18 เม.ย. 2021 เวลา 03:59 • สุขภาพ
4 วิธีง่ายๆ ดูแลสุขภาพใจ ในช่วงโควิค-19 จากนักจิตวิทยา ✨
3
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิค-19 ระลอกใหม่ในไทยครั้งนี้ ได้แพร่กระจายในวงกว้าง ทำให้พบผู้ติดเชื้อในแต่ละวันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และการตรวจเชื้อครั้งแรกอาจยังไม่ใช่คำตอบว่า เราติดรึยังนะ! รวมถึงปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจ ทำให้วิถีชีวิตอาจต้องเปลี่ยนแปลงกะทันหัน ซึ่งส่งผลกระทบให้ใครหลายคนอาจเกิดความเครียดและวิตกกังวลได้
ผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตชี้ว่า เป็นเรื่องปกติที่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ คนจะอยู่ในภาวะเครียดหรือวิตกกังวล เพราะทุกคนกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนในระดับสูง ความเครียดเป็นพฤติกรรมอัตโนมัติ ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความไม่แน่นอนเหล่านี้
แต่หากมีความเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป ก็อาจทำให้สุขภาพใจ หรือ สุขภาพจิตแย่ได้ ดังนั้นนอกจากเราจะดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ รักษาระยะห่าง ป้องกันเชื้อโรคแล้ว การดูแลสุขภาพใจจึงสำคัญ ถ้าใจแข็งแรง กายก็จะแข็งแรง และไม่ป่วยค่ะ
มาดูแลสุขภาพใจกันนะคะ กับ 4 วิธีง่ายๆ จากนักจิตวิทยา ดังนี้
2
1. ตั้งเป้าหมายสั้น ๆ ในแต่ละวัน
1
นักจิตวิทยา ดร.จูเลีย ฮิตช์ และ ดร.แอนดรูว์ เฟลมิง ได้แนะนำให้ตั้งเป้าหมายสั้น ๆ แค่สำหรับวันนั้น ๆ และค้นหาความสุข ทำในสิ่งที่ชอบ แม้เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น กินขนมที่ชอบ ดูหนัง ฟังเพลง ในแต่ละวันค่ะ รวมถึง คุยกับเพื่อน คนในครอบครัว จะโทร วิดีโอคอล หรือ แชทคุยกันก็ได้ ซึ่งจะทำให้เรายังรู้สึกเชื่อมต่อกับสังคม ไม่รู้สึกว่าเราอยู่คนเดียวค่ะ
2. การหายใจลึก ๆ ช้า ๆ
1
นักจิตวิทยา ดร.ริก แฮนสัน ได้แนะนำ เมื่อใดที่เรารู้สึกถึงความวิตกกังวล ให้เราหายใจลึก ๆ ช้า ๆ โฟกัสกับตัวเองระหว่างหายใจช้า ๆ ว่า...
"ในชั่วขณะนี้ หัวใจของเรากำลังเต้นอยู่ เรายังมีชีวิตอยู่ ไม่มีอะไรมาทำร้ายเราได้"
และย้ำเตือนกับตัวเองว่า อะไรบ้างที่เป็นจริง และอะไรบ้างที่เราแค่คิดไปเองค่ะ
2
3. ลดระยะกาย เพิ่มระยะใจ
1
นพ. บุรินทร์ สุรอรุณสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องกักตัว 14 วัน ให้เปลี่ยนคำว่าตั้ง 14 วัน “เป็นแค่ 14 วัน” เพื่อคนรอบข้างและคนที่คุณรัก หรือเพื่อสู้ให้เชื้อโรคหายไป โดยลดระยะทางกายภาพ เพิ่มระยะทางใจ เช่น ติดต่อสื่อสารกันทางโซเชียลมีเดีย แม้จะไม่ได้พบเจอกัน แต่เราสามารถเพิ่มระยะใจให้ใกล้ชิดกันได้
และ นพ.ยงยุทธวงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ยังให้คำแนะนำว่า ใน 14 วัน ให้ทำสิ่งดี ๆ ใช้เวลาให้มีความหมาย ดูแลตัวเองและช่วยสังคม อย่าให้ความกลัว เหงา ครอบงำจิตใจทำให้สูญเสียพลัง ควรออกกำลังกายและใจ เพื่อให้มีสุขภาพดี
2
“การออกกำลังกาย” เช่น ยืดเหยียด เดิน ในพื้นที่ที่สามารถเคลื่อนไหว มีระยะห่างจากผู้อื่น
"การออกกำลังใจ" ฝึกหายใจคลายเครียด ฝึกจิตให้สงบ
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเผชิญปัญหาและมีผลดีต่อภูมิคุ้มกันโรคค่ะ
1
4. เสพข่าวเท่าที่จำเป็น
3
ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช แนะว่า สิ่งหนึ่งที่ช่วยป้องกันการตื่นตระหนกได้ก็คือการเสพข่าว ควรเสพข่าวให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะค่ะ เพื่อลดความวิตกกังวลที่ทำให้บั่นทอนจิตใจ ด้วยการเปลี่ยนความคิด มีสติ อยู่ในหลักเหตุผล เพราะบางครั้งข้อมูลที่เราได้จากโซเชียลมีเดีย มันยังไม่ได้ถูกคัดกรองมา อาจเน้นทางด้านอารมณ์ มากกว่าความเป็นจริง จึงควรติดตามข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ รวมถึง นพ.ยงยุทธ ยังแนะว่า อย่าติดตามข่าวสารเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน และรับส่งข่าวสารจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือค่ะ
นอกจากนี้ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ได้แนะเกี่ยวกับการรับสื่ออย่างมีสติ โดยไม่หมกหมุ่นเกินไป รับหรือเสพข่าวเพียงวันละ 1-2 ครั้ง และทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขค่ะ
หรือหากยังมีความกังวลใจ ไม่รู้จะคุยกับใครจริง ๆ ไม่รู้จะปรึกษาใคร เราสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้นะคะ เช่น โทรปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ค่ะ
1
เพราะสิ่งที่สำคัญนอกจากการดูแลสุขภาพกายแล้ว การดูแลสุขภาพใจก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผ่านวิกฤตนี้ไปได้ค่ะ
1
ฮักใจเป็นกำลังใจให้นะคะ ขอให้เราทุกคนผ่านพ้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นี้ไปได้ด้วยดีค่ะ และอย่าลืมดูแลสุขภาพใจกันด้วยนะคะ❤️
ขอบคุณที่กดติดตาม กดไลค์ กดแชร์ หรือ คอมเมนต์ เป็นกำลังใจให้นะคะ
.
.
.
ขอบคุณมากค่ะ
ฮักใจ
❤️💪✨

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา