Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE SCOOP
•
ติดตาม
29 มี.ค. 2021 เวลา 16:40 • ข่าว
ทุกเรื่องราวมี 3 ด้าน: ด้านของฉัน ด้านของเธอ ด้านที่เป็นเรื่องจริง และไม่มีใครในนี้ที่โกหก
คำกล่าวนี้เป็นจริงและใช้ได้เสมอในทุกประเด็นข้อพิพาทที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ ซึ่งกรณีดราม่าฝ้ายซินเจียงนั้นก็ไม่ใช่ข้อยกเว้นแต่อย่างใด
ก่อนที่เราจะไปถึงประเด็นร้อนในปัจจุบัน เราไปดูกันคร่าว ๆ ก่อนดีกว่าว่า ทำไมชื่อซินเจียงอุยกูร์ถึงมาปรากฏในหน้าสื่อบ้านเราได้อยู่เรื่อย ๆ
เขตการปกครองตนเองชนชาติซินเจียงอุยกูร์ เป็นเขตที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายเติร์กที่เป็นมุสลิม ถ้าให้เปรียบเทียบกับบ้านเราก็คงจะคล้ายคลึงกับจังหวัดอย่างนราธิวาส หรือปัตตานีนั่นเอง
ซินเจียงอุยกูร์มักตกเป็นปมขัดแย้งในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่สื่อทางฝั่งตะวันตกมักหยิบมาเล่นเป็นเกมการเมืองกับจีนอยู่เรื่อย ๆ เพราะว่า จีนมีนโยบายสนับสนุนชาวจีนฮั่นให้ย้ายถิ่นฐานเข้าไปในพื้นที่ โดยเชื่อว่าเพื่อกลืนวัฒนธรรมต่างๆตามอุดมการณ์ “จีนเดียว” ซึ่งชาวฮั่นนี้ก็มักจะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่าชาวอุยกูร์ในท้องถิ่น และมีการควบคุมพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด ซึ่งหากใครกระด้างกระเดื่องก็จะถูกจับไปเข้าค่ายปรับทัศนคติตามระเบียบ
https://th.usembassy.gov/th/who-are-the-uighurs-th/
คราวนี้เรามาดูความจริงของแต่ละฝั่งที่ต่างเผยไต๋ออกมากันบ้าง
มุมน้ำเงิน (จีน): แน่นอนล่ะว่านอกจากนโยบาย จีนเดียว ที่เสมือนเป็นกฏเหล็กนั้น การมีสถานะเป็นรัฐกันชนกับอีก 8 ประเทศเพื่อนบ้าน คือสิ่งสำคัญที่จีนไม่สามารถปล่อยให้หลุดรอดเงื้อมมือไปได้
ซึ่งฝ้ายซินเจียงจริง ๆ แล้วเป็นแค่เบี้ยเล็ก ๆ ที่ทางจีนใช้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ตอบโต้สื่อตะวันตกพร้อมชูความเป็นชาตินิยมอย่างเห็นได้ชัด เพราะจีนมีความมั่นใจว่า สุดท้ายแล้วเกมการเมืองโลกในยุคปัจจุบันที่พึ่งพาเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ ทุกแบรนด์ ทุกบริษัทข้ามชาติ ต่างต้องการสัดส่วนการตลาดในจีนกันทั้งนั้น
จีนเองไม่เคยออกมายอมรับ หรือบอกปัดในเรื่อง การเอารัดเอาเปรียบชาวอุยกูร์ท้องถิ่นผ่านหน้าสื่ออย่างจริงจังเลยสักครั้ง เรื่องนี้สามารถมองได้หลายแง่ เช่น จีนไม่ได้สนใจในเรื่อง มนุษยธรรม (Humanity) มากเท่ากับผลิตผล (Productivity) รวมไปถึงในท้ายที่สุด ก็จะมีชาวจีนชาตินิยมทั้งสมัครใจ และกึ่งสมัครใจ พร้อมออกมาต่อต้านและตีกลับกระแสของฟากตะวันตกแทนรัฐบาลอยู่ดี รัฐบาลจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องมาโชว์ความอ่อนข้อให้ประชาคมโลกเห็น
https://www.posttoday.com/world/612832
มุมแดง (อเมริกาและบรรดาชาติฝั่งตะวันตก): เดินออกจากสังเวียนพร้อมชูหลักสิทธิมนุษยธรรมพื้นฐานที่เฝ้าปลูกฝัง หยั่งรากลึกไปทั่วทุกหย่อมหญ้า เป็นโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) ที่ได้ผลดีที่สุด และหลายคนต่างพร้อมเห็นด้วยมากที่สุด
ทว่า เบื้องหลังของเรื่องนี้เต็มไปด้วยจุดประสงค์ทางการเมืองแฝงตามมาด้วย เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว ทำไมสื่อตะวันตกถึงพุ่งเป้าและตามไล่กัดการละเมิดสิทธิมนุษยธรรมในจีนอย่างไม่หยุดหย่อน ในเมื่อประเทศใกล้ ๆ กันอย่างอินเดียนั้น หลักมนุษยธรรมแทบเข้าขั้นติดลบ แต่เราไม่เห็นมีใครออกมาเรียกร้องสนใจมากเหมือนที่จีน
คำตอบนั้นง่ายนิดเดียว เพราะฉากหน้าคือการรณรงค์ในเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมในการเป็นคน ฉากหลังคือความต้องการจะดิสรัปต์ (Disrupt) เตะตัดขาคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดทางเศรษฐกิจอย่างจีนไป เราจึงเห็นการขยับหมากออกมาแบนการใช้ฝ้ายจากซินเจียงของแบรนด์ดังระดับโลกมากมาย เช่น H&M, Nike, Adidas ในขณะที่บางแบรนด์ เช่น Hugo Boss, Asics, Muji ก็เลือกที่จะสวนกระแสให้ชื่อแบรนด์ของตัวเองเป็นที่ถูกพูดถึง ซึ่งเป้าหมายก็เป็นเรื่องของกลยุทธ์ทางการตลาดเสียมากกว่าเรื่องสิทธิมนุษยชนที่พูดกัน
https://indianewsrepublic.com/h-m-nike-faces-boycott-in-china-for-showing-concerns-about-human-rights-abuses-against-uighurs/247444/
มุมเหลือง (ผู้ชมที่เฝ้ามองติดขอบสนาม): แล้วเราควรจะปักใจเชื่อฝั่งไหนดี เพราะถ้าเราลองสืบค้นดี ๆ หรือฟังจากปากคนที่เข้าไปเรียน หรือทำงานในเมืองซินเจียงจริง ๆ ต่างยืนยันว่า สิ่งที่ลงในสื่อตะวันตกอย่าง บีบีซี (BBC) นั้นเป็นความจริงเพียงแค่ส่วนเดียว คือ การกระจายรายได้ระหว่างชาวฮั่นกับแรงงานชาวอุยกูร์นั้นยังขาดความเท่าเทียมกันจริง ช่องว่างระหว่างคน 2 ชนชาตินี้แตกต่างกันจริง
แต่ทว่า มันไม่ได้โหดร้ายทารุณ ใช้งานเยี่ยงทาส ไม่ได้กินไม่ได้นอนขนาดที่โดนกล่าวอ้างไว้ตามสื่อ ส่วนในเรื่องค่ายปรับทัศนคตินั้น ก็ไม่มีใครยืนยันได้ว่าในเมืองซินเจียงนี้ มีแคมป์ฝึกจริงดังที่มีภาพลงตามสื่อตะวันตกไว้ในปัจจุบันหรือไม่ หรืออาจจะเคยมีจริงดังที่ว่า แต่ ณ ตอนนี้ ไม่มีอีกแล้วหรือแปรเปลี่ยนกลายเป็นค่ายฝึกอาชีพแทน สำหรับเรื่องนี้ก็ยังขาดข้อมูลจากคนวงในออกมาคอนเฟิร์ม ที่เราเห็นต่างก็เป็นเพียงเต้าข่าวเขียนจากสื่อฝั่งตะวันตกเสียมากกว่า
แต่สิ่งที่ยืนยันได้จากเหตุการณ์นี้อย่างนึงก็คือ ความหยิ่งทรนงและความเด็ดเดี่ยวของชาติมหาอำนาจที่ชื่อว่า จีน พวกเขาพร้อมจะรักษาอำนาจให้แก่เฉพาะชนชาติตัวเอง โดยไม่แชร์ให้ใครหน้าไหน และไม่ง้อชาติไหนเช่นกัน
https://sourcingjournal.com/topics/sourcing/china-xinjiang-cotton-forced-labor-cbp-imports-ban-wro-229986/
ในสถานการณ์ที่ความจริงอาจไม่ได้มีเพียงแค่หนึ่งเดียว และดูเหมือนว่ามันจะไม่ใช่สิ่งที่สลักสำคัญอะไรเท่ากับความเชื่อ และวาระของแต่ละชาติ (Agenda) เราจึงเห็นว่า จริง ๆ แล้ว ฝ้ายเป็นเพียงแค่ประเด็นรองตามสภาวการณ์เท่านั้น มันอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ วัตถุดิบอะไรก็ได้ ขอแค่ให้มันมาจากซินเจียง และมีข้อมูลที่มากพอจะจับมาเป็นประเด็นได้ก็พอ ซึ่งทางฝั่งจีนก็พร้อมจะเล่นเกมการเมืองนี้กับทุกสถานการณ์อยู่แล้ว
เมื่อโลกต่างแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน คำถามสำคัญที่เราควรถามตัวเองก็คือ เราจะเลือกเชื่อสิ่งไหน ระหว่าง “ความจริงตามเหตุการณ์” หรือ “ความเชื่อที่ถูกปลูกฝังมา”
https://www.matichon.co.th/entertainment/news_2643058
https://www.blockdit.com/tony.vong
https://thestandard.co/muji-promotes-xinjiang-cotton-as-chinese-netizens-lash-rivals/
1 บันทึก
2
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Meanwhile in hot topics
1
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย