23 มี.ค. 2021 เวลา 10:47 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เข้าใจครบจบ งบการเงิน | by หนีดอย
ตอนที่ 5 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนแรก
🌟เราได้ผ่านงบกำไรขาดทุนมาแล้ว ใบบทที่ 3 และ 4 มาในงวดนี้ จะพูดถึงงบตัวถัดไปที่สำคัญไม่แพ้งบไหนๆ นั่นก็คือ "งบดุล" ครับ
🌟ใครมาไม่ทันสามารถเริ่มต้นตั้งแต่บทแรกได้ที่
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน : www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน : www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก : www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
ตอนที่ 4 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/605788dce226050c01dad1ce
2
🌟งบดุล คือ งบที่บอกถึงสถานะทางการเงินของกิจการ มีอีกชื่อว่า งบแสดงฐานะทางการเงิน (statement of financial position)
1
🌟งบดุล -> อ่านแบบ ซ้าย-ขวา (ดูที่ไป - ดูที่มาของเงินทุน)
โดยแสดงรายการต่างๆจากบนลงล่าง ตามสภาพคล่องจากสูงสุดไปต่ำสุด
โดย ซ้าย = ขวา จึงเรียกว่างบดุล (สมดุลกัน)
🌟มีสมการดังต่อไปนี้คือ
Assets = Debt + Equity
A = D+E
ทรัพย์สิน = หนี้ + ทุน
***นอกจาก Debt อีกคำที่เราใช้คือ Liabilities
2
ฝั่งซ้ายบอก (2) “ที่ไป”ของเงินทุน ว่าถูกใช้ไปเป็นทรัพย์สินอะไรบ้าง
ฝั่งขวาบอก (1) “ที่มา” ของเงินทุน ว่ามาจาก 2 แหล่งคือ หนี้ และ ทุน
งบดุล (Balance sheet)
#ฝั่งซ้าย
🌟ทรัพย์สิน คือ ทรัพยากรหลักของกิจการเพื่อสร้างรายได้ จากสินค้า/บริการ
โดยแบ่งเป็น 4 รายการสำคัญ เรียงตามสภาพคล่องจากสูงสุดไปต่ำสุด
1.เงินสด (ชื่อเต็ม คือ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด | cash & cash equivalents)
2.ลูกหนี้การค้า (Account Receivable หรือ A/R)
3.สินค้าคงเหลือ (Inventories)
4.ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (property plant & equipment)
4
🌟โดย 1, 2, 3 ถือเป็น “สินทรัพย์หมุนเวียน” (current assets) หรือ เงินทุนหมุนเวียน (working capital) บริษัทสามารถใช้ 3 อย่างนี้แปลงไปเป็นสินค้าหรือบริการเพื่อก่อให้เกิดรายได้
ขณะที่ 4 ถือเป็น “สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน” (non-current assets) หรือ สินทรัพย์ถาวร (fixed assets) บริษัทจะใช้สินทรัพย์นี้เป็นฐานเพื่อผลิตสินค้าหรือบริการ แต่ไม่ใช้มันแปลงเป็นสินค้า
#ฝั่งขวา มี 2 ประเภท คือ หนี้ กับ ทุน
หนี้ คือ แหล่งทุนที่บริษัทได้มาจากเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย โดยบริษัทเป็นลูกหนี้ (ยกเว้นเจ้าหนี้การค้า ไม่มีดอกเบี้ย)
โดยแบ่งเป็น 3 รายการสำคัญ เรียงตามสภาพคล่องจากสูงสุดไปต่ำสุด
1.เจ้าหนี้การค้า (Account Payable หรือ A/P)
2.หนี้ระยะสั้น (Short-term debt)
3.หนี้ระยะยาว (Long-term debt)
3
🌟โดย 1,2 จัดเป็น “หนี้สินหมุนเวียน” (current debts) หรือ หนี้สินระยะสั้น (short-term debts) ที่อายุไม่เกิน 1 ปี
และ 3 จัดเป็น “หนี้สินไม่หมุนเวียน” (non-current debts) หรือ หนี้สินระยะยาว (long-term debts) ที่มีอายุเกิน 1 ปี
🌟ทุน คือ แหล่งทุนที่ได้มาจากเจ้าของ ผู้ที่จะได้รับผลตอบแทนตามผลกำไรของบริษัท
โดยแบ่งเป็น 2 รายการสำคัญ
1.ทุนที่ออกและชำระแล้ว (Issued & Paid-up Shares Capital)
2.กำไรสะสม (Retained earnings)
งบดุล เมื่อใส่รายการต่างๆที่สำคัญไว้ โดยสมการ ทรัพย์สิน = หนี้ + ทุน
🌟คราวนี้ผมจะมาอธิบายรายละเอียดของงบดุลไปทีละรายการนะครับ สู้ๆนะครับทุกคน รู้ว่ายากแต่ถ้าผ่านไปได้ เราจะลงทุนได้อย่างถูกวิธี เลือกหุ้นที่งบการเงินแข็งแกร่งได้ในอนาคตครับ
1
#ฝั่งซ้าย หรือ ทรัพย์สิน
1. เงินสด (ชื่อเต็ม คือ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด | cash & cash equivalents)
ได้แก่ ธนบัตร, เหรียญกษาปน์, เงินฝาก (นับทุกสกุล), เงินฝากประจำที่อายุคงเหลือไม่เกิน 3 เดือน สำหรับรายการเทียบเท่าเงินสด คือ ตราสารสภาพคล่องสูงที่แปลงเป็นเงินได้ทันที เช่น ตั๋วเงินคลัง หรือ กองทุนรวมตลาดเงิน
🌟รายการเงินสดสำคัญขนาดที่ว่า เราต้องแยกมันออกมาดูเป็นงบกระแสเงินสด ซึ่งแบ่งได้อีก 3 ประเภทย่อย ได้แก่ NOCF, NICF, NFCF
🌟เราควรสนใจกับเงินสด เพราะหมายถึงสภาพคล่องของบริษัท เพราะเงินสดสามารถนำไปจ่ายเงินให้กิจการ เช่น เงินเดือน โบนัส ปันผล หากบริษัทไหนจ่ายเงินเดือนพนักงานเป็นเงินเชื่อ พนักงานก็คงไม่ happy มากนักเท่าไหร่ครับ หรือกรณีที่บริษัทซื้อสินค้าแบบเงินเชื่อมา ซึ่งแทบทุกกิจการก็เป็นแบบนี้ทั้งนั้น ก็จะมีระยะเวลาที่ถึงเวลาต้องชำระ หากถึงกำหนดแล้วไม่ชำระเงินสดให้กับคู่ค้า ก็คงไม่มีใครอยากทำการค้าเป็นแน่ ยังไม่นับรวมไปถึงดอกเบี้ย ที่ต้องคืนเจ้าหนี้อีก
1
2.ลูกหนี้การค้า (Account Receivable หรือ A/R)
คือ รายการสินค้า / บริการ ที่ส่งมอบให้กับลูกค้าแล้ว เกิดการซื้อขายแล้ว แต่ยังเก็บเงินสดไม่ได้ จึงบันทึกรายการนี้เป็น “ลูกหนี้การค้า” ซึ่งกรณีที่บริษัทขายเชื่อให้แก่ลูกค้าได้ ส่วนที่ขายได้จะถูกบันทึกเป็น “ลูกหนี้การค้า” ในงบดุล และ “รายได้” ในงบกำไรขาดทุน และทันทีที่เก็บเงินสดได้แล้ว ยอดนี้ก็จะถูกย้ายไปในส่วนรายการ “เงินสด” แทนในงบดุล แต่ในส่วนของ “รายได้” ของงบกำไรขาดทุนยังคงเท่าเดิม เพราะนับเป็นรายได้ตั้งแต่การขายเชื่อแล้ว
“หนี้สูญ” (bad debt) คือ?
🌟เพราะบริษัทต้องมีการขายสินค้า/บริการทั้งเงินสดและเงินเชื่อ เพื่อทำให้เกิดยอดขายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งการขายเชื่อแบบนี้ ก็มีโอกาสที่จะถูกเบี้ยวหนี้ไม่ชำระตามกำหนดเงื่อนไขได้ครับ จากรายได้ที่ควรได้ และบันทึกเป็นลูกหนี้การค้าได้ จะถูกบันทึกเป็น “หนี้สูญ” แทน และปรับแก้จากรายได้ ไปเป็น “ค่าใช้จ่าย” แทน
1
3.สินค้าคงเหลือ (Inventories)
คือ รายการนับตั้งแต่ต้นทุนวัตถุดิบจนถึงสินค้าที่พร้อมวางจำหน่าย แต่ “ยังไม่ได้ขายออกไป” หากเมื่อไหร่ที่สินค้าคงเหลือถูกจำหน่ายไป รายการนี้ก็จะย้ายไปอยู่ที่เงินสด หรือ ลูกหนี้การค้า แล้วแต่ว่าขายได้เป็นเงินสด หรือ เงินเชื่อในส่วนของงบดุล และจะเกิด 2 รายการใหม่ในงบกำไรขาดทุน คือ รายได้ และ ต้นทุนขาย
🌟กิจการที่ดีต้องสต็อคสินค้าไม่น้อยเกินไป จนเสียโอกาสในการขายหากลูกค้าต้องการแต่ไม่มีของ และไม่มากจนเกินไป เกิดเป็นภาวะสต็อคจม ยิ่งถ้าเป็นสินค้าที่ตกรุ่นไวแล้วต้องบริหารจัดการให้ดีครับ
4.ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (property plant & equipment)
คือ ทรัพย์สินที่ไม่ได้มีไว้ขาย แต่ไว้ใช้งานในกิจการ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน, โรงงาน, ร้านค้า, เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ โทรศัพท์ ฯลฯ ยกเว้นว่าบริษัทนั้นๆ ขายคอมพิวเตอร์ หรือ ที่ดิน คอมพิวเตอร์ หรือ ที่ดินก็จะกลายเป็นสินค้าคงเหลือแทน
“ค่าเสื่อมราคา” (Depreciation) คือ?
ทรัพย์สินถาวรย่อมมีอายุการใช้งาน และเสื่อมไปตามกาลเวลา เรามักจะบันทึกทางบัญชีโดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่ายส่วนย่อยๆในงบกำไรขาดทุน แทนการบันทึกแค่ครั้งเดียวจบ เรียกว่า “การหักค่าเสื่อมราคา” โดยเราแบ่งการคำนวณค่าเสื่อมราคาออกมาได้ 3 วิธีคือ
…1 แบบเส้นตรง (Straight line) : คิดค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปีตลอดอายุการใช้งาน
…2 แบบอัตราเร่ง (Accerelated) : คิดค่าเสื่อมราคาในช่วงปีแรกๆเยอะกว่าปีท้ายๆ
…3 แบบค่าเฉลี่ยต่อหน่วย (Units of production) : คิดค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยผลผลิต แล้วคูณด้วยจำนวนผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงนั้น
ซึ่งการคิดแต่ละแบบก็ทำให้งบออกมาหน้าตาต่างกัน เช่นแบบอัตราเร่งช่วงแรก กำไรสุทธิจะออกมาน้อยกว่า แบบเส้นตรง เพราะถูกหักค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาก แต่ไม่ว่าเราจะใช้วิธีไหน มูลค่ารวมของค่าเสื่อมราคาตลอดอายุการใช้งานของทรัพย์สินนั้นต้อง “เท่ากัน”
1
🌟ขอยกตัวอย่างค่าคิดแบบเส้นตรงของค่าเสื่อมราคาในรถยนต์ที่ถูกซื้อมาใช้ในบริษัทมูลค่า 1 ล้านบาท อายุการใช้งาน 5 ปี จากนั้นวางแผนจะขายออกไปในราคาซาก 250,000 บาท ดังนั้นแล้วค่าเสื่อมราคาของรถจะตกปีละ 250,000 บาท จากสูตร (1,000,000 - 250,000) / 5
หากมาแจกแจงรายปีจะเป็นดังนี้
🌟สำหรับการเปลี่ยนแปลงในส่วนงบดุลของ “ค่าเสื่อมราคา” นั้น เมื่อเวลาผ่านไปตัวเลขของ “ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์” จะลดลงเพราะคิดค่าเสื่อมแล้วเรียบร้อย
🌟ผมลองเอา งบดุล ของ Apple Inc. มาให้ดูกันนะครับ
Balance Sheet ของ Apple Inc. จาก Form 10-Q For the Fiscal Quarter Ended December 26, 2020
🌟และนี่ก็เป็นงบดุลตอนแรก ในส่วนของ Intro และ ทรัพย์สิน (#ผั่งซ้ายของงบดุล) บทต่อไปจะพาไปเจาะลึกในส่วนของงบดุล ฝั่งขวา คือ หนี้ กับ ทุน ครับ
💭บทความล่าสุด!!! สำหรับคนอยากเข้าใจทุกลมหายใจของบริษัท กับ เข้าใจครบจบ งบการเงิน เพื่อการลงทุนหุ้นรายตัว | by หนีดอย
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน : www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน : www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก : www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
ตอนที่ 4 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/605788dce226050c01dad1ce
ซีรีส์ : เข้าใจครบจบ งบการเงิน เพื่อการลงทุนหุ้นรายตัว | by หนีดอย
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
clubhouse
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา