20 ก.พ. 2021 เวลา 10:00 • ไลฟ์สไตล์
ทะเบียนสมรส คืออะไร?
1
ทะเบียนสมรส คืออะไร?
ทะเบียนสมรส เป็นเอกสารทางกฎหมายเพื่อยืนยันสถานะการสมรสของบุคคลสองคน ให้มีสถานะเป็นสามี-ภรรยา หรือ คู่ชีวิต ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย เช่น การรับรองบุตร การแบ่งสินสมรส รวมไปถึงการฟ้องหย่า
1
ข้อเสียของการจดทะเบียนสมรส
1. การจัดการทรัพย์สินจะยุ่งยากมากขึ้นเพราะเป็นสินสมรส ดังนั้นจะจัดการทรัพย์สิน เช่น จะซื้อ จะขาย จะปล่อยเช่า หรือจะยกหนี้ ฯลฯ ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย
2. ดอกผลจากสินส่วนตัวของเรา รวมถึงเงินเดือนของเรา โบนัสของเรา หลังแต่งงานจะถือเป็นสินสมรสด้วย
3. ถ้าเป็นหนี้ที่มีมาก่อนจดทะเบียนสมรส จะยังคงเป็นหนี้ส่วนตัวของใครของมัน ใครก่อหนี้ไว้คนนั้นต้องรับผิดชอบเอง แต่หากทรัพย์สินส่วนตัวมีไม่พอสำหรับการชดใช้หนี้ เจ้าหนี้ก็จะสามารถมายึดสินสมรสได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยึดได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของสินสมรส
4. ถ้าเป็นหนี้หลังจดทะเบียนสมรส กฎหมายให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย นั่นคือ ในการบังคับชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องสามีภรรยาเพื่อบังคับเอากับสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่ายได้ แม้ว่าคู่สมรสอีกฝ่ายจะมิได้ลงชื่อร่วมในฐานะคู่สัญญาด้วยหรือไม่ก็ตาม
ข้อดีของการจดทะเบียนสมรส
1. สามี-ภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหนึ่งหาเลี้ยงอีกฝ่าย หรือช่วยกันหาเลี้ยงกันและกัน
2. ภรรยามีสิทธิ์ในการใช้ชื่อสกุลของสามี หรือ จะไม่ใช้ก็ได้
3. ถ้าภรรยาเป็นชาวต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือสัญชาติไทยตามสามีได้ถ้าต้องการ
4. มีสิทธิ์จัดการทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส หรือ ที่เรียกว่า สินสมรสร่วมกัน
5. มีสิทธิ์รับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน
6. มีสิทธิ์รับเงินจากทางราชการ หรือ นายจ้าง เช่น กรณีที่คู่สมรสตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ หรือจากการทำงาน (บำเหน็จตกทอด) หรือ การรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงาน
7. มีสิทธิ์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย หรือ ค่าทดแทนจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตได้
8. สามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้ตามกฎหมาย และ หากพบว่าคู่สมรสมีชู้ ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสและชู้
9. บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้นามสกุลพ่อได้ สมัครเข้าเรียนได้ และ รับมรดกจากผู้เป็นพ่อได้ (ทั้งนี้ บุตรเป็นสิทธิ์ตามชอบธรรมตามกฎหมายของแม่อยู่แล้ว)
10. ได้รับการลดหย่อนค่าภาษีเงินได้ตามเงื่อนไขการลดหย่อนภาษี ได้แก่ ลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนบิดามารดาของคู่สมรส ลดหย่อนประกันชีวิตของคู่สมรส ลดหย่อนประกันสุขภาพของบิดามารดาคู่สมรส ลดหย่อนบุตร
11. สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายคู่สมรสของตัวเองได้ เช่น หากภรรยาถูกโจรปล้น สามีสามารถฟ้องร้องดำเนินดคีแทนได้
12. สามี-ภรรยาที่ทำความผิดระหว่างกัน เช่น สามีขโมยเงินภรรยา ภรรยาบุกเข้าบ้านสามี ผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย
คุณสมบัติของผู้จดทะเบียนสมรส
1. อายุ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว สามารถทำการจดทะเบียนสมรสได้ด้วยตัวเอง
2. อายุมากกว่า 17 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมาให้ความยินยอมด้วย
3. อายุไม่ถึง 17 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
1
4. ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือไร้ความสามารถ
5. ไม่เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา (มีพ่อหรือแม่คนเดียวกัน)
6. ไม่เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่น (ห้ามจดทะเบียนสมรสซ้อน)
7. ไม่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม
 
#สาระจี๊ดจี๊ด
สำหรับผู้หญิงที่เคยจดทะเบียนมาก่อนหน้านี้ ถ้าจะจดกับสามีคนใหม่จะต้อง เว้นระยะเวลาจากการหย่าครั้งล่าสุดอย่างน้อย 310 วัน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เว้นแต่ว่าถ้ามีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ไม่จำเป็นต้องรอ 310 วัน คือ คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ศาลมีคำสั่งให้สมรสได้
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา