2 มี.ค. 2021 เวลา 17:06 • ธุรกิจ
ถ้ายังไม่รู้เรื่องนี้อย่าเพิ่งทำธุรกิจอาหาร
5
ที่มา https://www.smartsme.co.th/content/58015
เราอาจจะเคยได้ยินมาว่าคนที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร โดยเฉพาะธุรกิจการขายอาหารที่ขายดีมาก บางครั้งขายแทบไม่ทันส่งเลย แต่ก็ยังไม่สามารถทำกำไรจากธุรกิจนี้ได้เลย ทั้งที่มีการบริหารจัดการที่ดีมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
1
การเริ่มต้นทำธุรกิจในยุคสมัยนี้ หลายๆผู้ประกอบการก็สามารถทำธุรกิจที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาลูกค้า(Pain Points) ได้ดี เพราะเข้าใจในธุรกิจอาหารเป็นอย่างดี รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ลูกค้าขาดอะไรและลูกค้าเผชิญปัญหาอะไร
ซึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ใช่เฉพาะธุรกิจด้านอาหารแต่เป็นทุกๆธุรกิจที่ต้องทราบว่าจะต้องนำหัวข้ออะไรมาพิจารณา นั่นก็คือ
1. ปัญหานั้นเป็นปัญหาใหญ่หรือไม่
1
2. ลูกค้าของเราเป็นผู้เผชิญกับปัญหาหรือเป็นเจ้าของปัญหาหรือเปล่า
3. ลูกค้าของเราอึดอัดหรือไม่พอใจในสินค้าที่ลูกค้าใช้อยู่หรือไม่ ถ้ายังพอใจธุรกิจเราก็ไม่ได้ตอบโจทย์
4. ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวเราขนาดไหน
ผู้ประกอบการธุรกิจด้านอาหารหลายท่านก็สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ทั้ง 4 ข้อ แต่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างให้เกิดกำไรได้
1
"นั่นมาจาก ปัญหาขยะจากอาหารนั่นเอง"
1
ในช่วงที่ "ยุคใหม่การตลาดของไทย" ดูแลแผนกอาหารสด และดูแลการขายสินค้าวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารให้กับแต่ละร้านค้า เกือบทุกร้านค้าจำหน่ายสินค้า แม้ว่าจะเจอกับสภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย ช่วงนั้นเป็นช่วงน้ำท่วมใหญ่ประเทศไทยหลายท่านคงจะจำได้ ร้านอาหารทั้งหลายไม่ได้มีปัญหาเรื่องยอดขายเลย แต่กลับเป็นว่ามีสินค้าไม่พอขายมากกว่า
ทั้งๆที่รายการอาหารไม่พอขาย แต่ก็ยังเกิดขยะที่เกิดจากอาหารเป็นจำนวนมาก ประเมินพอคร่าวๆค่าใช้จ่ายจะพอๆกับค่าแรงของพนักงานหรือมากกว่าด้วยซ้ำไป สาเหตุนี้เกิดจากการบริหารภายใน หรือระบบลอจิสติกส์ (Logistics) ที่ไม่ได้หมายถึงการขนส่งเพียงอย่างเดียว เพราะต้องหมายรวมถึงการจัดหาสินค้าการจัดซื้อและการบริหารสินค้าคงคลังด้วย
2
ที่มา Maketing Oops!
หลายร้านเลยมีปัญหาในเรื่องของวัตถุดิบที่ซื้อมายังไม่ได้ใช้ก็เน่าเสียซะแล้ว หรือพบว่ามีในรายการที่บันทึกไว้แต่หาไม่พบ บางร้านขนาดใหญ่ที่ "ยุคใหม่ฯ" เคยเข้าไปส่งวัตถุดิบให้ พบว่าในทุกๆเดือนจะมีวัตถุดิบที่ต้องทิ้ง หรือเอาไปขายลดราคาเป็นจำนวนมาก
1
ในร้านสะดวกซื้อเองก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะทุกวันนี้ก็เริ่มนำสินค้าประเภทอาหารเข้ามาขายเป็นสัดส่วนที่มากขึ้นกว่าเดิม จากการประเมินน่าจะมีสัดส่วนระหว่างสินค้าที่เป็นอาหารถึง 70% เลยก็ว่าได้ ซึ่งปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นคือ อาหารหมดอายุเพราะอาหารสดสิ่งที่ท้าทายมากที่สุดนั่นก็คือ มีอายุการเก็บรักษาที่สั้น แม้ว่าบางอย่างอาจจะแช่แข็งได้ แต่ก็ยังขายได้น้อยกว่ากลุ่มอาหารสดอยู่ดี
ในญี่ปุ่นเองปีที่ผ่านมามีการผลิตขยะอาหารออกมาถึง 6,000,000 ตัน ซึ่งเป็นปริมาณที่มากที่สุดในเอเชีย และอาหารจำนวนนี้สามารถช่วยผู้คนที่อดอยากได้เป็นจำนวนมหาศาล หากลดขยะตรงนี้ได้นอกจากจะช่วยให้ต้นทุนลดลงแล้ว ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
ขยะอาหารที่ญี่ปุ่น ที่มา: Kyodo News
ปัจจุบันมีผู้ออกแบบโปรแกรมที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการจัดการบริหาร ซึ่งความแม่นยำก็จะมาจากปริมาณข้อมูลที่มากพอหรือBig data หากผู้ประกอบการรายใดที่ยังมีขนาดธุรกิจไม่ใหญ่นัก การใช้เครื่องมือนี้จะกลายเป็นภาระมากกว่าที่จะเป็นประโยชน์ แต่ในการจัดการเรื่องนี้ถึงแม้ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากเกินความสามารถ
สิ่งที่ "ยุคใหม่การตลาดของไทย" ขอแนะนำจากประสบการณ์ตรง ที่ทำแล้วได้ผลแบบไม่ยุ่งยากด้วย นั่นคือการจัดลำดับความสำคัญของวัตถุดิบที่ซื้อมาและจัดลำดับความสำคัญของรายการสินค้าที่ขายออกไปพร้อมกันด้วย โดยใช้หลักการ 80/20 หรือหลักการพาเรโต้ ปัญหานี้จะลดลงได้เป็นอย่างมาก
และหากยังไม่สามารถจัดการเรื่องนี้ได้ ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจด้านอาหาร เพราะขยะอาหารนอกจากจะเป็นต้นทุนที่สูงจากที่ต้องทิ้งไปแล้ว ยังมีต้นทุนที่สูงในเรื่องของการบริหารจัดการด้วย
อีกเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้เกิดผลทางจิตวิทยากับคนทำงาน โดยเฉพาะในห้างในร้านค้าขนาดกลางขึ้นไป นั่นก็คือห้ามขายสินค้าลดราคา ที่มีสาเหตุมาจากสินค้าใกล้จะหมดอายุหรือเสื่อมคุณภาพ
Express DigestSource
นโยบายนี้อาจจะดูแปลกๆ เพราะว่าอาหารขยะหรืออาหารเสื่อมคุณภาพ จะถูกทิ้งเปลี่ยนปริยายโดยไม่สามารถขายได้เลย ในช่วงแรกก็จะเจอปัญหาเรื่องของอาหารขยะที่ต้องทิ้ง แต่เมื่อเวลาผ่านไปเราจะพบว่าในธุรกิจที่ใช้นโยบายนี้ จะมีอาหารขยะลดลงเป็นจำนวนมาก เพราะคนที่ทำงานอยู่จะหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้นนั่นเอง
1
หากท่านใดสนใจรูปแบบการจัดการกับอาหารขยะอย่างมีเป็นประสิทธิภาพ สามารถสอบถามมาได้ "ยุคใหม่ฯ" ยินดีแบ่งปันข้อมูลอย่างเต็มใจครับ
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
Instagram: Modernizationmarketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
Face Book Page: Thailand Modern Marketing
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย)
สำหรับท่านที่สนใจการทำตลาดสุขภาพที่มีการรับรองจากเอกสารทางการแพทย์แล้ว
ติดต่อได้ที่
Facebook Page: โรคเบาหวานเป็นได้ก็หายได้
สนใจตัดต่อคลิปวีดีโอ
สามารถติดต่อได้ที่: Inbox หรือที่ Email sarayuth407@hotmail.com

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา