Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
THE SCOOP
•
ติดตาม
31 มี.ค. 2021 เวลา 07:31 • ข่าว
หน้าฟีดข่าวในช่วงที่ผ่านมาจะมีด้วยกัน 2 ประเด็นที่คนให้ความสนใจ ข่าวแรกคือ เรือขนสินค้าเกยตื้นที่คลองสุเอซ กับเหตุการณ์นองเลือดที่เมียนมา
แต่ดูเหมือนว่า สถานการณ์ที่คลองสุเอซได้คลี่คลายเป็นที่เรียบร้อยจากความช่วยเหลือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และอิทธิพลของดวงจันทร์ Supermoon ต่อน้ำขึ้นน้ำลง
ในขณะที่สถานการณ์ของเมียนมายังคงคุกรุ่นฝุ่นตลบและไม่มีทีท่าจะหยุดในเร็ววัน วันนี้เราจึงจะมาลองเทียบเคียงความเป็นไปได้ที่เมียนมากำลังจะเดินตามรอยซีเรีย (Syria) เข้าสู่การเป็นประเทศแห่งบาดแผลจากสงคราม
ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เรามาเท้าความปฐมบทแห่งกลียุคที่เกิดขึ้นกับเมียนมากันสักเล็กน้อยดีกว่า
รุ่งสางของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นวันทำงานปกติของพรรครัฐบาล NLD นำโดยนาง อองซาน ซูจี
ในวันนี้มีกำหนดเปิดประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมียนมาชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2563 แต่การประชุมดังกล่าวต้องเป็นหมัน เนื่องจากเกิดรัฐประหารขึ้นเสียก่อน เป็นการรัฐประหารที่อ้างเหตุผลว่าพรรค NLD โกงการเลือกตั้ง จึงมีคะแนนชนะถล่มทลาย
คำกล่าวอ้างที่ดูจะไร้หลักฐานมาสนับสนุนจากฝั่งกองทัพได้นำมาสู่เหตุการณ์ความไม่สงบจนถึงปัจจุบัน
และเพื่อควบคุมความไม่สงบ การปกครองด้วยความกลัวจึงอุบัติขึ้น กองทัพเมียนมาได้จัดตั้ง “สภาบริหารแห่งรัฐ” นำโดย ผู้บัญชาการทหาร พล.อ. มิน อ่อง หล่าย เป็นประธาน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ทำการตัดสินใจในระดับสูงสุดของประเทศในระหว่างการประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปีนี้
https://www.thansettakij.com/content/world/467929
แล้วคราวนี้มันชวนให้นึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับซีเรียได้อย่างไร คำตอบก็คือ คลื่นการอพยพของผู้คนที่หนีภัยสงครามกลางเมือง (Immigration) นั่นเอง
เป็นเวลากว่า 10 ปีที่สงครามกลางเมืองที่ซีเรียยังปะทุอย่างไม่หยุดหย่อนภายใต้รัฐบาลเผด็จการ บาชาร์ อัล อัสซาด (Bashar al-Assad) ที่ปกครองแบบไม่เห็นเงาหัวประชาชนมาตั้งแต่รุ่นพ่อเกือบ 50 ปี
ผ่านแรมเดือน แรมปี เหตุการณ์ยืดเยื้อจนชวนให้ชาติมหาอำนาจเข้ามาอีรุงตุงนังกันไปหมดก็ยังไม่จบง่าย ๆ จนในที่สุดมวลมหาประชาชาวซีเรียนแห่อพยพไปทั่วทุกสารทิศของโลก เกิดแคมป์ผู้อพยพ (Refugee camp) มากมายทั้งถาวรและกึ่งถาวร
http://www.myanmar-embassy-tokyo.net/about.htm
สถานการณ์ระยะฟักไข่ที่เมียนมาในตอนนี้แทบไม่ต่างอะไรกับที่เคยเกิดกับซีเรียแม้แต่น้อย เป็นการโรมรันสู้รบกันเองของ ทหาร VS ประชาชน รัฐบาล VS กลุ่มต่อต้านเผด็จการ
เส้นทางสู่ซีเรียโมเดลอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว ขาดเพียงแค่กองกำลังอเมริกาและยูเอ็นส่งกองทัพเข้ามาช่วยกลุ่มต่อต้านในขณะที่จีนกับรัสเซียส่งกองกำลังตัวเองมาช่วยฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น
เมื่อพิจารณาจากชายแดนที่ติดกับเมียนมาตามรูป จะมีดังนี้ บังกลาเทศ อินเดีย จีน ลาว และไทย
อินเดียแรกเริ่มไม่มีนโยบายรับผู้อพยพลี้ภัยสงคราม แต่ภายหลังด้วยหลักมนุษยธรรมที่ค้ำคอ จึงต้องยอมกลืนน้ำลายให้ที่พักพิงชั่วคราวตามตะเข็บชายแดน เช่นเดียวกับพี่ใหญ่อย่างจีน ในขณะที่บังกลาเทศนั้นแค่มวลหมู่ชาวโรฮีนจา (Rohingya) ที่ทะลักมาทุกปี ก็แทบเกินกำลังที่ประเทศจะรับไหวแล้ว
https://www.posttoday.com/world/366518
สำหรับไทยนั้นถือเป็นสถานีปลายทางที่ชนกลุ่มน้อยของเมียนมาเลือกอพยพเข้ามามากที่สุดตลอดมา เพราะฉะนั้นตามตะเข็บชายแดนที่แม่ฮ่องสอน หรือตาก เราจะเห็นว่ามีศูนย์พักพิงที่ทางข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) มาสร้างไว้ให้หลายสิบแคมป์โดยที่เราก็อาจไม่เคยทราบมาก่อน
คราวนี้ปัญหามันอยู่ที่เรื่องหลังจากนี้ต่างหาก เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมในอนุสัญญาผู้ลี้ภัย ผู้ที่หลบหนีเข้าไทยจึงถูกปฏิบัติเป็นคนต่างด้าวผิดกฎหมายเอาไว้ก่อน และยังเปิดโอกาสให้ประเทศไทยส่งตัวผู้อพยพคืนต้นทางได้เช่นกัน
ซึ่งตามปกติ ไทยก็คอยแบ่งรับแบ่งสู้ช่วยเหลือผู้อพยพเท่าที่สมรรถภาพจะเอื้อ แต่สถานการณ์ในปี 2021 มีความแตกต่างตรงที่ มีความกังวลจากหลายฝ่ายในเรื่อง โควิด-19 ที่อาจจะติดมากับกลุ่มผู้ลี้ภัย รวมถึงถ้าสถานการณ์ในเมียนมายืดเยื้อไม่จบสิ้น นั่นหมายความว่านี่จะไม่ใช่คลื่นอพยพระลอกสุดท้ายที่จะเกิดขึ้น
https://www.thairath.co.th/tags/เมียนมาอพยพเข้าไทย
สำหรับเรื่องนี้ ท่าทีในปัจจุบันของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า เรื่องนี้ปฏิเสธไม่ได้หรอก และจะไม่ผลักดันกลับไปถ้าเดือดร้อนจริง แต่ที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องนั้น เรื่องนี้ ก็จะกำชับมาตรการต่าง ๆ ให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
แต่ท่าทีอ้อมแอ้มอรชรของฟากรัฐบาลไทยที่ออกแนว “แทงกั๊ก” ทั้งพยายามรักษาสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมา และ พยายามทำตามหลักมนุษยธรรมสากลแบบฉบับตะวันตก อาจจะทำได้ไม่ยืดยาวนัก เพราะนี่คือ 2 เส้นขนานที่ไม่มีวันบรรจบกันอย่างเห็นได้ชัด
สิ่งที่น่าจับตามองก็คือ แล้วเมื่อถึงคราวต้องเลือกฝั่งจริง ๆ ไทยเราจะเอนเอียงไปทางไหน? หรือจะเป็นไปได้ไหมที่ประเทศไทยจะทำในสิ่งที่เราถนัดมาตลอดนั่นคือ “การเหยียบเรือสองแคมไปเรื่อย ๆ ตลอดรอดฝั่ง”
https://www.bbc.com/thai/thailand-56564707
https://www.bbc.com/news/world-asia-india-56573888
https://www.reportingasean.net/laos-bangladesh-notes-rohingya-refugee-camp/
บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Meanwhile in hot topics
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย