24 มี.ค. 2021 เวลา 10:53 • การศึกษา
เหตุเพลิงไหม้ กับประโยค Classic
"คาดว่า...เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร"
ไฟฟ้าลัดวงจร กับ เพลิงไหม้ เรื่องที่เราควรรู้..
เรามักเห็นพาดข่าวหน้าหนังสือพิมพ์..
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้..สาเหตุที่เราจะได้ยินบ่อยๆคือ
"คาดว่า จะเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร"
เป็นวลี ที่เราคุ้นชิน..กล่าวโดยองค์รวมจากเหตุเพลิงไหม้จาก ไฟฟ้า
สัญญาครับ..ว่าจะพยายามอธิบายให้เข้าใจง่าย
ไม่คุยแบบภาษาช่าง..จะคุยแบบภาษาชาวบ้าน
ไฟฟ้าลัดวงจร นิยามง่ายๆ คือ
สายไฟ 2 เส้นที่มีแรงดันต่างกัน ต่างสีกัน แตะกัน
เมื่อแตะกัน เกิดประกายไฟจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน
ผลจากไฟฟ้าลัดวงจร
1. กระแสไฟฟ้าไหลเป็นจำนวนมาก
2. สายไฟฟ้าจะรับกระแสไฟฟ้าเกินพิกัด
3. อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน จะระเบิดได้
4. เกิดประกายไฟ (ตรงนี้แหละที่เป็นประเด็นต่อ)
เพลิงไหม้..มาจากประกายไฟ นั่นเอง
เมื่อประกายไฟเจอกับวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิง..บวกกับเวลาที่นานพอ
เพลิงไหม้...จึงเกิดขึ้น
ใต้ฝ้าเพดาน อาจเจอเศษกระดาษ เศษใบไม้ (เราไม่เคยดูมันเลย)
ที่อาจจะมีนก หรือ หนู คาบมา
และหากตรงนั้น เกิดไฟฟ้าลัดวงจรตรงนั้น...
(ไม่อยากจินตนาการครับ)
🚩🚩ขีดเส้นใต้ตรงนี้ครับ🚩🚩
ปกติให้สายไฟ 2 เส้นแตะกัน (ไฟฟ้าลัดวงจร)
เบรกเกอร์ (เครื่องตัดวงจร)ที่บ้านจะปลดวงจร....เป็นพระเอก!!!
(เบรกเกอร์ หน้าตายังงัย..ตามภาพครับ)
แต่หากเบรกเกอร์..หาก
🔸ไม่ได้มาตรฐาน
🔸ไม่ทำงาน
🔸ไม่ปลดวงจร
จากพระเอก..จะกลายเป็นผู้ร้ายทันที
(ไม่อยากจินตนาการ...)
สาเหตุไฟฟ้าลัดวงจร ขอแยกเป็น 2 กรณี
กรณี 1 : ความเสื่อม จากอายุการใช้งาน
🔸จุดสังเกตุ : สายไฟมีฉีกขาด ฉนวนกรอบ มีอาการติดๆดับ มีกลิ่น มีควัน
ป้องกันด้วย : เปลี่ยนสิ่งที่พบว่าชำรุดทันที และหยุดใช้งาน
1
กรณี 2 : อุปกรณ์ และ การติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน (ตั้งแต่ต้น)
🔸อุปกรณ์ไฟฟ้า : ต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก) เป็นด่านสำคัญ
(ของถูกเข้าว่า..นี้ต้องระวังเลย)
🔸ช่างไฟฟ้า : ต้องมีหนังสือรับรองความรู้ความสามารถ
ตามประกาศกระทรวงแรงงาน
🔸วิศวกรไฟฟ้า : ถูกควบคุมโดยสภาวิศวกร กับใบประกอบวิชาชีพ
อีกกรณีนึง ของเพลิงไหม้ ที่ไม่กล่าวคงไม่ได้..
(นอกเหนือจาก ไฟฟ้าลัดวงจร)
สาเหตุนึง และพบบ่อยจาก : การใช้ไฟฟ้าเกินขนาด
🔸การต่อปลั๊กพ่วง กับอุปกรณ์ไฟฟ้า
🔸กำลังไฟฟ้าที่ใช้...เกินขนาดสายที่จะรับไหว (สายไฟเล็ก)
🔥ผลคือ..สายไฟไหม้ หลอมละลาย จากกระแสไฟฟ้ามาก
และหากวัสดุที่พร้อมติดไฟอยู่ใกล้ๆ..กับเวลาที่นานพอ
(ไม่อยากจินตนาการ..เช่นกัน)
จบโพสต์นี้ด้วย
ไฟฟ้าเป็นได้ทั้งพระเอก..และพระรอง
ไฟฟ้าจะไม่เป็นผู้ร้าย..หากเราสอดส่อง ดูแล ป้องกัน และใส่ใจ
ติกตามซีรีส์เรื่อง “เรียนรู้ ปัญหาไฟฟ้าที่พบได้บ่อยๆ” ได้ที่ 👇🏼
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
24 มีนาคม 2564
เครดิตภาพ : pixabay
โฆษณา