19 เม.ย. 2021 เวลา 02:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
“กระจก” หรือ “ภาพถ่าย” แบบไหนกันแน่ที่เป็นตัวตนจริง ๆ ของเรา? มาหาคำตอบกัน!!!
อืมมม... แบบไหนกันแน่นะ?
เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัย ว่าทำไมเวลาเราส่องกระจกแล้วมันถึงดูดีซะเหลือ แตกต่างกับตอนที่เราอยู่ในภาพถ่ายกันคนละเรื่อง
ว่าแต่ว่ามันเป็นเพราะอะไรกันแน่นะ?
ตัวคุณที่ปรากฏอยู่ในกระจก หรือตัวคุณที่ปรากฏอยู่ในภาพถ่าย ตัวตนที่แท้จริงของเราคือแบบไหน?
1
เราไปหาคำตอบพร้อม ๆ กันกับบทความ “What Lets Us See Our Real Selves: Photos or the Mirror?” ของทาง ‘Bright Side’ กันเลยครับ
1. ด้านจิตใจ
Psychological aspect
คิดว่าทุกคนน่าจะรู้ดีอยู่แล้วว่า เวลามองกระจกทุกอย่างจะสลับข้างกับความเป็นจริง สิ่งที่เราเห็นเมื่อมองตัวเองในกระจกจะกลับด้านซ้าย-ขวากัน และเนื่องจากเรามองตัวเองในกระจกทุกวัน ความชินตาจะทำให้เรารู้สึกดีกับภาพที่เราเห็นในกระจกในทุกที่ แต่กับภาพถ่ายที่เราไม่ค่อยได้เห็นบ่อย เช่น ภาพถ่ายปกติของคุณที่มีคนถ่ายให้ (ที่ไม่ใช่การใฃ้กล้องหน้าโทรศัพท์ถ่าย selfie นะ เพราะการถ่ายแบบนี้จะได้ภาพเหมือนกันกับในกระจก) คุณจะรู้สึกว่าตัวคุณในรูปนั้นดูไม่ดีเท่ากับตัวจริง นั่นก็เพราะคุณไม่ชินกับภาพที่เห็นนั่นเอง
2. มุมมอง
Angle
ข้อเท็จจริงง่าย ๆ ก็คือใบหน้าของเราทุกคนนั้นไม่สมมาตรกัน ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน และนี่คือสาเหตุของความสับสนทั้งหมด กล่าวคือในทุกเช้าขณะที่เราส่องกระจก เรามักจะยืนอยู่ตรงจุดเดิม มองเห็นตัวเองจากมุมมองที่คุ้นเคย ซ้ำ ๆ ในแบบเดิม ด้วยเหตุนี้เราจึงคุ้นเคยกับการสังเกตใบหน้าของเราจากมุมใดมุมหนึ่งเท่านั้น
แต่เวลาที่คุณอยู่ในภาพถ่ายที่คนอื่นถ่ายให้โดยไม่ได้รู้ตัวล่วงหน้ามาก่อน คุณจะเห็นใบหน้าของคุณในมุมมองที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งเป็นมุมมองจากทิศทางที่ภาพนั้นถูกถ่ายออกมา ซึ่งแน่นอนว่าคุณนั้นไม่คุ้นชิน ไม่แปลกที่บางครั้งพอเห็นจะอุทานออกมาว่า “ไอ้นี่ใครว้า?!”
3. สมดุลแสงสีขาว
White balance
แสงทุกประเภทมีอุณหภูมิของตัวเอง แต่เมื่อมองในกระจกเราจะไม่ได้บันทึกความหลากหลายนี้ นั่นก็เพราะสมองของเราซึ่งเป็น "ซูเปอร์คอมพิวเตอร์" จะช่วยขจัดความแตกต่างทั้งหมดออกไปโดยอัตโนมัติ และจะ "แสดง" ให้เราเห็นถึงผิวที่เราคุ้นเคย ในทางกลับกันภาพถ่ายจะจับแสงได้ตามความเป็นจริงด้วยการชดเชย และความแตกต่างของอุณหภูมิทั้งหมด ทำไมบางภาพถึงออกโทนเหลือง โทนฟ้า ฯลฯ นั่นทำให้เราเห็นใบหน้าเราในภาพแตกต่างจากที่เราส่องกระจก ถึงแม้จะมีแสงจากแหล่งที่มาหลายแห่ง เงาที่เคลื่อนไหวไปมาบนหน้า เราก็ยังคงเห็นตัวเองปกติเหมือนเดิมนั่นเอง
4. การมุ่งเน้นไปที่จุดใดจุดหนึ่ง
Focusing on individual objects
อย่าลืมว่าเมื่อเราส่องกระจกเรามักจะโฟกัสไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของการสะท้อนเท่านั้น ทำให้ไม่เห็นภาพรวมของตัวเองทั้งหมด แต่เมื่อเราดูรูปถ่ายเราจะรับรู้ทุกอย่างแบบองค์รวม และสังเกตเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ดูไม่สำคัญ (เช่นท่าทางที่ไม่ดี การวางมือที่งุ่มง่ามเป็นต้น)
5. เงาสะท้อน
Mirroring
สำหรับภาพสะท้อนในกระจก เราจะเห็น ‘เงาสะท้อนในกระจก’ ในรูปแบบของตัวเราเองเสมอ การส่องกระจกซ้ำ ๆ ในทุกวันนั้นได้สร้างการรับรู้โดยอัตโนมัติว่า “เราเป็นแบบนี้” ซึ่งมักเป็นมุมที่เราพึงพอใจมากที่สุด ส่วนภาพถ่ายที่เวลาคนอื่นถ่ายให้ มันไม่ใช่การรับรู้ตามมุมมองปกติของเรา และนั่นเป็นสาเหตุทำให้เรามองเห็นตัวเราแตกต่างจากในกระจกนั่นเอง
จากข้อมูลทั้งหมดทำให้เราสามารถสรุปได้ว่า ทำไมเราถึงมองตัวเองในกระจกแตกต่างจากภาพถ่าย และจริง ๆ แล้ว ภาพถ่ายนี่แหละที่จะแสดง “ตัวตนจริง ๆ ของคุณ” ว่ารูปร่างหน้าตาเป็นแบบไหน หวังว่าคงจะหายสงสัยกันแล้วนะครับ
ทั้งนี้ยืนยันว่าบทความของผมไม่ใช่คำตอบ หรือบทสรุปที่ดีที่สุด ทุกท่านควรใช้วิจารณญาณส่วนตัวในการรับข้อมูลด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกการตอบรับ ไม่ว่าจะเป็นการติดตาม ไลค์ คอมเมนท์ หรือว่าแชร์ ทุกกำลังใจสำคัญสำหรับผมเสมอ
1
ขอบคุณครับ
แล้วพบกันใหม่ในโพสต์หน้า
สวัสดีครับ
ขอบคุณที่มา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา