก็ซื้อได้แล้ว
- Short ได้ Long ได้ เล่นได้ในทุกสภาพตลาดขาขึ้นและขาลง แต่ถ้ากรณี short จะมีค่า Swap หรือค่าธรรมเนียมถือครองสถานะข้ามวัน ส่วนใครเป็นนักลงทุนยาวๆ ก็ทำแค่ขา Buy ก็ได้ครับ ไม่มีค่าธรรมเนียม
-มีระบบ Social trading คือเราไปก๊อปนักลงทุนคนอื่นๆได้ เค้าซื้อเค้าขายอะไร เราก็ทำแบบเดียวกับเค้าเลย ซึ่งเป็นจุดเด่นของทาง eToro เลยก็ว่าได้
- มี Leverage เพื่อเพิ่มผลตอบแทนได้ เช่นหุ้น สามารถปรับได้ถึง 5 เท่า หุ้นขึ้น 10% เราใช้ leverag x5 = หุ้นขึ้น 50%
-มีพอร์ทจำลองให้เราเล่นเพื่อความคุ้นเคย ก่อนเล่นด้วยเงินจริงๆ
1
📌ข้อเสีย
-ไม่ใช่หุ้นจริงๆ
-ไม่สามารถซื้อขายหุ้นในช่วง Pre/Post-market ในตลาดเมกาได้
-จำนวนสินทรัพย์ที่ซื้อได้มีไม่มากเท่าโบรคต่างประเทศข้างบน แต่มี หุ้นหรือ ETFดังๆ เกือบครบทั้งหมด ในตลาดฮ่องกง ยุโรป และสหรัฐฯ
-ช่วงนี้คนเข้ามาใช้บริการมาก มัก error เข้าแอพไม่ได้หลายครั้ง ถ้าใครเป็นสายเล่นสั้น อาจหงุดหงิดที่ทำธุรกรรมไม่ได้
2
⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰
1
🗯สรุปอีกครั้ง !!!
-โบรคไทย ไว้ใจได้ ค่าคอมฯสูง เหมาะกับพอร์ทใหญ่ 2 แสนขึ้นไป
-โบรคนอก เชื่อถือได้แต่อาจไม่เท่าไทย ค่าคอมฯถูก
-โบรคนอก eToro ไม่ใช่หุ้นจริง เชื่อถือได้ระดับนึง ค่าคอมฯถูก ใช้เงินลงทุนหลักพันก็เริ่มต้นได้
⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰
🗯และนี่ก็เป็นรายละเอียดคร่าวๆ สำหรับวิธีการไปลงทุนในต่างประเทศในบทความนี้ บทความถัดๆไป ผมจะมาเขียนเจาะลึกในแต่ละโบรคเกอร์ ที่ผมมีประสบการณ์ ใช้จริงให้คุณผู้อ่านได้เห็นภาพมากขึ้นครับ
1
⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰⛰
💭รวบรวม Website สำหรับช่องทางที่คุณผู้อ่านอยากไปอ่านในรายละเอียดต่อไป ในแต่ละช่องทางการลงทุน
🔔 กองทุนรวม : www.setinvestnow.com/th/mutualfund
- Finnomena : www.finnomena.com/
- Finvest : www.finvest.co.th
1
🔔 Jitta Wealth : jittawealth.com
🔔 Broker ในไทยให้บริการ Offshore Trading อาทิเช่น
- Phillip : www.poems.in.th/service_detail.aspx?id=141&%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%20Phillip (มีบริการออมหุ้น / ETFs ต่างประเทศด้วย)
3
🔔 Broker ต่างประเทศ อาทิเช่น
- Interactive Broker : ibkr.com/referral/assawin678
6
🔔 Broker ต่างประเทศ ที่ซื้อขายหุ้นเสมือน หรือ CFD
- etoro.tw/2WaggC8 (สมัครผ่าน Link ข้างต้นผู้สมัครจะได้รับ 50 ดอลลาร์)
3
***** เนื่องจากว่าการลงสนามไปลงทุนยังต่างประเทศมีรายละเอียดมาก และมีความยาก แต่ก็ไม่น่ายากเกินความสามารถของแต่ละคน หากใครได้ศึกษาแล้วยังไม่แน่ใจทั้งในบทความนี้ หรือในแง่ของการสมัครเปิดบัญชี สามารถ Inbox เข้ามาถามได้เลยนะครับ
1
🔔Interactive Broker กับ Tiger Broker ต่างกันยังไง
1. Interactive Broker ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ ต่อ 1 รายการน้อยกว่า เช่น 1 order = 1 USD ขณะที่ Tiger broker ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 1.99 USD
2. Interactive Broker มี Inactivity fee หากไม่เทรดเลยในเดือนนั้นเสียเงิน 10 USD ต่อเดือน กรณีที่ในพอร์ทมีมากกว่า 2,000 USD และเสียค่าธรรมเนียมต่อเดือน 20 USD กรณีในพอร์ทมีน้อยกว่า 2,000 USD ขณะที่ Tiger ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมนี้ แม้ไม่มีการเทรดเลยก็ตาม (ปัจจุบัน IBKR ยกเลิก inactivity fee ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2021 เป็นต้นไป : https://finance.yahoo.com/news/interactive-brokers-makes-waves-inactivity-132135973.html )
3. Interactive Broker เทรดเศษหุ้น (Fractional share) ได้ , Tiger Broker ทำไม่ได้
4. Interactive broker เป็นของอเมริกา ขณะที่ Tiger Broker เป็นของจีน สำนักงานใหญ่อยู่ปักกิ่ง แต่มาเปิดสาขาให้เราที่สิงคโปร์ ปลายทางโอนเงิน IBKR คือ สหรัฐฯ แต่ปลายทาง Tiger broker คือสิงคโปร์
5. ทั้งคู่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐ ชื่อ IBKR และ TIGR ตามลำดับ
6. Interactive มีมาก่อน ต่อมาจึงเกิด Tiger Broker รูปแบบแอพของ Tiger ดูทันสมัย
7. กรณีใช้ Margin IBKR มีเรทดอกเบี้ยต่ำที่สุดในปัจจุบัน
8. Interactive broker มีตลาดการเทรดซื้อขายกว้างกว่า เช่น ยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น แต่ไม่มีจีนแผ่นดินใหญ่อย่าง A-shares ขณะที่ Tiger broker มีจีนแผ่นดินใหญ่ A-shares ฮ่องกง สิงคโปร์ อังกฤษ ออสเตรเลีย และสหรัฐ
1
หากใครสนใจสมัครเปิดบัญชีสามารถคลิกเข้าไปได้ที่ Link ด้านล่างครับ สำหรับใครสมัครผ่านลิงค์ของ Tiger Broker ข้างล่างนี้ ท่านจะได้รับสิทธิประประโยชน์คือ
1. Free Level2 Market Data for US stocks for 30 days : ข้อมูล Level 2 ของตลาดหุ้นสหรัฐฯนาน 30 วัน ฟรี!!!
2. 5 commission free tades for U.S. Stocks and H.K. Stocks : เทรดฟรี!!! ไม่มีค่าคอมฯ ถึง 5 ครั้งสำหรับตลาดหุ้นสหรัฐฯและฮ่องกง!!!
แต่หากสมัครตรงๆ ไม่ผ่านลิงค์ข้างล่าง จะไม่ได้สิทธิอะไรแบบนี้เลย!!!
💡สรุปโบรคเกอร์ต่างประเทศ เพื่อทำการซื้อขายหลักทรัพย์ ที่คนไทยเปิดบัญชีได้
1.Interactive Broker :
- Minimum US stocks/ETF commission : 1.00 USD
- มี Inactivity fee ต้องเทรดทุกเดือนให้ได้ค่าคอม $10 ต่อเดือน
2.Zackstrade :
- Minimum US stocks/ETF commission : 1.00 USD
- No inactivity fee
3.Tradestation Global :
- Minimum US stocks/ETF commission : 1.50 USD
- No inactivity fee
4.TD Ameritrade : only US
- No commision
- No inactivity fee
5.Tiger Broker : ซื้อหุ้น China A-shares ได้
- Minimum US/ETF commission : 1.99 USD
- No inactivity fee
6.eToro : CFD
- No commision แต่มีค่า Spreadเล็กน้อย
- No inactivity fee
🪙 Serie : รีวิว Tiger Broker
1
🪙 หากใครสนใจเปิดบัญชี Tiger Broker สามารถใส่ Code หรือ คลิกที่ Link ด้านล่างเพื่อทำการเปิดบัญชีได้เลยตามรายละเอียดดังนี้ครับ
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh
โฆษณา