9 เม.ย. 2021 เวลา 23:35 • สุขภาพ
อหิวาตกโรค หรือโรคห่า (CHOLERA) คืออะไร?
เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงและสามารถระบาดได้อย่างรวดเร็ว
แหล่งที่เกิดโรคมักเกิดในชุมชนที่อยู่กันอย่างหนาแน่น และในถิ่นที่ไม่มีน้ำสะอาดใช้อย่างพอเพียง ไม่มี ส้วมที่ถูกสุขลักษณะ มีการสุขาภิบาลไม่ดี เช่น มีการทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ร้านอาหารไม่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาล
อหิวาตกโรค (CHOLERA) คืออะไร?
สาเหตุ
 
เป็นโรคที่เกิดกับลำไส้เล็ก โดยเชื้อแบคทีเรีย พบได้กับคนทุกเพศทุกวัยแต่พบน้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
มักเกิดในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะหลังความแห้งแล้งไม่มีฝนตกเป็น เวลานาน และมักเกิดหลังจากงานเทศกาล งานฉลองซึ่งมีคนจากที่ต่าง ๆ มารวมกันมาก
#สาระจี๊ดจี๊ด
เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า วิบริโอ คอเลอรี ( Vebrio Cholerae) ซึ่งแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแท้หรือคลาสสิก (Classical Biotype) และชนิดอ่อนหรือเอลทอร์ (El Tor Biotype) ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง
#สาระจี๊ดจี๊ด
การระบาดในประเทศไทยนับตั้งแต่ พ.ศ.2516 เป็นต้นมา
เกิดจากเชื้อเอลเทอร์เป็นต้นเหตุ
แหล่งของโรค
ได้แก่มนุษย์หรือผู้ป่วยที่มีเชื้อโรคอยู่ในร่างกาย รวมทั้งผู้ที่เป็นพาหะของโรค
การติดต่อ
เป็นโรคติดต่อชนิดเฉียบพลัน สามารถติดต่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยผู้ป่วยเป็นผู้แพร่เชื้อ แต่ส่วนมากจะติดต่อทางอ้อมผ่านทางแมลงวัน อาหาร และนํ้าดื่ม เป็นต้น
#สาระจี๊ดจี๊ด
ในกรณีที่ผู้ป่วยขับถ่ายของเสียลงในแหล่งนํ้าสาธารณะ เชื้อโรคจะสามารถแพร่กระจาย ไปสู่ผู้อื่นได้
1. การติดต่อทางตรง
เชื้ออหิวาต์เข้าสู่ร่างกายโดยทางปาก เช่น การดื่มนํ้าและกินอาหารที่ ไม่สะอาดมีเชื้ออหิวาต์ปะปน การสัมผัสอุจจาระของผู้ป่วย การถูกผู้ป่วยอาเจียนใส่
2. การติดต่อทางอ้อม
เช่น การใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย หรือได้รับเชื้อจากนํ้าดื่มและ อาหารที่ไม่สะอาด เช่น มีแมลงวันมาตอมโดยเชื้อโรคติดมากับแมลงวันในขณะที่บินไปตอม อุจจาระของผู้ป่วย
อาการ
ผู้ป่วยเป็นอหิวาตกโรค อาจมีอาการเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ผู้ที่เป็นรุนแรงโรคจะเกิด ขึ้นทันทีและหนัก ทำให้เกิดอาการขาดนํ้า ขาดแร่ธาตุอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษา อย่างทันท่วงทีผู้ป่วยอาจช็อคและถึงแก่กรรมได้ง่าย
อาจแบ่งอาการของโรคได้เป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะแรก
ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเดิน ลักษณะอุจจาระในระยะแรกจะมีเศษอาหาร ต่อมา จึงถ่ายเป็นนํ้าคล้ายนํ้าซาวข้าวและมีกลิ่นเหม็นคาวจัด ถ้าเป็นอยู่นาน ๆ จะมีนํ้าดีออกมาด้วย ไม่มีมูกเลือด ผู้ป่วยจะอาเจียน และมีอาการขาดนํ้าและแร่ธาตุทำให้อ่อนเพลีย
- ระยะที่ 2
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 2-12 ชั่วโมงจะเข้าสู่ ระยะช็อค โดยจะรู้สึกกระหายนํ้าอย่างรุนแรง เป็นตะคริว เสียงแห้ง แก้มตอบ เบ้าตาลึก ผิวหนังและเยื่อบุต่าง ๆ แห้ง มือและนิ้วเหี่ยวย่น ตัวเย็น เนื่องจากการเสียเกลือแร่ไปกับอุจจาระมาก ชีพจรและความดันโลหิตจะต่ำจนวัดไม่ได้ ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตในระยะนี้
- ระยะที่ 3
หากได้รับการรักษาหรืออาการไม่รุนแรงจะเข้าสู่ระยะที่ 3 หรือระยะกลับเป็นปกติ
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจตายภายในไม่กี่ชั่วโมงเนื่องจากการไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว ถ้าไม่ทำการรักษาอัตราการตายของโรคนี้จะสูงกว่า 50% แต่ถ้ารักษาให้ถูกวิธีจะช่วยลดอัตราการตายของโรคนี้ได้มาก คือต่ำกว่า 1%
ผู้ที่เป็นอหิวาตกโรคชนิดอ่อน โดยเฉพาะเชื้อ El Tor Cholera จะมีอาการคล้ายโรคติดเชื้อของลำไส้หรือทางเดินอาหารชนิดอื่น ๆ ทำให้สังเกตได้ยาก เช่น อาจมีอาการเพียงอุจจาระ ร่วงเล็กน้อย หรืออาจไม่แสดงอาการของโรคออกมาให้เห็นเลย ดังนั้นหากจะวินิจฉัยสาเหตุให้ แน่นอนได้โดยการเพาะเชื้อจากอุจจาระ
การรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยอหิวาตกโรคควรแยกไว้ต่างหากใน Ward หรือในโรงพยาบาลสำหรับโรคติดต่อถ้า ทำได้ ควรเตรียมการไว้ล่วงหน้าเมื่อคาดว่าจะมีการระบาด ในชนบทอาจใช้สถานที่ของโรงเรียน จัดเป็นโรงพยาบาลเอกเทศชั่วคราว ทั้งนี้เพราะเมื่อมีการระบาดจะมีผู้ป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมาก
ผู้ป่วยหนักหรือช็อคต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว ถ้าต้องรับผู้ป่วยจากบ้านควรให้นํ้าเกลือ ระหว่างขนย้าย เตียงผู้ป่วยควรจัดเตียงมีช่องตรงกลางให้ผู้ป่วยนอนถ่ายได้ โดยมีถังสำหรับรอง รับที่สามารถดูลักษณะและวัดปริมาณอุจจาระได้
#สาระจี๊ดจี๊ด
สำหรับผู้ป่วยที่เสียนํ้า แร่ธาตุ Na, K, Cl และด่างไปกับอุจจาระให้พยายามทดแทนปริมานเท่าที่เสียไป
อหิวาตกโรคในเด็ก
ต้องดูแลผู้ป่วยเป็นพิเศษ เด็กมักมีอาการเปลี่ยนแปลงง่าย เพราะระบบ acid – base Meachanism ยังทำงานไม่เต็มที่ อาจต้องเปลี่ยนแปลงปริมาณนํ้าเกลือที่ให้ตามอาการและในเด็กควรให้นํ้าเกลือผสม Dextrose 5% ด้วย
ยาที่ใช้รักษาไข้หวัดตามอาการ ให้ยาและนํ้าเกลือตามอาการ ควรอยู่ในความควบคุมของแพทย์ ยาที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ เทตราซัยคลีน (tetracycline)
วัคซีน การฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค ให้ผลป้องกันโรคไม่สมบูรณ์ บางแห่งจึงไม่ฉีดเพิ่มเติม
#สาระจี๊ดจี๊ด
โรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายอหิวาตกโรค การถ่ายท้องอย่างรุนแรง อาจเกิดจากโรคท้องร่วงอย่างรุนแรง โรคบิด และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ
การปฏิบัติตน
เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็นอหิวาตกโรค นอกจากการไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ยังมีข้อควรทราบเกี่ยวกับ การปฏิบัติตนเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้
ทำลายเชื้อในสิ่งขับถ่ายที่ออกมาจากผู้ป่วยทั้งหมด โดยใช้นํ้ายาฆ่าเชื้อ เช่น ครีชอล หรือ ไอซาล หรือต้มภาชนะเครื่องใช้ที่ติดเชื้อโรคในนํ้าร้อนเดือดในกรณีที่เป็นอหิวาตกโรคต้องเคร่งครัดเป็นกรณีพิเศษ ทำความสะอาดพื้น อาหาร ห้องนอน ของผู้ป่วยให้สะอาด
การป้องกันและควบคุมโรค
นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรคแล้ว ยังมีข้อควรทราบเพิ่มเติมเฉพาะโรคดังนี้
- ควรดื่มนํ้า และรับประทานอาหารที่ สะอาด ถูกหลักอนามัย ไม่รับประทานอาหาร ที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ปรุงสุกแล้วควรมีฝาชีครอบ ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ กำจัดแมลงวัน ซึ่งเป็นพาหะของโรค
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรค เมื่อมีการระบาดของอหิวาตกโรค
#สาระจี๊ดจี๊ด
ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา