10 มี.ค. 2021 เวลา 23:37 • การศึกษา
"ทุกคนสามารถเรียนภาษาให้เก่งได้ภายใน 6 เดือน"
5
เก่งภาษาได้ภายใน 6 เดือนด้วย 5 หลักการ และ 7 วิธีของ Chris Lonsdale
1
เรามาดู 2 เรื่องที่ Chris เขาย้ำ
2 สิ่งที่เราไม่จำเป็นต้องมี
1. พรสวรรค์
2. เงิน เพื่อไปอยู่ประเทศที่เรากำลังเรียนภาษา
3
4 คำสำคัญที่ควรจำไว้
Meaning (ความหมาย)
Relevance (ความสำคัญ/ตรงประเด็น)
Attention (ความสนใจ)
Memory (ความจำ)
3
4 อย่างนี้สำคัญมาก เพราะในภาษาเราจะพบเจอพวกมันเชื่อมโยงกันอยู่เสมอ
"ทุกคนสามารถเรียนภาษาให้เก่งได้ภายใน 6 เดือน"
เก่งภาษาได้ภายใน 6 เดือนด้วย 5 หลักการ และ 7 วิธีของ Chris Lonsdale
5 หลักการ
หลักการที่ 1 : โฟกัสเนื้อหาในภาษานั้นที่สำคัญต่อตัวเรา
ลองนึกถึงเครื่องมือช่างดู มีหลายชื้นจนเราเลือกใช้ไม่ถูกเลย แต่ไม่แน่ว่ามันอาจจะมีอยู่สองสามชิ้นที่เราพอจะคุ้นเคยและใช้ได้พอตัวอยู่ ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นเครื่องมือที่เราเคยจับมาใช้อยู่บ้าง สิ่งทีจะบอกก็คือ เวลาเรียนภาษาก็เหมือนกับเครื่องมือเวลาเราเรียนก็ให้เลือกโฟกัสแค่เนื้อหาของเรื่องที่สำคัญต่อเรา ถ้าเราทำงานในวงการดนตรี แน่นอนว่าเราก็ควรเรียนคำศัพท์ทางดนตรีให้มากกว่าเรื่องอื่น หรือเราทำงานด้านวิศวะ ก็ให้ศึกษาคำศัพท์ในด้านนั้น
หลักการที่ 2 : ใช้ภาษา (ที่เรียนมา) ตั้งแต่วันแรก
ครั้งหนึ่งคริสได้มีโอกาสไปประเทศจีน โดยที่เขาพูดภาษาจีนไม่เป็นเลยสักคำ ระหว่างทางเขาใช้เวลา 8 ชั่วโมงนั่งคุยกับผู้โดยสารชาวจีนคนหนึ่ง ที่สำคัญคือตลอดทั้งคืนพวกเขาคุยกันเป็นภาษาจีน โดยผู้โดยสารคนนั้นทั้งวาดรูป ใช้มือแสดงท่าทาง พร้อมแสดงสีหน้าต่าง ๆ ประกอบการพูดเสมอ
1
พอถึงประเทศจีนคริสได้มีโอกาสไปเดินเที่ยว เขาพบว่าตัวเขากลับสามารถเข้าใจภาษาจีนได้มากขึ้น สองอาทิตย์หลังจากนั้นเขาได้ยินบทสนทนาของคนจีนที่เดินผ่านไปมา เขาพบว่าตัวเองสามารถเข้าใจเนื้อหาบางส่วนของบทสนทนาเหล่านั้น ทั้ง ๆ ที่เขายังไม่ได้เริ่มเรียนภาษาจีนแบบจริง ๆ จัง ๆ เลย
1
สิ่งเดียวที่ช่วยให้คริสเข้าใจภาษาจีนมากขึ้นก็คือ เขาได้ซึมซับภาษาจีนจากผู้โดยสารบนรถไฟคืนนั้น ซึ่งมันก็นำเราไปสู่หลักการที่ 3 ฟังและสังเกตสิ่งที่เจ้าของภาษาทำ จะทำให้เข้าใจสิ่งที่เขาพูดได้มากขึ้นโดยที่คุยยังไม่ได้เริ่มเรียนภาษานั้น
หลักการที่ 3 : เมื่อเราเริ่มเข้าใจภาษา เราจะเริ่มเรียนรู้มันโดยไม่รู้ตัว
ในข้อนี้อยากแนะนำให้รู้จักกับ ‘Comprehensible input’ ซึ่งเป็นทฤษฎีการเรียนภาษาที่ถูกคิดค้นโดย Stephen Krashen อธิบายแบบคร่าว ๆ ก็คือ Comprehensible input คือภาษาที่เราสามารถเข้าใจได้แม้ว่าเราจะไม่ได้เข้าใจคำศัพท์และโครงสร้างของมัน คล้าย ๆ กับการฝึกเดาคำศัพท์
2
สำหรับผู้เรียน ระดับความยากของ input ที่เราจะนำมาใช้เรียนนั้น (input อาจจะเป็นวีดีโอ ไฟล์เสียง บทความ หรืออะไรก็ตาม) จะต้องมีระดับสูงกว่าตัวแค่เลเวลเดียวเท่านั้น (ถ้าภาษาเราอยู่ระดับ beginner ก็ลองฝึกตีความจากเนื้อหาในระดับ pre-intermediate / ถ้าเราระดับกลาง ๆ (intermediate) ก็ลองฝึกกับระดับ pre-advance หรือ advance เลยก็ได้)
1
พอเราเริ่มฝึกตีความจากสิ่งที่ยากกว่าเรา 1 ระดับ มันทำให้เราโฟกัสไปที่การตีความหมายมากกว่า และนั่นแหละ จะทำให้เราเข้าใจภาษานั้นได้เร็วยิ่งขึ้น
หลักการที่ 4 : ฝึกใช้ภาษาจริง ๆ (Physiological training)
มีนักเรียนคนหนึ่งเก่งภาษาอังกฤษมาก ๆ ทุกเทอมได้เกรด 4 ตลอด พอเธอมีโอกาสได้ย้ายไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา เธอกลับพบว่าตัวเองไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่เพื่อน ๆ ชาวอเมริกันพูดเลย เธอฟังภาษาอังกฤษไม่ออก! พอคนคุยกับเธอก็ไม่สามารถตอบได้ จนผู้คนรอบตัวเธอเริ่มถามว่าหนูหนวกหรือเปล่า และแน่นอน เธอหูหนวก หนวกภาษาอังกฤษ! (English deaf) เพราะในหูเรามี filters (ตัวกรองเสียง) และพวกมันคอยทำหน้าที่กรองเสียงที่เราไม่รู้จักออกไป ทำให้เราไม่ได้ยินเสียงเหล่านั้น และเมื่อเราไม่ได้ยินเราก็ไม่เข้าใจ และเมื่อเราไม่เข้าใจเราก็จะไม่สามารถเรียนรู้ได้
2
ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเราต้องฝึกพูด เราต้องฝึกใช้กล้ามเนื้อใบหน้า บนหน้าเรามีอวัยวะอยู่ 43 ชิ้น เราต้องรู้ว่าเสียงนี้ต้องใช้อวัยวะไหนบ้าง เพื่อที่จะสื่อสารออกมาให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างจากเสียงตัว V ในภาษาอังกฤษ หลายคนคิดว่ามันออกเสียงเหมือน ว.แหวน บ้านเรา แต่ที่ไหนได้ มันต้องใช้ฟันบนกับริมฝีปากล่างเพื่อออกเสียงนี้ (คล้าย ๆ กับ ฟ.ฟัน แต่มีเสียงออกมาด้วยไม่ได้มีแค่ลม)
แล้วถ้าเรายังดื้อไม่ยอมฝึกออกเสียงให้ถูกต้อง เราก็จะพบว่าทุกครั้งที่เราพูดคำที่มีตัว v (van, victory, violence) ฝรั่งเขาก็จะงง! และอาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารได้
หลักการที่ 5 : "อารมณ์ในการเรียน" เป็นสิ่งสำคัญ (Psycho-physiological state matters!)
หากเรากำลังอารมณ์ไม่ดี เราไม่มีวันเรียนรู้เรื่องแน่นอน การเรียนจะมีประสิทธิภาพที่สุดก็ตอนที่เรากำลังมีความสุข ผ่อนคลาย สิ่งที่สำคัญคือเราต้องเรียนรู้ที่จะรับมือและอดทนกับความกำกวมของคำศัพท์ (ambiguity)
หากเราตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องเข้าใจทุกคำศัพท์ร้อยเปอร์เซ็น เราก็คงต้องเป็นบ้าไปก่อนจะเรียนภาษาจบแน่ ๆ และเราก็จะต้องหัวเสียอยู่ตลอดเวลาที่เรียนเพราะแน่นอนว่าไม่มีใครที่จะเข้าใจคำทุกคำได้ร้อยเปอร์เซ็น แต่หากเราโอเคกับการที่จะได้บ้างไม่ได้บ้างและโฟกัสอยู่ที่สิ่งที่เราได้คำศัพท์ที่เราเข้าใจมากกว่าจะไปหัวเสียกับสิ่งที่เราไม่ได้และคำศัพท์ที่เราไม่เข้าใจ เราก็จะเรียนภาษาได้รวดเร็วและยังสนุกมากขึ้นอีกด้วย เพราะในทุกภาษานั้นมี ambiguity หรือความกำกวมของมันอยู่แน่นอน
7 วิธีการ
วิธี 1 : ฝึกฟังให้เป็นกิจวัตร (Brainsoaking)
ทักษะแรกสุดที่เราจะได้ในการเรียนภาษาคือ listening และถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนรู้เลย เราเรียกวิธีการนี้ว่า ‘Brainsoaking’ (สาดความรู้เข้าสมอง) คือการที่เราฟังเนื้อหาในภาษาที่เรากำลังเรียนให้เยอะที่สุด (ไม่ว่าจะเป็นการฟัง podcast, ดูยูทูป, ฟังวิทยุ ฯลฯ) ไม่สำคัญว่าเราจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ฟังไม่ออกไม่เป็นไร ให้เราโฟกัสที่จังหวะ น้ำเสียง รูปแบบของภาษานั้น ๆ แทน
1
แต่ก็อยากจะบอกว่าอย่าแค่ฟังไปเรื่อย ๆ ให้ลองหยิบกระดาษมาจดคำศัพท์ที่เราได้ยิน หรือลองเดาจากเสียงที่เราได้ยินว่าเขาพูดคำอะไรไป ถ้าพอฟังออกบ้างก็ลองฝึกสรุปใส่กระดาษเป็นภาษาอังกฤษดู
วิธี 2 : เข้าใจความหมายก่อนเข้าใจภาษา (body language, comprehensible input)
เวลาเราไปต่างประเทศเราจะพบว่าตัวเองทำอะไรอย่างหนึ่งที่ไม่ค่อยทำในประเทศตัวเอง นั่นคือการใช้ภาษามืออย่างเต็มที่ นั่นแหละ คือวิธีที่เราจะเข้าใจความหมายได้ก่อนเข้าใจภาษา ในเราเริ่มสังเกตและให้ความสำคัญกับท่าทางต่าง ๆ เหล่านี้ เพราะมนุษย์ใช้ body language ในการสื่อสารมากพอ ๆ กับคำพูด และ body language ก็ถือว่าเป็น comprehensible input อีกอย่างเช่นกัน เพราะเป็นสิ่งที่เราเข้าใจได้แม้จะไม่รู้จักคำศัพท์ในภาษาพูดนั้น ๆ
2
อีกวิธีคือการจดจำรูปแบบ (pattern) ของภาษา ซึ่งจะช่วยให้เราทำความเข้าใจกับภาษาที่ใกล้เคียงกันได้ง่ายมากขึ้น หากเราเข้าใจภาษาจีน Mandarin และ Cantonese เราจะพบว่าเราสามารถเข้าใจภาษาเวียดนามได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว เพราะ 60% ในภาษาเวียดนามคือ Mandarin และ Cantonese
วิธี 3 : เริ่มผสมปนเป (Start mixing!)
เราอาจจะไม่รู้ว่าแค่เพียงเรารู้จักคำนาม 10 คำ กริยา 10 คำ และคำคุณศัพท์ (adjective) อีก 10 คำ เราก็สามารถแต่งประโยคได้กว่าพันประโยคแล้ว ดังนั้นเราก็เริ่มฝึกแต่งประโยคได้แล้ว สร้างสรรค์ ๆ หน่อย ไม่ต้องแต่งออกมาให้มันสมบูรณ์แบบหรือมีความหมายที่สวยงาม ขอแค่เราได้ฝึกทำ จะแต่งประโยคแบบไหนก็ได้
 
วิธี 4 : โฟกัสที่หัวใจภาษา
อย่างที่เคยบอกไปว่าในภาษาอังกฤษหากเรารู้จักเพียง 1000 คำ เราก็สามารถเข้าใจ 85% ของคำพูดในชีวิตประจำวันแล้ว และถ้าเรารู้จัก 3000 คำ (Oxford 3000 Key Words) นั้นก็แปลว่าเราเข้าใจไป 98 % แล้ว ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่เราได้ลองเอามันมาฝึกแต่งประโยคอยู่ทุกวันหรือเปล่า?
เวลาเรียนภาษาในเราเริ่มจาก The tool box ซึ้งคล้าย ๆ กับแผนการเรียน ตัวอย่างคร่าว ๆ แบบนี้
Week 1 : ในสัปดาห์ที่ 1 เราจะเรียนประโยคพื้นฐาน ซึ่งส่วนมากจะเป็นคำถาม เช่น What is this? How do you say …? I don’t understand… Repeat that please. What does that mean? เรียนประโยคพวกนี้ในภาษาที่เรากำลังเรียน และใช้พวกมันเป็นเหมือนเครื่องมือ (tool) ของเรา เพราะประโยคพวกนี้มันสำคัญมาก ๆ เราได้ใช้มันบ่อยแน่นอน
Week 2 - 3 : ในสัปดาห์ที่สองและสาม เราจะต้องเริ่มเรียนรู้พวกชนิดของคำต่าง ๆ ที่สำคัญเช่น Pronouns (I, you, we, they, etc.), common verbs (run, eat, think, study, give, etc.), adjectives (hard, cold, important, far, etc.)
Week 4 : พอมาถึงสัปดาห์ที่ 4 เราต้องเริ่มรู้จักพวก glue words (คำเชื่อม) ทั้งหลาย เช่น so, because, and, but และนำมันมาใช้ในการพูด มาเชื่อมคำนามหรือรวมประโยคเข้าด้วยกัน คำเชื่อมพวกนี้จะทำให้เราสามารถแต่งประโยคที่ซับซ้อนได้มากขึ้น ช่วยให้เราสื่อความหมายได้เยอะขึ้นอีกด้วย
วิธี 5 : หา language parent
และในตอนที่เรากำลังเรียนภาษาตามแผน Tool box ของเรา ให้เราหา language parent คล้าย ๆ กับเพื่อนฝึกภาษา
ลองสังเกตเวลาที่เด็กและพ่อแม่สื่อสารกัน ตอนแรกเด็กสื่อสารโดยนำเอาคำศัพท์มารวมกัน โดยไม่ได้คำนึงถึงกฎของภาษาใด ๆ ทั้งสิ้น บางทีก็ใช้คำธรรมดาทั่วไป และบางทีเด็กมักจะออกเสียงแปลก ๆ ที่คนอื่นไม่เข้าใจ แต่พ่อแม่ก็สามารถเข้าใจได้
เมื่อเป็นดังนี้เด็กจึงมี 'safe environment' (สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้) และมีความมั่นใจในการใช้ภาษาโดยไม่สนว่าจะผิดหรือไม่ และพ่อแม่ก็จะสื่อสารกับลูกด้วย body language และใช้ภาษาแบบง่าย ๆ (simple language) และสองสิ่งนี้ก็เป็น comprehensible input ให้กับตัวเด็ก ทำให้เด็กเรียนภาษาได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว และแน่นอนว่าวิธีได้ผล เพราะไม่งั้นเราก็คงไม่สามารถสื่อสารกันได้แบบทุกวันนี้ ดังนั้นเราจึงควรที่หา language parent เป็นอย่างยิ่ง คนที่สนใจในตัวเรา ตั้งใจฟังสิ่งที่เราพยายามสื่อสาร (ในภาษาที่เรากำลังเรียน) และพยายามเข้าใจเรา
กฎ 4 ข้อของการเป็น language parents ที่ดีคือ
1. สิ่งที่สำคัญที่สุดของ language parent คือ เขาจะเป็นคนที่พยายามจะเข้าใจเรา แม้ว่าบางทีเราพูดไม่ถูก ออกเสียงไม่ชัด หรือสิ่งเราสื่อสารออกไปมันถูกต้องตามกฎเกณฑ์หรือไม่
2. ไม่แก้ไขเราเวลาพูดผิด โดยจะทำข้อ 3 แทน
3. จะให้ feedback กับเราเสมอเวลาที่เราพูดอะไรไป บางทีที่เราพูดผิด ก็อาจจะพูดสรุปกลับมาเป็นประโยคที่ถูกต้องให้ เช่นเราอาจพูดไปว่า “I happy” แล้ว language parent ของเราก็จะตอบกลับมาว่า “Oh that’s good. I am happy that you’re happy too”
4. ใช้คำศัพท์ง่าย ๆ ที่เราเข้าใจ หรือเป็นคำศัพท์ที่อยู่ในระดับเดียวกับเรา
วิธี 6 : เลียนแบบหน้าตา รูปปาก
ให้เราสังเกตรูปปากของเจ้าของภาษาเวลาเขาพูด และพยายามออกเสียงนั้น ๆ โดยทำรูปปากให้เหมือนกับเขา อาจต้องใช้เวลาฝึก บางทีเราก็อาจจะลองปิดเสียงวีดีโอ และนั่งดูปากเขาเฉย ๆ ก็ได้นะ อาจฟังดูแปลก ๆ แต่มันช่วยในเรื่องของการจดจำรูปปากเวลาออกเสียงจริง ๆ
เพราะเสียงต่าง ๆ โดยเฉพาะเสียงสระ ถ้าเราออกเสียงโดยวางปากไม่ถูก เสียงที่ออกมามันก็อาจจะเพี้ยน ๆ ไปได้ ซึ่งอาจส่งผลให้ข้อความที่เราพูดออกไปเกิดการเข้าใจผิดได้
วิธี 7 : Direct connect เปลี่ยนความหมายให้เป็นรูปภาพ
หลายคนมักจะจำคำศัพท์โดยการเขียนซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ และก็ท่องวน ๆ ไป ซึ่งวิธีนี้อาจจะไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ เชื่อว่าหลายคนน่าจะพอเข้าใจคอนเซปต์ของการเปลี่ยนความหมายให้เป็นรูปภาพอยู่ ต่อไปเวลาที่เราอยากจำศัพท์ได้แม่น ๆ ก็ลองหารูปภาพให้มันด้วย ตัวอย่างในภาษาไทยเช่น พอพูดถึงคำว่า ‘ให้’ ในหัวของทุกคนก็จะมีภาพที่แตกต่างกันไปในหัว บางคนอาจเห็นภาพคนยืนยื่นของให้กัน บางคนอาจเห็นแค่มือคนรับ หรือบางคนอาจเห็นแค่มือคนให้ แล้วจะพบว่ามันช่วยให้การจำศัพท์ง่ายขึ้นจริง ๆ
1
#สาระจี๊ดจี๊ด
ไม่จำเป็นต้องรู้หมดทุกอย่างในวันนี้ รู้มากกว่าเมื่อวานนี้ก็พอ
1
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
พ่อผมเป็นคนอังกฤษ
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา