24 มี.ค. 2021 เวลา 05:59 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เข้าใจครบจบ งบการเงิน | by หนีดอย
ตอนที่ 6 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนจบ
2
🌟ผ่านไปแล้ว 5 ตอน ได้ครึ่งทางแล้วครับ (รึเปล่า) สำหรับงบการเงิน ที่ยังคงอยู่ในส่วนของงบดุล แต่คราวนี้เราจะมากล่าวถึงงบดุล #ฝั่งขวา ที่ประกอบไปด้วย “หนี้และทุน”
🌟ใครมาไม่ทันสามารถเริ่มต้นตั้งแต่บทแรกได้ที่
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน : www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน : www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก : www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
ตอนที่ 4 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/605788dce226050c01dad1ce
ตอนที่ 5 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนแรก : www.blockdit.com/posts/605842b9fb15620c5b77b9c4
🌟บทนี้เราจะมาโฟกัสตามรูปภาพด้านล่างในส่วนที่ 1 หรือ ที่มาของเงินทุนในกิจการ #ฝั่งขวา
งบดุล (Balance Sheet)
🌟🌟หนี้ (Debt หรือ Liability)
1
1.เจ้าหนี้การค้า (Account Payable หรือ A/P)
คือ อะไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นสินค้า/บริการ หรือ วัตถุดิบ ที่เป็นรายการที่รับมาจากคู่ค้า แล้วยังไม่ได้จ่ายเงินสดออกไป เราจัดให้เป็น “เจ้าหนี้การค้า” ถือเป็น หนี้สินหมุนเวียนแบบไม่มีต้นทุนการเงิน(ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยนั่นแหละ)
2
🌟อย่าสับสนกับลูกหนี้การค้านะครับ เพราะลูกหนี้การค้า(A/R) คือ เราขายสินค้า/บริการออกไป แต่เรายังไม่ได้เงินสด(ขายเชื่อ) ในงบดุลเราจัดเป็น “ทรัพย์สิน” ไม่ใช่ “หนี้สิน”
🌟เวลาดูงบการเงินให้ดูว่ากิจการอะไรที่มีเจ้าหนี้การค้าเยอะๆ แสดงว่ามีอำนาจในการต่อรองกับคู่ค้าสูง
🌟เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดการชำระเงินสด งบดุลก็จะเปลี่ยน คือ เงินสดลดลง (เพราะเอาไปจ่ายคืนหนี้) และ เจ้าหนี้การค้าลดลง (เพราะเคลียร์หนี้กันแล้วไม่ต้องจดบันทึกติดค้างอะไรกันต่อไป) ในบางกรณีมีการคืนสินค้า ไม่ใช่คืนเงิน แบบนี้ รายการสินค้าคงเหลือจะลดลงแทนเงินสด และ เจ้าหนี้การค้าลดลง เช่นกันครับ
2.หนี้ระยะสั้น (Short-term debt)
คือ หนี้สินของกิจการที่ไม่เกิน 1 ปี เช่น เงินเบิกเกินบัญชี (Bank overdraft หรือ Bank O/D), เงินกู้ยืมธนาคารระยะสั้น (Short-term bank loan), ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory note) และ เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดต้องชำระใน 1 ปี (Current portion of long-term loan)
1
🌟คำอธิบายเพิ่มเติมประเภทหนี้ระยะสั้น
(1) เงินเบิกเกินบัญชี (Bank overdraft หรือ Bank O/D) : บริษัทจะมีบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อกิจการต้องใช้จ่ายเกินกว่ายอดคงเหลือในบัญชีกระแสรายวัน เพื่อให้ดำเนินการค้าขายได้สะดวก ส่วนที่เกินมาทาง Bank จะยอมให้บริษัทยืมแต่ไม่ให้เกินวงเงินที่บริษัทได้รับ สำหรับส่วนที่เกินมานี้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเบิกเงินเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate หรือ MOR)
(2) เงินกู้ยืมธนาคารระยะสั้น (Short-term bank loan) : หนี้ระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี
(3) ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory note) : หนี้ระยะสั้นที่บริษัทกู้ยืมมาจากประชาชน
(4) เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดต้องชำระใน 1 ปี (Current portion of long-term loan) : หนี้ที่เดิมเป็นระยะยาวเกิน 1 ปี แต่เหลือไม่ถึง 1 ปีแล้วในตอนนี้
3.หนี้สินระยะยาว (Long-term debt)
คือ หนี้ที่อายุเกิน 1 ปี จัดเป็น "หนี้สินไม่หมุนเวียน" แบ่งเป็น 2 แหล่งหลักๆ
1. เงินกู้ระยะยาวจากสถาบันการเงิน (long-term bank loan)
2. หุ้นกู้ (debenture) นอกจากสถาบันการเงินแล้ว ทางบริษัทใหญ่ๆ สามารถขอกู้ยืมโดยตรงจากประชาชน ด้วยการออกหุ้นกู้ ซึ่งประชาชนจะได้รับผลตอบแทนเป็น "ดอกเบี้ย" ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ซึ่งวิธีการนี้ต้นทุนทางการเงินจะถูกกว่าแบบกู้ยืมจากธนาคารในแบบแรก
1
🌟โดยปกติหุ้นกู้ส่วนมากจะมีอายุสัญญามากกว่า 1 ปี หากทั้งหุ้นกู้ หรือ เงินกู้ระยะยาวจากสถาบันทางการเงินเหลืออายุสัญญาไม่ถึง 1 ปี จะกลายมาเป็นหนี้ระยะสั้นแทน
🌟ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับในส่วน Debt หรือ Liability
🌟🌟ส่วนทุน (Equity)
เรานับทุนที่ออกและชำระแล้ว ให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนตั้งต้นที่เจ้าของได้ใส่เงินเข้ามาร่วมลงทุนกับกิจการ แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ
1
1.ทุนเรือนหุ้น (share capital) เรากำหนดสัดส่วนของความเป็นเจ้าของด้วย "จำนวนหุ้น" (shares) เวลาก่อตั้งบริษัท จะมีการกำหนด "ทุนจดทะเบียน" (authorized share capital) ที่เหมาะกับสถานะที่เริ่มดำเนินกิจการ เช่น ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ต่อมาจะทำการระดมทุนด้วยการให้ชำระค่าหุ้นที่ไม่ต่ำกว่า "มูลค่าที่ตราไว้" (par value) เช่น 5 บาท (ตัวเลขราคาพาร์นี้กำหนดได้เอง ไม่มีเลขตายตัว แล้วแต่บริษัทเลย)
🌟เมื่อนักลงทุนได้ชำระค่าหุ้นแล้ว จะเรียกว่า "ทุนที่ออกและชำระแล้ว" (Issued & paid-up shares) จัดเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเงินทุนที่แท้จริงเพื่อดำเนินกิจการ
🌟ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (premium)
หลังจากที่ได้ดำเนินธุรกิจมาจนกระทั่งต้องการขยายกิจการ ทางบริษัทสามารถใช้ได้ทั้งวิธีเพิ่มส่วน "หนี้" หรือ "ส่วนทุน" หากบริษัทมีมติที่ต้องการเพิ่มส่วนทุน สามารถทำได้ 2 วิธีการผ่านตลาดแรก คือ
(1) การเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจง (Private Placement หรือ PP) : ทางบริษัทเสนอขายหุ้นจำนวนมากแก่นักลงทุนรายใหญ่ นักลงทุนสถาบัน แบบเจาะจงตามชื่อเลยครับแบบเน้นๆ น้อยราย
(2) การเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (Initial Public Offering หรือ IPO) : ทางบริษัทเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปผ่านตลาดแรก ที่เรารู้จักกันดีว่าหุ้นIPO
🌟กำไรที่ได้จากการระดมทุนขายหุ้นออกไปใน "ตลาดแรก" จะถูกบันทึกในรายการ "ส่วนเกินมูลค่าหุ้น" (premium) ส่วนนี้จะไปอยู่ใน "งบดุล" ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ หุ้นมีราคาพาร์ 10 บาท เสนอขายที่ 15 บาท ได้กำไรส่วนต่างมา 5 บาท เจ้า 5 บาทนี้จะถูกบันทึกไว้ว่าเป็น "ส่วนเกินมูลค่าหุ้น" (premium) ขณะที่มูลค่าที่ตราไว้ 10 บาท จะถูกบันทึกไว้ว่าเป็น "ทุนที่ออกและชำระแล้ว" (Issued & paid-up shares)
🌟ไม่ว่าทางบริษัทจะขายหุ้นให้กับใครก็ตาม สุดท้ายบริษัทจะได้เงินทุนมาดำเนินการขยายกิจการต่อไปตามที่ตั้งใจไว้ในการระดมทุน ซึ่งถือว่าเป็นเงินทุนจริงๆที่ได้รับ แต่จะต่างกับหุ้นในตลาดรอง ที่ขายกันผ่านโบรกเกอร์ แบบนี้จะไม่มีเงินทุนจริงๆเข้าไปสู่ตัวกิจการครับ เป็นการแลกเปลี่ยนกันเองระหว่างผู้ถือหุ้น ตามราคาตลาด (Market Price)
🌟ใกล้จบแล้วๆ เหลือข้อสุดท้ายละครับ
3
2.กำไรสะสม (retained earnings)
หลังจากบริษัทมีรายได้ที่ตัดค่าใช้จ่ายจนเกิดกำไรสุทธิหลังหักภาษีและดอกเบี้ยเรียบร้อย ก็จะมีกำไรตรงส่วนนี้ที่เพิ่มขึ้นมา นอกจากเงินทุนที่ถูกใส่เข้าไปตั้งแต่เริ่มกิจการ โดยแบ่งได้เป็น 2 ส่วน
(1) จัดสรรแล้ว (appropriated) หรือสำรองตามกฎหมาย (legal reserve) ซึ่งในที่นี้อย่างของไทยมีระบุไว้ว่าบริษัทต้องกันส่วนกำไรสุทธิไว้ 5% มาใส่ไว้ในรายการนี้ จนครบ 10% ของทุนจดทะเบียน พอครบแล้วก็ไม่ต้องมาใส่เพิ่มอีก พอกันที จบแต่เพียงเท่านี้ครับ ในส่วนนี้ "ห้ามนำไปจ่ายปันผล"ครับ เพราะว่ามันชื่อ สำรองตามกฎหมาย
(2) ยังไม่จัดสรร (unappropriated) ส่วนที่ไม่ต้องกันเข้าสำรองตามกฎหมาย ส่วนนี้นี่แหละที่นักลงทุนอย่างเราๆชอบครับ เพราะสามารถนำมาจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้ หรือ บางบริษัทมีนโยบายไม่จ่ายปันผล จะเอาไปใช้ทำอย่างอื่นก็ได้
🌟นึกภาพตามครับ พอได้กำไรสุทธิ แล้วไปจ่ายปันผล กำไรส่วนที่เหลือนี้ก็จะถูกบวกเข้าไปในกำไรสะสมของปีก่อนๆ ทำให้ส่วนของทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนักลงทุนปรารถนาสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่งครับ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทำไปทำมาขาดทุน กำไรสะสมที่ทำได้ปีก่อนๆ ก็จะถูกหักลบออกไป แบบนี้เป็นสัญญาณที่ไม่ค่อยดีนักแล้วครับ
🌟สำหรับเงินปันผลจะถูกจ่ายให้ผู้ถือหุ้นมากน้อยเท่าไหร่ก็แล้วแต่นโยบายบริษัทนั้นๆครับ เช่น มีนโยบายจ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 30% ของกำไรสุทธิ เป็นต้น
🌟อีกข้อที่น่าสนใจคือ เวลาที่กำไรสะสมเพิ่ม -> ส่วนทุนก็เพิ่มตาม เวลาอยากจะกู้เพิ่ม เจ้าหนี้ก็ยอมปล่อยกู้ให้มากขึ้นตาม
1
🌟ก็จบแล้วครับ สำหรับงบดุล ดีใจจัง 5555
3
🌟ผมลองเอา Balance sheet ของ Apple Inc. มาให้คุณผู้อ่านได้ดูกันอีกทีครับ ลองค่อยๆดูจากหัวข้อใหญ่ แล้วมาดูหัวข้อย่อยๆ แต่ถ้าไมเกรนขึ้นแล้ว ก็ไม่ต้องดูครับ ตัดจบบทได้เลย 555
💭ซีรีส์รวมทุกตอน!!! สำหรับคนอยากเข้าใจทุกลมหายใจของบริษัท กับ เข้าใจครบจบ งบการเงิน เพื่อการลงทุนหุ้นรายตัว | by หนีดอย
ตอนที่ 1 | Introduction งบการเงิน : www.blockdit.com/posts/6055be54e226050c0156e56e
ตอนที่ 2 | มองให้ครบ...ภาพรวมงบการเงิน 6 ส่วน : www.blockdit.com/posts/60563aabe1b5aa0c246ad42b
ตอนที่ 3 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ภาคแรก : www.blockdit.com/posts/6057772ae226050c01d7c1fa
ตอนที่ 4 | งบกำไรขาดทุน (income statement) ตอนจบ : www.blockdit.com/posts/605788dce226050c01dad1ce
ตอนที่ 5 | งบดุล (Balance Sheet) ตอนแรก : www.blockdit.com/posts/605842b9fb15620c5b77b9c4
ซีรีส์ : เข้าใจครบจบ งบการเงิน เพื่อการลงทุนหุ้นรายตัว | by หนีดอย
💭เพราะการลงทุนนั้น ไม่ต้องซื้อให้ถูกที่สุด
แต่ขอให้ห่างจากจุดที่เรียกว่า "ดอย" ก็พอ
💭ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ รบกวนกด Like เป็นกำลังใจให้แอดมิน
ใครคิดว่าบทความนี้ใช่ รบกวนกด share ให้เพื่อนๆมีความรู้เพิ่มในการลงทุน
หรือใครมีข้อเสนอแนะ ติชมอะไร พิมพ์ทิ้งไว้ได้เลยครับ
==================================
***การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุนทุกครั้ง
==================================
💭หากใครอยากได้ข้อมูลการลงทุนแบบฉับไว
ไม่พลาดทุกการลงทุนในทุกสินทรัพย์
กด Follow Twitter "หนีดอย"
พร้อมกดกระดิ่งแจ้งเตือนได้ที่ www.twitter.com/needoykan
💭เผื่ออนาคตผมมีจัด Clubhouse ด้านการลงทุน ใครสนใจสามารถ follow @winneuro เพื่อติดตามกันได้เลยนะครับ...
clubhouse
💭ช่องทาง Podcast ทั้งหมดของ "หนีดอย"
Apple Podcast : apple.co/3pC8Gwh

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา