23 มี.ค. 2021 เวลา 02:09 • สุขภาพ
“การนอนที่เพียงพอในแต่ละช่วงวัย” และ “หนี้การหลับ” ที่เราต้องชดใช้เมื่อพักผ่อนน้อยเกินไป
1
แค่ไหนที่เรียกว่าพอดี?
“การนอนหลับ” คือสถานะที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ตามธรรมชาติ โดยแสดงลักษณะที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป กล่าวคือ เป็นสภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้า และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวลดลง
1
การนอนหลับถือเป็นสถานะที่มี “แอแนบอลิซึม” (anabolism) หรือการเสริมสร้างอวัยวะ และเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้น โดยเน้นไปที่การเจริญเติบโตกับการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูก และกล้ามเนื้อเป็นสำคัญ
2
การนอนหลับถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพ และเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของคน เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตที่ขาดไม่ได้นับตั้งแต่เกิดจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต
มานอนกัน
เชื่อหรือไม่ว่า คนเราใช้เวลานอนถึง 1 ใน 3 ของชีวิต
1
เพราะถ้าเราใช้เวลานอนหลับวันละ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เราจะพบว่าใน 1 ปี มีจำนวนวันทั้งหมด 365 วัน คิดเป็นเวลาทั้งหมด 8,760 ชั่วโมงเราจะใช้เวลานอนเฉลี่ยอยู่ที่ 2,190-2,920 ชั่วโมง
1
ซึ่งมากถึง 25-33 % ในระยะเวลา 1 ปี หรือ คิดเป็น 92-122 วันโดยประมาณ
1
รู้หรือไม่ ในแต่ละช่วงอายุของคนเราต้องการการนอนหลับต่อวันที่ไม่เท่ากัน
ถ้างั้นเราควรใช้เวลานานเท่าไหร่ในการนอนหลับ?
ทารกเกิดใหม่ (0-2 เดือน) ต้องการนอน 12-18 ชั่วโมง
ทารก (3–11 เดือน) ต้องการนอน 14-15 ชั่วโมง
เด็กวัยหัดเดิน (1–3 ขวบ) ต้องการนอน 12-14 ชั่วโมง
เด็กก่อนวัยเรียน (3–5 ขวบ) ต้องการนอน 11-13 ชั่วโมง
เด็กวัยเรียน (5–10 ปี) ต้องการนอน 10-11 ชั่วโมง
วัยรุ่น (10-17 ปี) ต้องการนอน 8.5-9.25 ชั่วโมง
1
ผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ ต้องการนอน 7-9 ชั่วโมง
สตรีมีครรภ์ ต้องการนาน 8 ชั่วโมงขึ้นไป
การอดนอนหรือนอนไม่เพียงพอ ที่เรียกว่า "หนี้การหลับ" (sleep debt) นั้น จะทำให้เกิดความอ่อนล้าทั้งทางร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งยัง ทำให้ความสามารถในขบวนการคิดระดับสูงลดลงอีกด้วย
1
และนี่คือผลเสียของการอดนอนหรือนอนไม่เพียงพอ
1. ทำให้สมองทำงานหนัก กระบวนการเรียนรู้ช้าลง เพราะการอดนอนนั้นมีผลต่อการทำงานของสมองในส่วนต่าง ๆ ให้ทำงานผิดแปลกไป เช่นที่สมองส่วนหน้าสุด (prefrontal cortex) จะทำให้การเรียนรู้จากคำพูดแย่ลงเป็นต้น
2
ฟุบอย่างนี้กาแฟเข้มแค่ไหนก็เอาไม่อยู่
2. ทำให้ระบบจัดเก็บความทรงจำหรือระบบประสาทมีประสิทธิภาพลดลง โดยอวัยวะที่สำคัญคือ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลที่เรียนรู้ในระหว่างวันเข้าสู่ความทรงจำระยะยาว ซึ่งอวัยวะชิ้นนี้จะทำงานตอนที่เรานอนหลับเท่านั้น และจะทำงานได้ดีหากร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอซะด้วยสิ
2
กลายเป็นคนขี้ลืม
3. ทำให้มีปัญหาสุขภาพจิต เพราะการอดนอนชนิดรุนแรงสามารถทำให้เกิดภาวะโรคทางจิต (psychosis) ได้ เช่น อาการหูแว่ว ประสาทหลอน ระแวงกลัวคนมาทำร้าย หงุดหงิดง่าย มากน้อยตามแต่ความรุนแรงของการอดนอน
2
ประสาทหลอน หวาดระแวง
4. ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง โดยการอดนอนจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานหนักขึ้น ซึ่งในเลือดจะมีเม็ดเลือดขาวเพิ่มมากขึ้น และเม็ดเลือดขาวเหล่านี้จะสลายตัวในเวลาต่อมาจึงทำให้ความสามารถของร่างกายในการต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสเสียไป
2
ป่วยง่ายกันเลยทีเดียว
5. ทำให้มีปัญหาสุขภาพ นั่นก็เพราะกลไกตามธรรมชาติได้เสียสมดุลไป เช่น ระบบฮอร์โมนหลั่งผิดปกติ อาทิ การผลิตสารเลปติน (Leptin) น้อยลง ซึ่งเลปตินมีบทบาทในการควบคุมความอยากอาหาร เพราะฉะนั้นยิ่งเราอดนอน เลปตินก็จะถูกผลิตออกมาน้อยลงทำให้เรามีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการควบคุม และลดน้ำหนักได้
2
พุงมา!!!
สรุปว่าทุกท่านได้ทราบความสำคัญของการนอนกันแล้วนะครับ ควรพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และสร้างเสริมสุขนิสัยในการนอนอย่างมีคุณภาพด้วยนะครับ ควรให้ความสำคัญกับการนอนเพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ หลังจากที่เราใช้งานร่างกายมาอย่างหนักในการทำงานมาตลอดทั้งวัน รวมทั้งเป็นการฟื้นฟู และดูแลจิตใจของเราด้วยการนอนที่มีคุณภาพเพียงพอ เพื่อให้การตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่นั้นมีความพร้อมสูงสุด เพื่อที่จะมีความสุขในการเริ่มต้นชีวิตในแต่ละวันครับ
1
ถ้าพักผ่อนเต็มที่ มั่นใจได้เลยว่าคุณจะตื่นขึ้นมาพร้อมกับความสดใสแน่นอน
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม, ไลค์, คอมเมนท์ และแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ ขอบคุณครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า สวัสดีครับ
ขอบคุณที่มา
โฆษณา