20 มี.ค. 2021 เวลา 02:38 • การศึกษา
ไฟดับ กับ ไฟตก
2 อย่าง..เรื่องไฟฟ้าที่เราควรรู้
1
อะไรบ้างที่เราควรรู้ เรื่องไฟดับ ไฟตก ?
นิยามง่ายๆ ดังนี้ครับ
🔸ไฟดับ คือ ไฟไม่ติดนานเกิน 1 นาที น้อยกว่านี้ เรียกไฟกะพริบ
ผลคือไม่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้า ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้
🔸ไฟตก คือ การจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่น้อยกว่า 200 โวลต์ สำหรับ กฟภ
และสำหรับ 209 โวลต์ของ กฟน
(อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานคือ 220 โวลต์)
ทั้งไฟดับ และ ไฟตก💡
เป็นตัวเลขที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องกำกับดูแล...
ในลักษณะ “มาตรฐานการให้บริการ” ของการไฟฟ้าฯครับ
ภายใต้การกำกับดูแลจาก
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน : กกพ
มักมีคำถาม...
ไฟดับ มักจะมาให้เห็นในหน้าฝน ?
ไฟตก มักจะมาให้เห็นในหน้าร้อน ?
1
ขอเริ่มจากไฟฟ้าดับกันก่อนครับ..
สถานที่ใดบ้างไม่ควรไฟฟ้าดับ :
🕯โรงพยาบาล : เจอตอนถอนฟัน..ตอนทำคลอด ผ่าตัดคงไม่สนุก
🕯เหมืองใต้ดิน : เป็นเรื่องอากาศหมุนเวียน
🕯และที่บางคนอาจเคยเจอ...ในลิฟต์
(สถานที่เหล่านี้ แก้ไขด้วยมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง)
สาเหตุไฟฟ้าดับ
🔸ปัจจัยภายในบ้านเราเอง : ไฟฟ้าลัดวงจรในบ้าน
สายไฟฟ้าอายุการใช้งานนาน หนูกัดสายไฟ ฯลฯ
🔸จากปัจจัยภายนอก (ดับตั้งแต่ต้นทาง)
มาจาก : ฝนตก ฟ้าผ่า ต้นไม้แตะสายไฟ รถยนต์ชนเสาไฟฟ้า
มีสัตว์ขี้น - ปีน เกาะ เลื้อยบนเสาไฟฟ้า (นก งู ลิง ฯลฯ)
แผ่นป้ายไวนิล สังกะสี ปลิวโดนสายไฟ
ช่วงหน้าร้อนนี้..คือ ว่าว ครับ (น้องๆช่วงปิดเทอมควรระวัง)
สุดท้ายคือไฟดับจากเจ้าหน้าที่ การไฟฟ้าฯ ดับไฟเพื่อปฎิบ้ติงาน
เพื่อบำรุงรักษา ปรับปรุง ซ่อมแซมอุปกรณ์ในระบบ เพื่อให้ระบบมีความมั่นคง (มีการแจ้งล่วงหน้า 3 วัน)
อธิบายคำถามเรื่อง หน้าฝนกับไฟดับ 🌧🌧
ความที่ระบบไฟฟ้าของบ้านเรา เป็นระบบเหนือดิน (จากโรงไฟฟ้า - บ้าน)
เมื่อเข้าฤดูฝน ลมแรง จึงมีโอกาสที่ทำให้ต้นไม้ กิ่งไม้
แตะ - ล้มพาดสายไฟฟ้าได้ (ยังมีรถยนต์ชนเสาไฟฟ้าอีก)
* ช่วงนี้อาจมีเหตุจากพายุฤดูร้อน *
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ ขอความร่วมมือขอริดกิ่งไม้
ตามแนวสายไฟ..เราชาวบ้านควรให้ความร่วมมือครับ..
💁🏻‍♂️ 💁🏼‍♀️
สิ่งที่เรา..ชาวบ้านอย่างเราๆ ควรทราบ 🚩🚩
🔸กรณีไฟฟ้าดับ หน่วยงานให้บริการจำหน่ายไฟฟ้า
มีเกณฑ์คืนระบบภายใน 24 ชั่วโมง (ภายหลังจากการได้รับแจ้ง)
1
ในกรณีที่ดับทั้งซอย ทั้งหมู่บ้านมีเกณฑ์ภายใน 4 ชั่วโมง
(จ่ายกระแสไฟฟ้าคืนได้ร้อยละ 90)
ต่อด้วยไฟตก..หากเปรียบเทียบ
คล้ายๆกับน้ำประปาไหลอ่อนครับ
1
อาการไฟตก ที่เราสังเกตุได้ด้วยตนเอง :
🔸หลอดไฟที่เปิดใช้อยู่สว่างน้อยลงกว่าปกติ
🔸เครื่องใช้ไฟฟ้าพวกมอเตอร์ เช่น พัดลมแรงเบาลง
🔸ปั๊มน้ำดับ แอร์ไม่ติด ตู้เย็นไม่ทำงาน
🔸มักพบก่อนเกิดไฟฟ้าดับ (วูบ วาบ)
ไฟตก : ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าอายุการใช้งานสั้นลง
เสียหาย และชำรุดได้ (ไหม้) 🔥🔥
1
สาเหตุปัจจัยภายในบ้าน :
🔸 จุดต่อสายไม่ดี หลวม(การติดตั้งต้องได้มาตรฐาน - สำคัญมากๆ)
🔸 สายไฟชำรุด สายไฟฟ้าผิดขนาด
🔸 มีการใช้ไฟมากในบ้าน เช่นสว่าน การเปิดแอร์
สาเหตุจากภายนอกบ้านของเรา
🔸 มีบ้านเรือน ในละแวกเพิ่มมากขึ้น
🔸 มีการใช้ไฟฟ้าในแต่ละบ้านเพิ่มขึ้น
🔸 ระยะทางห่างจากหม้อแปลงไฟฟ้ามาก - ไกล
ปัญหาจากภายนอกบ้านต้องแจ้ง การไฟฟ้าฯ ในพื้นที่
(ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าเพิ่ม เปลี่ยนขนาดสายไฟ ปรับปรุงระบบ)
ช่วงหน้าร้อน ☄️☄️
แน่นอนครับ..ทุกบ้านเปิดแอร์ เปิดพัดลม
ในช่วงค่ำอาจมีสภาวะไฟตกได้...
1
สิ่งที่เราทำได้ : จำแนกให้ได้ว่าเหตุเป็นจากในบ้าน หรือนอกบ้าน
1️⃣ หากเกิดจากภายในบ้านเราเอง ตามช่างประจำบ้าน ที่เราคุ้นเคย
2️⃣ หากเกิดจากปัจจัยนอกบ้าน..แจ้งเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าฯ ใกล้บ้าน
3️⃣ ดูเพื่อนบ้าน สอบถามเพื่อนบ้าน ว่าไฟดับ ไฟตก เหมือนบ้านเรามั้ย..
(เพื่อง่ายต่อการประเมินว่าเหตุเกิดจากบ้านเราเอง หรือ จากภายนอก)
จบโพสต์นี้ด้วย เบอร์ call center
ของผู้ให้บริการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าครับ
เผื่อไว้ใช้งานเมื่อเกิดไฟดับ ไฟตก..
🔸1129 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
🔸1130 การไฟฟ้านครหลวง
เพิ่มเติม เบอร์ call center
🔸1204 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน : กกพ
ทิ้งท้ายด้วย..
ถึงหน้าฝน ตัวเปียก..แต่ใจไม่เปียก ^^
ถึงหน้าร้อน ตัวร้อน..แต่หัวไม่ร้อน (ใจร่มๆครับ ^^)
"ยิ้ม...สร้างโลก"
😊😊😊😊😊
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
20 มีนาคม 2564
Credit ภาพ : pixabay
โฆษณา