12 มี.ค. 2021 เวลา 12:30 • สุขภาพ
หาวบ่อย ไม่ใช่แค่นอนน้อย แต่ร่างกายอาจจะกำลังบอกอะไรบางอย่างกับเรา?
ง่วงแท้!!!
“นั่น!!! นั่น หาว หาว ฮ่า ฮ่า ฮ่า เป็นยังไงล่ะ กลางคงกลางคืนไม่ยอมหลับยอมนอน” ผมแซว QA หน้าสวยจากแผนกประกันคุณภาพ ที่กำลังยืนอ้าปากหวออยู่ใกล้ ๆ ด้วยความหมั่นเขี้ยว!!!
“ไม่พออะไรล่ะพี่ตอย นอนตั้งแปด-เก้าชั่วโมง!!! ว่าแต่อย่าคิดสิ ว่าหาวแล้วจะแปลว่าง่วงนอนเสมอไปน่ะ!!!” ผู้หญิงเพียงคนเดียวในรัศมีร้อยเมตรก้มหน้าตรวจงานต่อไป แต่ก็ไม่วายพูดสวนแก้เขินขึ้นมา
ถึงจะหาวแต่ก็ไม่ได้แปลว่าง่วงเสมอไป
อืมมม...
น่าสนใจดี
ผมรีบขอบคุณยกใหญ่ จนคู่สนทนาทำหน้างง
ขอบคุณจริง ๆ ก็เพราะประโยคเมื่อกี้แว๊บเข้ามาจุดประกายไอเดียในหัวของผมเข้าอย่างจังน่ะสิ!!!
แล้วจังหวะต่อมาผมก็รีบหยิบมือถือขึ้นมาโน๊ตอย่างด่วนเลย!!!
บทความต้องมา บทความต้องมาแล้ว
พักเบรคเมื่อไหร่ว่าจะเสิร์จถามอากู๋สักหน่อย!!!
ว่า “นอกจากนอนน้อยแล้ว มีสาเหตุอะไรอีกบ้าง ที่ทำให้คนเรานั้นต้องหาว?”
ชักอยากจะรู้แล้วสิ
หาว เป็นอย่างไร?
“หาว” (Yawn) เป็นกระบวนการที่มักเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ มีลักษณะอาการคือ อ้าปากแล้วสูดลมหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อนำอากาศเข้าสู่ปอด ก่อนจะหายใจออกมา ซึ่งหาวอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือยาวนานหลายวินาทีก็ได้
โดยกระบวนการแล้ว การหาวนั้นอาจเกิดร่วมกับการมีน้ำตาไหลออกมา มีเสียงประกอบ หรือการแสดงท่าทางยกไม้ยกมือเพิ่มเติมเข้ามาได้
การหาวที่สมบูรณ์แบบ อิอิ
แล้วทำไมเวลา หาว มักจะมีน้ำตาไหลตามออกมา?
ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะ เมื่อเราหาว กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าจะตึง และดึงกล้ามเนื้อบริเวณต่อมน้ำตา ทำให้ต่อมน้ำตาบีบตัว ก็เลยทำให้น้ำตาที่บรรจุอยู่ภายในนั้นไหลออกมา
ทำไมเราต้องหาว?
ทำงานหนักพักผ่อนน้อย ไม่เหลือครับ
1. ทฤษฎี “ความง่วง ความเมื่อยล้า ความเบื่อหน่าย” ที่จริงแล้วแม้นักวิจัยยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดของการหาวได้ แต่ยังมีทฤษฎีหลักเกี่ยวกับสาเหตุของการหาว คือ ความง่วง ความเมื่อยล้า และความเบื่อหน่าย เช่น เมื่อเรากำลังเบื่อ เหน็ดเหนื่อย หรือเมื่อยล้า เราจะไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ การหาวจะช่วยให้เราสามารถหายใจเข้าลึก ๆ และนำออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น ในขณะที่หายใจออกก็นำเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากกระแสเลือดได้มากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
1
2. ทฤษฎี “กระบวนการสร้างความเย็นแก่สมอง” ทฤษฎีนี้นำเสนอว่า การหาวอาจช่วยลดอุณหภูมิที่เกิดขึ้นภายในสมองได้ เพราะในขณะที่หาวนั้น ได้มีการยืดของกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกร ซึ่งกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณลำคอ ใบหน้า และศีรษะ โดยการหายใจเข้าลึก ๆ ในขณะหาว จะนำเอาอากาศเย็นผ่านทางปากเข้าไป และอากาศเย็นเหล่านี้จะเพิ่มความเย็นแก่น้ำไขสันหลัง และเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมองเป็นลำดับต่อไป
1
3. ทฤษฎี “ยืดเนื้อเยื่อปอด” ถือว่าเป็นอีกทฤษฎีที่ถูกหยิบยกมาเช่นกัน ซึ่งก็จะประมาณ “ขยับเท่ากับออกกำลังกาย” เป๊ะ ๆ
4. ทฤษฎี “กระตุ้นสารหล่อลื่นภายในปอด” ว่ากันว่าการหาวนั้นไปช่วยกระตุ้นการสร้างสารหล่อลื่นที่ทำให้เนื้อเยื่อภายในปอดชุ่มชื้นนั่นเอง
หาวบ่อย เกิดจากอะไร และอันตรายหรือไม่?
หาวเป็นล่ำเป็นสันกันเลยที
ผู้ที่มีอาการหาวมากกว่า 1 ครั้งต่อนาที จัดอยู่ในกลุ่ม ” ผู้ที่มีอาการหาวบ่อย” (Excessive yawning) แม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่ของการหาวอาจมาจากความง่วง ความอ่อนเพลีย และความเบื่อหน่าย แต่ในบางครั้ง การหาวมากผิดปกติอาจเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรค หรือภาวะที่ต้องได้รับการรักษาก็เป็นได้ อาทิเช่น
1
1. มีปัญหาในการนอน เช่น ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ หรือโรคลมหลับ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการง่วงนอนมากผิดปกติ เนื่องจากไม่สามารถนอนหลับสนิทได้ในการพักผ่อนปกติ
2. ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า หรือกลุ่มยารักษาภาวะวิตกกังวล ซึ่งจะมีผลข้างเคียงเป็นอาการง่วงซึม และนอนไม่หลับ
3. ภาวะเลือดออกภายในหัวใจ หรือเนื้อเยื่อบริเวณหัวใจ
ส่วนภาวะอาการป่วยรุนแรงที่มีโอกาสพบได้น้อย แต่อาจทำให้เกิดอาการหาวบ่อย ๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, โรคลมชัก, ตับทำงานล้มเหลว (ตับวาย), เนื้องอกในสมอง, โรคปลอกประสาทอักเสบ, ร่างกายขาดสมรรถภาพในการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย, โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น
1
แม้อาการหาวไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ แต่สามารถปรึกษาแพทย์หรือไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาได้ หากมีอาการหาวบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
การตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เมื่อมีอาการหาวบ่อยจนเกินไป
ง่วงว้อย!!!
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับอาการ และความถี่ในการหาว พฤติกรรมการนอนว่าผู้ป่วยพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ สอบถามประวัติทางการแพทย์ และการรักษา รวมทั้งอาจทำการตรวจร่างกายในเบื้องต้นด้วย หากแพทย์มีข้อสงสัยเพิ่มเติมถึงอาการป่วยที่เป็นสาเหตุ อาจส่งตรวจผู้ป่วยเพิ่มเติม เช่น
- ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test หรือ Polysomnography) เพื่อหาความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ หรือโรคลมหลับ เพื่อดูว่ามีความผิดปกติในระหว่างการนอนหลับอย่างไรบ้าง
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram: EEG) เป็นการตรวจปฏิกิริยา และการทำงานของคลื่นไฟฟ้าในสมอง ใช้ตรวจในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยอาจเป็นโรคลมชัก หรือมีภาวะอาการป่วยอื่น ๆ ที่กระทบต่อการทำงานของสมอง
- ตรวจเลือด อาจใช้ตรวจเมื่อแพทย์มีข้อสงสัยถึงอาการชัก ของโรคลมชัก หรือภาวะอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการหาวบ่อย ๆ
- การฉายภาพด้วยเครื่องสแกนสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) มักใช้ตรวจหาความผิดปกติในระบบต่าง ๆ เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับสมอง ไขสันหลัง และการทำงานของหัวใจ
การหาว จำเป็นต้องรักษาให้หายหรือไม่?
ถ้าจะหาวขนาดนี้แล้วล่ะก็!!!
อาการหาวไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเหมือนอาการป่วยอื่น ๆ ทุกคน และทุกเพศทุกวัยล้วนต้องหาวด้วยกันทั้งนั้น เพราะการหาวเป็นกระบวนการหนึ่งของร่างกายที่เป็นไปตามธรรมชาติ
แต่หากต้องเผชิญกับอาการหาวบ่อย ๆ จากความง่วง ความเมื่อยล้า และความเบื่อหน่าย ที่ไม่มีสาเหตุ หรือปัจจัยจากการเจ็บป่วยอื่น ๆ อาจบรรเทาอาการดังกล่าวได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
 
1. นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย และอายุ
2. กำจัดอุปสรรคที่รบกวนการนอน ปิดเสียง และแสงที่อาจรบกวนการนอน ไม่รับประทานอาหารก่อนเข้านอน ไม่ดูโทรทัศน์ เล่นมือถือ หรืออ่านหนังสือ ฯลฯ
3. สำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นตัว ควรเริ่มกลับมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันตามปกติ เพื่อไม่ให้อยู่ในภาวะเมื่อยล้าอ่อนเพลียนานจนเกินไป
4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสม และไม่อดอาหาร โดยเฉพาะมื้อเช้า
5. ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ
6. ทำกิจกรรมนอกบ้าน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า แต่ไม่ควรออกกำลังกายใกล้กับเวลาเข้านอน อย่างน้อยกว่า 4 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาในการนอนได้
7. หลีกเลี่ยงการใช้ยาในกลุ่มที่เสี่ยงทำให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า หรือง่วงซึม หากจำเป็นต้องใช้ยา สามารถปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาหรือการปรับยาได้ตามความเหมาะสมได้
8. งดหรือลดการดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ไม่สูบบุหรี่ และไม่ใช้ยาเสพติด
ในช่วงพักเบรค ผมได้เล่าสรุปทุกเรื่องเกี่ยวกับการหาวประหนึ่งอ่านบทความให้คนที่นั่งอยู่ตรงหน้าฟัง และหลังจากฟังจบ น้อง QA คนเดิม ก็ทำตาแป๋ว พูดขึ้นมาประมาณว่า แค่หาวนี่มันเป็นเรื่องราวใหญ่โตขนาดนี้เลยเหรอ?
ผมยิ้ม แล้วพยักหน้าแทนคำตอบ
“พี่ตอย ลืมไปอีกโรคหนึ่งพี่ ผมว่ามันเป็นแน่นอน” น้องผู้ชายในทีมที่ซุ่มฟังอยู่ใกล้ ๆ โพล่งขึ้นมา ให้ทุกคนอยากรู้
“โรคอะไร?” หลายเสียงในบริเวณนั้นถามขึ้นมาโดยพร้อมเพรียงกัน
“โรคนมเล็ก!!!”
สิ้นประโยคเฉลยจากเจ้าเด็กแสบประจำกลุ่ม การวิ่งไล่ล่ากันระหว่างผู้พาดพิง และผู้ถูกพาดพิงก็เกิดขึ้น พร้อมกับเสียงหัวเราะครืนใหญ่จากทุกคน
ง่วงละ 🥱🥱🥱
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้
และขอบคุณสำหรับการติดตามครับผม
หลับตา - ชรัส เฟื่องอารมย์
เพ้อ - Paradox
นอน (NONE) - สิงห์เหนือเสือใต้ FEAT. SUBURBIAN
นอนน้อย - แชมป์ ศุภวัฒน์
ขอบคุณข้อมูลจาก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา