23 มี.ค. 2021 เวลา 23:45 • สุขภาพ
โรคเบาหวาน คืออะไร?
1
เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินสุลิน (Insulin) ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจำเป็นต้องมีอินสุลิน เพื่อนำน้ำตาลในกระแสเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและกล้ามเนื้อ
4
โรคเบาหวาน คืออะไร?
ชนิดของโรคเบาหวาน
- เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินสุลินในตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะขาดอินสุลิน
- เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะการลดลงของการสร้างอินสุลิน ร่วมกับภาวะดื้ออินสุลิน และมักเป็นกรรมพันธุ์
1
- เบาหวานชนิดพิเศษ เช่น เป็นโรคของตับอ่อน หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของอินสุลินโดยกำเนิด
- เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และหายไปได้หลังคลอดบุตร แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
1
อาการ
2
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียไม่มีเรี่ยวแรง
- ตาแห้ง สายตาพล่ามัวแบบไม่มีสาเหตุ
- ผิวแห้ง มีอาการคันผิวหนัง
- ปัสวะบ่อยผิดปกติ กระหายน้ำหิวน้ำตลอดเวลา
- มีอาการชาที่เท้า รู้สึกเจ็บที่เท้าหรือที่ปลายเท้า
- กินเก่งหิวบ่อย แต่น้ำหนักลดลงแบบไม่มีสาเหตุ
- เมื่อเกิดเป็นแผลที่เท้า หรือที่บริเวณอื่นๆจะหายช้ากว่าปกติ
2
รักษา
เป้าหมายของการรักษาก็เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับระดับปกติอยู่ตลอดเวลา การฝึกให้จัดการและดูแลตนเองเป็นส่วนสำคัญในการรักษาโรคเบาหวาน รูปแบบการรักษาจะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย และต้องนำประเด็นด้าน การแพทย์ จิตสังคม (psychosocial) และวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยมาร่วมใช้ในการรักษาด้วย
1
- การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1
เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้จึงอาจทำให้โรคเบาหวานชนิดที่ 1 นี้ยากต่อการควบคุม การรักษาจึงต้องมีหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ การควบคุมอาหารอย่างระมัดระวัง วางแผนเรื่องการออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง และการฉีดอินซูลินแบบหลายครั้งในหนึ่งวัน (MDI)
- การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2
วิธีการรักษาได้แก่การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลด้วยตนเอง และในบางกรณีอาจต้องมีการการรักษาด้วยยารับประทานและ/หรือฉีดอินซูลินร่วมด้วย ซึ่งมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 40% ที่ต้องฉีดอินซูลินร่วมด้วย
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นสามารถป้องกันได้แล้ว มีการศึกษาหลายการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การนำผู้ที่มีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดเบาหวานมาทำการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด จนมีน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างน้อย 7-10% ของน้ำหนักตัวเดิม สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานลงได้อย่างมีนัยสำคัญ
2
อินซูลิน คืออะไร?
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
2
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา